วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปความเคลื่อนไหว นโยบายการศึกษา ในรอบเดือน ตุลาคม 2552

สรุปความเคลื่อนไหว นโยบายการศึกษา ในรอบเดือน ตุลาคม 2552

1. กรอบมาตรฐานการพัฒนาเด็กปฐมวัย

มาตรฐาน ๕ ด้าน ๓๒ ตัวบ่งชี้ คือ

1. ด้านการบริหารจัดการ/การจัดโครงสร้างองค์การ

2. บุคลากร

3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

4. คุณภาพเด็กปฐมวัย

5. การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม

สื่อการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย ก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่จะมีการสนับสนุนและมุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนา เช่น โครงการ Bookstart ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ และเป็นการช่วยสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการในเรื่องของการรักการอ่าน

2. ครม.เห็นชอบการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา

วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ได้เห็นชอบร่างกฎกระทรวงเพื่อกำหนดให้รวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา จัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา ๑๙ แห่งทั่วประเทศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

3. นักเรียนสังกัด สพฐ. ที่ชนะการแข่งขันคณิตศาสตร์นานาชาติระดับประถมศึกษา (Wizard Mathematics International Competition 2009) ณ ประเทศอินเดีย และ นักเรียนที่ชนะการแข่งขันหุ่นยนต์ (Inter City Robotic Olympiad 2009) จากฮ่องกง

สำหรับนักเรียนที่ไปแข่งการแข่งคณิตศาสตร์นานาชาติระดับประถมศึกษาที่อินเดีย ปรากฏว่าได้รับรางวัลถึง ๓๒ เหรียญ แบ่งเป็นเหรียญทอง ๒ เหรียญ เหรียญเงิน ๑o เหรียญ เหรียญทองแดง ๔ เหรียญ ในประเภทบุคคล ส่วนประเภททีมได้เหรียญเงินอีก ๔ ทีม รวม ๑๖ เหรียญ

4. ศธ.สนับสนุนการเรียนการสอนภาษาจีนในสถาบันการศึกษา

รมว.ศธ. กล่าวถึงนโยบายการเรียนการสอนภาษาจีนว่า ศธ.สนับสนุนการเรียนภาษาที่ ๓ อยู่แล้ว การเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกจากจะบังคับให้เรียนภาษาไทยกับภาษาอังกฤษแล้ว ศธ.ยังส่งเสริมและสนับสนุนให้เรียนภาษาที่ ๓ ด้วย นั่นก็คือ ภาษาจีน โดยมีนโยบายอย่างชัดเจนและเคยกำหนดเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี ๒๕๕๓ จะทำให้คนไทยได้เรียนรู้ภาษาจีนอย่างน้อย ๕๐๐,๐๐๐ คนทั่วประเทศ แต่เมื่อได้พิจารณาแล้วพบว่าจะต้องใช้เวลาอีกพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม นั่นคือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะทำ

- ครูอาสาจากจีน

- โครงการฝึกอบรมครู

- การเรียนการสอนภาษาจีน

- สื่อการเรียนการสอนภาษาจีน

รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า จีนเป็นประเทศอันดับหนึ่งที่สนใจเรียนภาษาไทย ซึ่งก็เป็นนโยบายของ ศธ.ที่ต้องการสนับสนุนให้ชาวต่างชาติมาเรียนภาษาไทย เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) ขณะนี้มีนักศึกษาต่างชาติมาเรียนในไทย จำนวน ๓๐,๐๐๐ คน โดย ศธ.ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ในปี ๒๕๕๗ จะทำให้นักศึกษาต่างชาติมาเรียนในไทยจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ คน มีตลาดใหญ่ที่สุดก็คือ จีน

5. แนวทางยกระดับโรงเรียนมาตรฐานสากล

มุ่งเน้นอย่างน้อย ๓ ด้าน คือ

1. ด้านวิชาการเน้นความเป็นเลิศ

2. ด้านการบริหารจัดการรวมทั้งผู้บริหารและครูผู้สอน

3. ด้านปัจจัยพื้นฐาน

เป้าหมายก็คือ ต้องการทำให้ผู้เรียนในโรงเรียนดีระดับสากล เก่ง ดี มีความสุข ภาคภูมิใจในความเป็นไทย และก้าวไปสู่สากลในอนาคต อย่างน้อยที่สุดในกรอบของประชาคมอาเซียน โรงเรียนทั้ง ๕๐๐ โรงเรียน

การดำเนินการ

· จัดทำกรอบมาตรฐานคุณภาพในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่นเดียวกับกรอบมาตรฐานคุณภาพอุดมศึกษา หรือ TQF ซึ่งจะเป็น TQF ของ สพฐ. เพื่อจะเป็นตัวกำหนดการผลิตนักเรียนว่า ต้องการให้นักเรียนมีคุณลักษณะอย่างไร

· ปรับเนื้อหาหลักสูตรที่มีความซ้ำซ้อนกัน เพื่อลดภาระของนักเรียน และทำให้นักเรียนมีเวลาเรียนนอกห้องเรียนอย่างสร้างสรรค์มากขึ้น

· กำหนดมาตรฐานโรงเรียนดีระดับสากล ว่าต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

· จัดทำเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนาหรือโรงเรียนคู่พัฒนา ว่าจะต้องมีกี่กลุ่ม

· กลไกการคัดเลือกผู้บริหาร ที่จะเข้ามาบริหารโรงเรียนดีระดับสากล ๕๐๐ โรงเรียน ว่าจะคัดเลือก คัดสรรอย่างไร รวมทั้งระบบติดตามประเมินผลแบบเข้ม

6. งาน World DIDAC Asia 2009 และงานการประชุมผู้นำการศึกษาเอเชีย ครั้งที่ ๓

ปี ๒๕๕๒ ถือเป็นปีแรกของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของไทย ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เน้นนโยบาย "๓ ดี ๔ ใหม่" โดยจะสร้างให้เด็กเก่งและดีอย่างน้อยใน ๓ สามเสาหลัก คือ

1. Democracy

2. Decency

3. Drug-Free

ส่วน ๔ ใหม่คือ

1. เน้นการสร้างคนไทยยุคใหม่

2. ครูยุคใหม่

3. สถานศึกษายุคใหม่

4. การบริหารจัดการจัดการแบบใหม่

ตัวอย่างของโครงการที่ ศธ.กำลังดำเนินการในขณะนี้ คือ

· ระบบ e-Learning โดยเน้นการถ่ายทอดการเรียนการสอนในรายวิชาสำคัญๆ ผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวลไปยังโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ๙,๐๐๐ โรง โดยระยะแรกจะเริ่มที่ ๔,๐๐๐ โรงในเดือนพฤศจิกายนนี้หรือเป็นช่วงเปิดภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ ส่วนระยะที่สองอีก ๕,๐๐๐ โรง จะเริ่มในต้นปีการศึกษา ๒๕๕๓

· Tutor Channel เป็นโครงการที่ให้ติวเตอร์ระดับนำของประเทศมาช่วยสอนผ่าน Free TV เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาในบางวิชาให้นักเรียนได้รับชมอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ขณะเดียวกันครูก็จะได้รับชมเพื่อนำวิธีการสอนของติวเตอร์ที่เก่งๆ ไปปรับปรุงพัฒนาการสอน ส่วนผู้ปกครองจะได้รับชมรายการที่มีประโยชน์และร่วมรับชมไปพร้อมกันกับบุตรหลานในครอบครัวได้ด้วย

· โรงเรียนดี ๓ ระดับ เพื่อต้องการยกระดับคุณภาพของโรงเรียนทั่วประเทศให้เป็นโรงเรียนดีระดับสากล ๕๐๐ โรง และเป็นโรงเรียนดีระดับอำเภอ,๕๐๐ โรง รวมทั้งเป็นโรงเรียนดีระดับตำบลอีก ๗,๐๐๐ โรงทั่วประเทศ โดยหัวใจสำคัญในการยกระดับคุณภาพของโรงเรียน นอกจากจะปรับปรุงด้านวิชาการแล้ว จะนำสื่อ เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปช่วยจัดการศึกษา พร้อมทั้งปรับสัดส่วนจำนวนคอมพิวเตอร์ต่อจำนวนนักเรียนจาก ๑:๔๐ เป็น ๑:๑๐

· ห้องสมุด ๓ ดี จะเน้นการสร้าง/ปรับปรุงห้องสมุดในสถานศึกษาทุกแห่งทุกสังกัดทั่วประเทศ ให้มีหนังสือดี-บรรยากาศดี-บรรณารักษ์ดี เน้นการใช้สื่อที่เป็น e-Book เข้าไปช่วยเสริมในโรงเรียน ๓ หมื่นกว่าแห่งทั่วประเทศภายในปี ๒๕๕๓

· การใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือการบริหารจัดการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) จะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน ๓ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒-๒๕๕๕ เพื่อเดินสายใยแก้วนำแสงความเร็ว ๕๐ กิกะบิต ไปสู่มหาวิทยาลัยทุกแห่ง, เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ๑๘๕ เขต, วิทยาลัยอาชีวศึกษา ๔๑๕ แห่ง, ศูนย์เรียนรู้ชุมชน กศน.ทั่วประเทศ, โรงเรียนอย่างน้อย ๓,๐๐๐ โรงทั่วประเทศ

· อาชีวะทันสมัย จะใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

· โทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) จะเริ่มต้นดำเนินการในปี ๒๕๕๓ เพื่อให้สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาออกอากาศในระบบฟรีทีวี หรือเป็น E Free TV โดยคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี ๒๕๕๕

7. แผนยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา

· เป้าหมายร่วมที่ทุกแผนจะต้องดำเนินการเพื่อทำให้คนไทยเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งเน้น ๓ เรื่องหลัก คือ คุณภาพ โอกาส และการมีส่วนร่วม โดยคุณภาพจะเน้นนโยบาย ๓D และ ๔ ใหม่ ได้แก่ ๑.คนไทยยุคใหม่ ที่เก่ง ดี มีความสุข ภาคภูมิใจในความเป็นไทย และมีความรู้เรื่องอาเซียน ๒.ครูพันธุ์ใหม่ ๓.แหล่งเรียนรู้และสถานศึกษาใหม่ และ ๔.การบริหารจัดการรูปแบบใหม่

· เป้าหมายย่อยแต่ละกลุ่มจังหวัด ซึ่งมุ่งเน้นในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกันแต่ละพื้นที่ ดังนี้

- กลุ่มจังหวัดที่ ๑ (จ.เชียงใหม่) เน้นการจัดการศึกษาพื้นที่สูง
-
กลุ่มจังหวัดที่ ๒ (จ.พิษณุโลก) เป็นศูนย์กลางการค้าอินโดจีน
-
กลุ่มจังหวัดที่ ๓ (จ.ลพบุรี) เน้นการเกษตรปลอดภัยและการเกษตรแปรรูป
-
กลุ่มจังหวัดที่ ๔ (จ.ปทุมธานี) เน้นการเกษตรปลอดภัยและการเกษตรแปรรูป
-
กลุ่มจังหวัดที่ ๕ (จ.ชลบุรี) เน้นอุตสาหกรรมและการผลิตกำลังคน
-
กลุ่มจังหวัดที่ ๖ (ภาคตะวันตก) เน้นเด็กไร้สัญชาติและเด็กชายขอบ
-
กลุ่มจังหวัดที่ ๗ (จ.อุดรธานี) เน้นประเทศเพื่อนบ้าน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา
- กลุ่มจังหวัดที่ ๘ (อีสานตอนกลาง) เน้นการเกษตรกรรม และพลังงานทดแทน
-
กลุ่มจังหวัดที่ ๙ (จ.อุบลราชธานี) เน้นประเทศเพื่อนบ้าน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา
- กลุ่มจังหวัดที่ ๑๐ (จังหวัดฝั่งอันดามัน) เน้นการท่องเที่ยวและการบริการ
-
กลุ่มจังหวัดที่ ๑๑ (จังหวัดอ่าวไทย) เน้นการท่องเที่ยวและการบริการ
- กลุ่มจังหวัดที่ ๑๒ (จังหวัดชายแดนภาคใต้) มีแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้

ไม่มีความคิดเห็น: