วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การผลิตครู-วิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

นายอภิชาต การิกาญจน์ ประธานคณะกรรมาธิการศึกษา สภาผู้แทนราษฏร เป็นประธานในการเปิดสัมมนาทิศทางใหม่ การผลิตครู-วิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดำเนินการจัดโดยคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎรและคณะอนุกรรมาธิการการศึกษาติดตามนโยบายและแผนงานการจัดการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และมีนายสัมพันธ์ ทองสมัคร ที่ปรึกษากรรมาธิการการศึกษา ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการ ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อดังกล่าว ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร

โดยประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร กล่าวในโอกาสนี้ว่า กระทรวงศึกษาธิการมีแนวนโยบายละทิศทางการผลิตครู ซึ่งเป็นแนวทางการปฎิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา อยู่บนหลักการ 3 แนวทางโดยสรุป คือ
1.การจูงใจให้คนดี คนเก่งเข้ามาสู่วิชาชีพครูด้วยวิธีการต่างๆ
2.การพัฒนาสภาบันการผลิตครูให้มีประสิทธิภาพและ
3.การพัฒนาครูของครูให้มีความทันสมัย

ทั้งนี้การผลิตครูเพื่อแก้ปัญหาการคาดแคลนครูที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นการดำเนินการผ่านโครงการต่างๆพบว่ายังขาดนโยบายและแผนการผลิตครูที่ชัดเจนขาดการประสานงานในการกำหนดเป้าหมายทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การควบคุมการดำเนินการการผลิตครูขาดการประสานงานในการกำหนดเป้าหมายทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การควบคุมการดำเนินการการผลิตครูขาดการประสานงานในการกำหนดเป้าหมายทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การควบคุมการดำเนินการการผลิตครูให้เป็นไปตามมาตรฐานและคุณภาพทำได้ไม่ตามเกณฑ์ขาดการสร้างแรงจูงใจให้คนเก่งคนดีเข้ามาเรียนครู การส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาสถาบันผลิตครูมีน้อยและไม่เพียงพอ กระบวนการผลิตครูในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยที่จะทำให้ครูที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในด้านคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะของความเป็นครูซึ่งควรมีการส่งเสริมสนับสนุนสถาบันการผลิตครูให้มีความเข้มแข็งมีองค์กรที่กำหนดวางแผนการผลิตครูของครูและการพัฒนาครูประจำการที่เป็นระบบและมีการประสานกับสถาบันที่รับผิดชอบมีกองทุนสำหรับการผลิตครูและควร กำหนดเป้าของคณะครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์ที่ชัดเจนรวมทั้งควรมีการปรับรื้อระบบการเลื่อนวิทยฐานะของครูให้มีคุณภาพ และยังได้กล่าวต่อไปอีกว่าการขอให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะจะทำให้ครูไม่สนใจในการสอนและเกิดการทอดทิ้งนักเรียนทำให้ผลสัมฟทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนตกต่ำ มีการลอกผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะมีการว่าจ้างให้ทำผลงานทางวิชาการ การประเมินมาตรฐานและคุณภาพยังขาดความชัดเจนทั้งผู้ประเมิน เกณฑ์วิธ๊การไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงมีข้อเสนอว่าควรวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนก่อนเลื่อนวิทยฐานะ เร่งรัดการดำเนินการกับผู้กระทำผิดให้รวดเร็วและมีการลงโทษอย่างหนักมีการประเมินผลเชิงประจักษ์ไม่มุ่งเน้นผลงานทางวิชาการมากนัก กำหนดค่าระดับคะแนนขององค์ประกอบทั้งสามด้าน มีมาตรการหรือแนวทางการประเมิอนเพื่อดำรงไว้ซึ่งตำแหน่งวิทยฐานะเพื่อให้ครูและผู้เรียนมีคุณภาพ ให้มีวิทยฐานะและเงินวิทยพัฒน์ มีการประเมินให้มีคุณภาพ และควรมีการให้น้ำหนักค่าระดับคะแนนด้านผลสัมฟทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนมากที่สุด

ดังนั้นกรรมาธิการการศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งของฝ่ายนิติบัญญัติที่ได้รับมอบหมายจากสภาผู้แทนราษฎรโดยมีอำนาจหน้าที่ ใน 4 เรื่อง

1.คือติดตามดูแลเรื่องการศึกษาของชาติ
2. จัดการติดตามดูแลการพัฒนยาศึกษาของชาติทั้ง 2 เรื่องเป็นจุดมุ่งหมายเดิมที่มีคณะกรรมาธิการภาคใต้รัฐธรรมนูญ ปี 50 เราเพิ่มหน้าที่คณะกรรมการธิการมีสภาการศึกษา สภาผู้แทนราษฎรอยู่ 2 ด้าน
3.คือการสร้างเสริมอนุธรรมประชาธิปไตย
4.คือการปรับฐานการเรียนรู้ของพี่น้องประชาชนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ในทุกเรื่องที่จำเป็นต้องทำไปพร้อมๆกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องครู หลักสูตร สื่อการสอน กระบวนการบริหาร

แต่สิ่งที่เป็นความสำคัญเรื่องแรกและเป็นสิ่งสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษา เรื่องครูเป็นเรื่องแรก ความแตกต่างของโรงเรียนระดับใหญ่ในเมืองใหญ่ โรงเรียนต่างจังหวัด โรงเรียนในชนบท เราไม่สามารถทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพเท่าเทียมกันได้ แต่ถ้าเรามีครูที่มีความพร้อมเชื่อว่าครูสามารถพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ในแต่ละโรงเรียนของพื้นที่ให้มีความสามารถอย่างเต็มศักยภาพในการเรียนรู้ตามความจำเป็นที่อยากจะยกระดับวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพขั้นสูงเหมือนกับวิชาชีพนักกฏหมาย ความพยายามนี้เราคิดแต่ยังก้าวไปยังไม่ถึง การประชุมวันนี้จะระดมความคิดทั้งหมด ที่ได้จากการศึกษาเป็นข้อสรุปในการพัฒนาวิชาชีพครู และการจัดการเรื่องวิทยฐานะ เราพูดถึงสถาบันครูที่ไม่ได้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญเป็นปัญหาเราใช้เงินก้อนใหญ่ประมาณ 30, 000 ล้านเน้นค่าตอบแทนในเรื่องวิทยฐานะตำแหน่งวิชาการ เป็นสิ่งดีแต่น่าคิดว่าการใช้เงินก้อนใหญ่ในการเลื่อนวิทยฐานะของครูและบุคลากรทางการศึกษาและนำมาพัฒนาครูอย่างไหนที่จะต้องทำหรือทำไปพร้อมๆกัน คณะกรรมการบริหารสภาผู้แทนราษฎรไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ เพราะเป็นองค์กรฝ่ายสภา ฝ่ายนิติบัญญัติ เรียนว่าทุกเรื่องที่เป็นข้อสรุปที่เสนอต่อท่านรัฐมนตรี เราได้รับการตอบสนองในการดำเนินการ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ต่อการรับฟังข้อเสนอแนะที่ได้รับสาระกับการสัมมนา ขอให้ใช้เวลาที่ดีที่สุด ณ ที่นี้ให้ได้มากที่สุด

ด้านนายสัมพันธ์ ทองสมัคร ประธานอนุกรรมาธิการการศึกษาติดตามนโยบายและแผนงานการจัดการศึกษา กล่าวว่า คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร มอบหมายให้มาดูแลในเรื่องการผลิตครู และวิทยฐานะครู เพราะในเรื่องนี้มีปัญหามาก จากการที่รัฐบาลได้มีการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ซึ่งจะมีการตั้งสถาบันคุรุศึกษาขึ้น เพื่อดูแลการผลิตครู และการเลื่อนวิทยฐานะครู แต่ผู้เกี่ยวทุกคนมีความเห็นว่าขณะนี้มีสถาบันผลิตครูมากอยู่แล้วทั้งของรัฐบาลและเอกชน จึงอยากให้สถาบันทั้งหมดมารวมกันและคิดวางแผนร่วมกันว่าจะผลิตครูอย่างไร ในด้านใด ให้ครูมีคุณภาพ และที่สำคัญคือน่าจะมีกองทุนให้กับนักเรียนที่เรียนครู ได้ยืมเรียนและได้บรรจุเพื่อจะได้กลับมาสอน ครูที่จบมาตามความต้องการจะต้องมีค่าตอบแทนที่สูง เพื่อให้มีกำลังใจในการประกอบอาชีพครู

นายสัมพันธ์ กล่าวต่อว่าในเรื่องการเลื่อนวิทยฐานะ ขณะนี้มีปัญหามากเมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาโครงสร้างเก่าและมาถึงโครงสร้างใหม่ เรื่องวิทยฐานะครูต้องทำผลงานวิชาการ ครูที่มีความรู้ความสามารถถ่ายทอดให้กับเด็ก แต่เมื่อทำผลงานวิชาการได้รับค่าตอบแทนครูก็อยากทำผลงานมากขึ้นการทำผลงานของครูในช่วงหลังไม่ตรงกับวิชาที่ตนเองสอน เช่นครูที่สอนวิชานาฏศิลป์แต่ผ่านวิชานี้กลับไม่มีความรู้ ครูบางคนถามว่าทำผลงานอะไรถึงได้ผ่านแต่ตอบคำถามไม่ได้ว่าทำเรื่องอะไร เพื่อนครูหลายๆคนบอกว่า นักวิชาการรวมกลุ่มตั้งบริษัทผลิตผลงานวิชาการให้ครู 2-3 แห่ง ทำให้การศึกษาของชาติน่าเป็นห่วง จึงมีการสัมมนาและคุยถึงแนวทางว่า ผลงานของครูน่าจะทำวิจัยเหมือนปริญญาโท และปริญญาเอก โดยให้ครูที่ได้รับการยอมรับในจังหวัดนั้นหรือต่างจังหวัดช่วยอ่านผลงานนักวิชาการ เช่นคนที่มีความรู้เรื่องเกษตรอาจเป็นคนหนึ่งที่ดูผลงานครู ถ้าครูทำผลงานด้านเกษตร ผลการวิจัยในห้องเรียนก็ต้องเอาตัวเด็กวัดด้วยว่าคนที่สอนให้เด็กอ่านออก เขียนได้ สอบผ่าน ตรงนี้อยู่ในช่วงระดมความคิดแต่ยังไม่มีข้อสรุป จึงจำเป็นต้องศึกษาหลักสูตร ที่มีในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร ส่วนกลางเป็นอย่างไร รวมไปถึงการกระจายอำนาจที่ให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคล เรื่องการศึกษาเกี่ยวโยงกันทั้งหมด และวันนี้จะได้ข้อสรุปในทิศทางที่สอดคล้องกันสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น: