วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.ค.ศ. และความคืบหน้าไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕

รายชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)

๑. นายวีระ กาญจนะรังสิตา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา
๒. นายนิราศ
สร่างนิทร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล
๓. รองศาสตราจารย์ธงทอง
จันทรางศุ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
๔. รองศาสตราจารย์สุขุม
เฉลยทรัพย์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการจัดการภาครัฐ

๕. นายอัชพร
จารุจินดา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารองค์กร
๖. นางมลิวัลย์
ธรรมแสง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาพิเศษ
๗. ศาสตราจารย์ตีรณ
พงศ์มฆพัฒน์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารธุรกิจหรือด้านเศรษฐศาสตร์
๘. นายพลสัณห์
โพธิ์ศรีทอง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตและพัฒนาครู
๙. นายอำรุง
จันทวานิช เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือด้านการบริหารจัดการความรู้หรือด้านการวิจัยและประเมินผล

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป


รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕

ครม.รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๒ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ เกี่ยวกับการดำเนินโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ในส่วนของโครงการสาขาการศึกษา ซึ่งได้รับอนุมัติภายใต้แผนการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง รวมทั้งสิ้น ๑๔๑,๖๓๘ ล้านบาท จำนวน ๒๗ โครงการ แบ่งเป็น ๒ แผนงาน ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

แผนงาน

วงเงินรวม

วงเงินตามพระราชกำหนดให้
อำนาจกระทรวงการคลังฯ

๑) แผนงานโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา

๙๕,๓๒๓ (๒๒ โครงการ)

๔๓,๙๕๐ (๑๖ โครงการ)

๒) แผนงานการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งระบบ

๔๖,๓๑๕ (๕ โครงการ)

,๐๓๐ (๑ โครงการ)

รวม

๑๔๑,๖๓๘

๕๑,๙๘๑

การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการประสานงานกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในการกำกับ ติดตามการดำเนินโครงการต่าง ๆ ในสาขาการศึกษา และร่วมกับ สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ในการจัดทำดัชนีชี้วัดสำหรับติดตามประเมินผลการ ลงทุนสาขาศึกษา และเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง และให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเร่งจัดส่งรายละเอียดของโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ให้สำนักงบประมาณพิจารณาตามขั้นตอน เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการได้ภายในปี ๒๕๕๓ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ต่อไป

การกำหนดดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของโครงการสาขาการศึกษาแล้ว แต่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ ที่ได้เสนอไว้นั้น มีความแตกต่างจากที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอค่อนข้างมาก ซึ่งดัชนีชี้วัดที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอส่วนใหญ่เป็นระดับผลผลิต อาจไม่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการสาขาการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของการลงทุน เช่น การวัดจำนวนโรงเรียนที่เพิ่มขึ้นยังไม่สามารถสะท้อนให้เห็นการพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษา เป็นต้น ซึ่งผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการได้ชี้แจงว่า ตัวชี้วัดที่เสนอมานั้นเป็นการรวบรวมจากข้อมูลตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ของกระทรวงศึกษาธิการ และจำเป็นจะต้องมีการบูรณาการผลลัพธ์ในระดับภาพรวมของแผนการลงทุนในสาขาการศึกษาต่อไป

นอกจากนี้ การกำหนดดัชนีชี้วัดดังกล่าวยังเป็นการรวบรวมจากผลผลิต (Output) ของโครงการ จึงอาจไม่สามารถใช้ในการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามวัตถุประสงค์ที่คณะกรรมการฯ กำหนดไว้ ซึ่งจะมีการหารือร่วมกันเพื่อปรับดัชนีชี้วัดดังกล่าวอย่างเป็นทางการ เพื่อใช้ในการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการสาขาการศึกษาต่อไป เช่น

นโยบาย/แผนงาน/โครงการ

กระทรวงศึกษาธิการ

สศช.

๑.โครงการส่งเสริมการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาและการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ

๑) จำนวนมหาวิทยาลัยวิจัยไทยได้รับการจัดอันดับใน World University Ranking ในระดับที่สูงขึ้น

๒) จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ

ผลผลิต
๑.สถาบันอุดมศึกษาได้รับการจัดลำดับความสำคัญในระดับนานาชาติเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ๗ แห่ง
๒.จำนวนผลงานวิจัยในระดับนานาชาติเพิ่มขึ้น
๓.จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยสาขาต่างๆ
เพิ่มขึ้น ๑,๐๐๐ คน

ผลลัพธ์
๑.มหาวิทยาลัยวิจัยไทยได้รับ
การจัดอันดับอยู่ในระดับ ๒๐๐ อันดับแรกของโลก
๒.จำนวนผลงานวิจัยที่ตอบสนองการพัฒนาชุมชนและภาคการผลิต

นอกจากนี้ จากการพิจารณาลักษณะของแผนงาน/โครงการของสาขาการศึกษา เห็นว่าการลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในโครงการปัจจัยสนับสนุนด้านการศึกษา วงเงินลงทุน ๔๑,๐๔๑ ล้านบาท และโครงการยกระดับคุณภาพอาชีวศึกษา (Modernized Vocational Education) วงเงินลงทุน ๑๘,๒๕๐ ล้านบาท ซึ่งทั้ง ๒ โครงการมีวงเงินลงทุนรวมประมาณ ๖๐,๐๐๐ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๖๓ ของวงเงินลงทุนในแผนงานโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา ดังนั้นในการติดตามประเมินผลการลงทุนจึงอาจให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนดังกล่าว เพื่อให้สามารถกำหนดดัชนีชี้วัดที่สะท้อนวัตถุประสงค์การลงทุนในสาขาการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับการลงทุนในสาขาศึกษาที่ได้รับอนุมัติตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.๒๕๕๒ วงเงินประมาณ ๔๑,๖๙๕ ล้านบาท วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กระทรวงศึกษาธิการได้ส่งคำขออนุมัติจัดสรรเงินกู้ให้สำนักงบประมาณพิจารณาแล้วจำนวน ๑๕ โครงการ วงเงิน ๑๕,๙๑๖ ล้านบาท ซึ่งได้รับอนุมัติจัดสรรเงินกู้จากสำนักงบประมาณแล้ว ๗ โครงการ วงเงินลงทุน ๑๒,๑๑๔ ล้านบาท ที่เหลืออยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมของราคาตามขั้นตอนของสำนักงบประมาณ

นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนโครงการอีกประมาณร้อยละ ๖๒ ที่ยังไม่ได้รับการจัดสรรเงินกู้ตามขั้นตอน จึงเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการได้ภายในปี ๒๕๕๓ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: