วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ช่องว่างทางปัญญา

...นักบินบางคนที่เก่งมาก ฉลาดมากหรือเป็นอัจฉริยะ เขาจะเชื่อมั่นตนเองมากจนไม่เชื่อคำแนะนำจากหอบังคับการหรือเครื่องมือ วัด...

...ผู้บริหารบางคนที่เก่งมาก ฉลาดมากหรือเป็นอัจฉริยะ เขาจะเชื่อมั่นตนเองมากจนไม่เชื่อใคร...

ความแตกต่าง ระหว่างบุคคล

สมรรถนะทางปัญญาของมนุษย์นั้นมีความแตกต่างกัน ถือเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคล และเป็นสิ่งที่นักการศึกษาทั้งหลายยอมรับว่ามีอยู่จริงและมีการกระจายเป็น โค้งปกติ ถ้าแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ จะมีประมาณ 5 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่มีสมรรถนะทางปัญญามากที่สุดระดับอัจฉริยะมีอยู่ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มสมรรถนะทางปัญญามากมีประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มปานกลาง มีประมาณ 68 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มที่มีสมรรถนะทางปัญญาค่อนข้างน้อยมีประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มที่มีสมรรถนะทางปัญญาต่ำสุดประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์

การคัดเลือกนักบินไม่นิยมคัดเลือกคนที่เก่งมาก ฉลาดมาก เข้าเป็นนักบิน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในกลุ่ม อัจฉริยะ 3 เปอร์เซ็นต์นั้น เพราะอาจทำให้ "เครื่องบินตก" หรือ มีปัญหาในการควบคุมการบินได้ เพราะเขาจะเชื่อมั่นตนเองมากจนไม่เชื่อคำแนะนำจากหอบังคับการหรือเครื่องมือ วัด นักบินที่ดีจึงไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีสมรรถนะทางปัญญาสูงมาก แต่ก็ไม่ต้องการคนที่มีสมรรถนะทางปัญญาต่ำกว่าเฉลี่ยเช่นกัน กลุ่มคนที่เหมาะสมเป็นนักบินจึงเป็นกลุ่ม 13 เปอร์เซ็นต์ที่มีสมรรถนะทางปัญญามากก็เพียงพอแล้ว

เพราะคนที่มีสมรรถนะทางปัญญามากมีแนวโน้มจะมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ไม่ค่อยจะรับฟังใคร เพราะเชื่อว่าตนเองมีภูมิปัญญาสูงกว่า โดยอนุมานเอาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า ความรู้ วิทยาการ และกระบวนการศึกษาอบรมที่ตนได้รับมานั้นมีมากกว่า ดีกว่าคนอื่น ๆ ดังนั้นความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็นของตนจึงดีกว่า ถูกต้องกว่าคนอื่นเสมอ

ผู้บริหารบางคนที่มีความฉลาด และคิดว่าตนเองได้รับการศึกษาอบรมมามากกว่าคนอื่น หรือดีกว่าคนอื่นเขาจะมีความเชื่อมั่นในตนเองมาก ไม่ค่อยเชื่อใคร การเกิดความมั่นใจในตนเองอาจมาจากผลงานความสำเร็จต่าง ๆ บรรยากาศที่เอื้ออำนวย สรรเสริญเยินยอ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รวมทั้งการเลี้ยงดูของครอบครัว ถ้าเป็นนักศึกษาที่มีลักษณะเช่นนี้จะตอบคำถามในส่วนของการตัดสินคุณค่าต่าง ๆ ผิดไปจากนักศึกษากลุ่มอื่น ในขณะที่ระบบการศึกษาพยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ เสริมสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นในตนเอง ในขณะเดียวกันก็พยายามให้เชื่อถือและศรัทธาค่านิยม หรือ บรรทัดฐานของสังคมโดยรวมไปด้วย ซึ่งหมายถึงการให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่นั่นเอง แต่ผู้บริหารบางคนที่เก่งมากอาจไม่สนใจผู้อื่นหรือคนส่วนมากยังคงยึดมั่นใน ความคิดของตนเองว่าถูกต้องดีงามเสมอ

การคัดเลือกผู้บริหารนั้นสังคม ต้องการผู้บริหารที่มีระดับสมรรถนะทางปัญญาเหมือนกับหรือเทียบเท่ากับนักบิน ก็น่าจะเพียงพอแล้วเช่นกัน ส่วนผู้ที่เป็นอัจฉริยะนั้นเหมาะที่จะเป็นผู้นำมากกว่าเป็นผู้บริหาร

ช่องว่างทางปัญญา

ช่องว่างทางปัญญาของกลุ่มคนในสังคมเริ่มมีมากขึ้น เมื่อมีข้อมูล และข่าวสารที่ต้องใช้สมรรถนะทางปัญญาในการคิดวิเคราะห์ และตัดสินคุณค่าต่าง ๆ ผลของการตัดสินคุณค่าในแต่ละกลุ่มคนจะแตกต่างกันด้วยตามระดับสมรรถนะของสติ ปัญญาอย่างไรก็ตามเมื่อถึงเวลาที่ต้องเลือกใช้ผลของการตัดสินคุณค่าใดๆ อันจะมีผลต่อสังคมโดยรวมแล้ว เสียงข้างมากจะถูกนำมาใช้ นั่นหมายถึงเสียงของคนส่วนใหญ่ 68 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่ตรงกลางจะเป็นเสียงตัดสินในระบอบประชาธิปไตย ถ้ากลุ่มนี้มีความเห็นสอดคล้องกับการตัดสินคุณค่าอย่างไร หรือของใคร สังคมมักจะใช้ผลการตัดสินคุณค่าจากกลุ่มใหญ่นั้น ถ้ามีการต่อต้านจากกลุ่มอื่นก็จะเป็นกลุ่มที่มีสมรรถนะทางปัญญาที่สูงกว่า หรือต่ำกว่าซึ่งมีความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ ซึ่งความเห็นของกลุ่มต่อต้านนั้นอาจจะถูกต้อง ดีงามประเสริฐสุดก็ตาม แต่ยังไม่ถึงเวลาที่จะนำมาใช้ ถือว่าผิดกาละ

แต่อย่างไรก็ตามการต่อต้านความคิดของคนกลุ่มน้อยที่มีต่อคนกลุ่มใหญ่นั้นเป็นปกติวิสัยในสังคม มนุษย์และนำมาสู่การขัดแย้งและทำลายล้าง ถ้าคนกลุ่มน้อยนั้นถึงแม้จะมีปริมาณน้อยแต่ถ้ามีกำลังมากก็สามารถสร้างความ เสียหายให้กับสังคมได้อย่างมากเช่นกัน กงล้อของพัฒนาการทางสังคมมีการหมุนเวียนเป็นวัฏจักร ไม่สามารถจะหลีกหนีพ้น ประวัติศาสตร์จึงซ้ำรอยและจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปตราบใดที่มีมนุษย์อยู่ เพราะมนุษย์มีความแตกต่างกันทางสมรรถนะทางปัญญา และเป็นความแตกต่างที่จะคงมีอยู่ในมนุษย์ตลอดไปเช่นกัน

การ ลดช่องว่างทางปัญญา

การให้การศึกษาเป็นกระบวนการหนึ่งที่ใช้ สำหรับการลดช่องว่างทางปัญญา แต่กระบวนการศึกษาไม่สามารถเปลี่ยนสมรรถนะทางปัญญาที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ ได้ การให้การศึกษาในปัจจุบันจึงเป็นเพียงการให้ข้อมูล สาระ ความรู้ รวมทั้งปลูกฝังความเชื่อและศรัทธาให้เกิดขึ้นกับมนุษย์เป็นสำคัญ

การ ลดช่องว่างทางปัญญาโดยการเปลี่ยนสมรรถนะทางปัญญาของมนุษย์จึงไม่ใช่เป้าหมาย ของการศึกษา แต่เป็นการส่งเสริมให้ใช้สมรรถนะที่มีอยู่นั้นให้เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลสูงสุดตามกำลัง และความสามารถของแต่ละคน รวมทั้งควรรู้จักประมาณตนเองด้วยว่าควรจะมีความพอเพียงแค่ไหน

การลด ช่องว่างด้วยการศึกษาเป็นการลดช่องว่างด้วยการที่ให้มีการจัดการให้ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งความรู้ต่าง ๆ ให้ได้รับการเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน เป็นการลดช่องว่างของผลจากการใช้ปัญญาในแต่ละกลุ่มได้ ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่นั้นไม่ใช่เกิดจากการใช้สมรรถนะทางปัญญาที่ แตกต่างกันในการวิเคราะห์และตัดสินคุณค่า แต่มาจากการได้มาของข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ที่ไม่เท่าเทียมกันมากกว่า การปิดกั้นการรับข้อมูล ข่าวสาร และความรู้จึงทำให้เกิดช่องว่างทางปัญญาได้

หน่วยประมวลผล ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ CPU (Central Processing Unit) หรือ Processor อาจจะมีสมรรถนะในการประมวลผลข้อมูลแตกต่างกัน เช่นเดียวกับระดับสมรรถนะภูมิปัญญาของมนุษย์ แต่ถ้ามีข้อมูล สาระ หรือความรู้ที่ป้อนเข้าไปเหมือนกัน ส่วนมากแล้วจะได้ผลเหมือนกัน เว้นแต่สมรรถนะของ Processor บางตัวเท่านั้นที่อาจไม่สามารถประมวลผลได้ถูกต้อง ประมวลผลไม่ได้ หรือประมวลได้ผิดไปจากส่วนใหญ่ที่เป็นจริง และบาง Processor ได้ผลลัพท์จากการประมวลผลมากน้อยไม่เท่ากัน ระยะเวลาที่ใช้ประมวลผลมีความเร็ว-ช้าต่างกัน เพราะอาจมีปัจจัยเสริมอื่น ๆ เป็นตัวช่วยทำให้แตกต่างและเป็นช่องว่างกันได้อีกเช่นกัน

อุทาหรณ์

นักเรียน ในต่างจังหวัดสองคนเป็นเพื่อนรักกัน เรียนด้วยกันมาตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงมัธยมต้นมีผลการเรียนเท่า ๆ กัน พอมัธยมปลายเพื่อนคนหนึ่งย้ายตามผู้ปกครองมาเรียนในเมืองหลวง อีกคนเรียนที่ต่างจังหวัด คนที่มาเรียนในเมืองหลวงสามารถหาหนังสือดี ๆ อ่านได้ มีอาจารย์เก่ง ๆ สอนหรือติว ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยรวดเร็ว และสุดท้ายสามารถสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในสาขาวิชาและมหาวิทยาลัยในเมือง หลวงที่มีการแข่งขันกันสูงได้ เพราะการแข่งขันกันนั้นใช้กระบวนการทดสอบวัดความรู้เป็นหลักในการคัดเลือก

ส่วน เพื่อนนักเรียนที่เรียนต่างจังหวัดไม่สามารถเข้าถึงความรู้ที่ใช้สำหรับการ สอบคัดเลือกได้ จึงไม่สามารถสอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้ เขากลายเป็นคนที่ไม่มีความรู้หลายอย่างที่ใช้สอบเหมือนกับเพื่อนที่เรียนใน เมืองหลวงที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ บางเวลาเมื่อมาพบกัน เพื่อนรักคู่นั้นคุยกันไม่ได้ คุยกันไม่รู้เรื่องเพราะความรู้และความคิดต่างกัน ดังนั้น โอกาสและความเท่าเทียมกันในการได้รับความรู้จึงเป็นสิ่งที่เกิดเป็น "ช่องว่างทางปัญญา" และ "ช่องว่างทางปัญญา" ทำให้เกิด "ปัญหาในสังคมหรือช่องว่างในสังคม" ตามมามากเช่นกัน เนื่องจาก “คุยกัน ไม่ได้ คุยกันไม่รู้เรื่องเสียแล้ว”

รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์

ไม่มีความคิดเห็น: