วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความเป็นมาของ สิทธิมนุษยชน และสิทธิขั้นพื้นฐาน

สิทธิมนุษยชน และสิทธิขั้นพื้นฐาน (Human Rights and Fundamental Rights)
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลงเมื่อ พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) โดยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรที่มีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย เป็นผู้นำนั้น

สงครามโลกครั้งที่สองได้นำความหายนะมาสู่ชีวิตและทรัพย์สินของหลายประเทศทั่วโลก ชาวโลกได้ประจักษ์ถึงความทารุณโหดร้ายของพรรคนาซีเยอรมันที่ได้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวหลายล้านคนและกระทำการย่ำยีประชาชนทุกประเทศที่เยอรมันเข้ายึดครอง

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การย่ำยีสิทธิสตรี เด็ก ถือเป็นการทำลายศักดิ์ศรีมนุษย์อย่างชัดเจน หัวหน้ารัฐบาลประเทศพันธมิตรต่างเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องแสวงหามาตรการที่เป็นรูปธรรมป้องกันมิให้มีการทำลายศักดิ์ศรีของมนุษย์เกิดขึ้นอีก

ภายหลังการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อในวันที่ 15 เมษายน 2488 มีการรับรองกฎบัตรสหประชาชาติ ( UN Charter ) โดยมติที่ประชุมใหญ่ ในกฎบัตรนี้มีความหมายหลายตอนที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของสหประชาชาติในการทำหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

เดือนตุลาคม พ.ศ. 2489 สหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน (The Commission on Human Rights ) ให้อยู่ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ( Economic and Social Council หรือ ECOSOC )

เดือนมกราคม พ.ศ. 2490 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้เรียกประชุมเป็นครั้งแรกและได้แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างเอกสารสหประชาชาติเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยแบ่งออกเป็น 3 ชุด ชุดแรก จัดทำร่างปฏิญญา ( Declaration ) ชุดที่สอง จัดทำอนุสัญญา ( Convention ) ชุดที่สาม ศึกษาปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ

คณะกรรมการยกร่างปฏิญญาได้มีการประชุมกันหลายครั้งและได้นำเสนอร่างปฏิญญาให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติลงมติยอมรับและประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 ด้วยคะแนนเสียง 48 คะแนนเสียง ไม่มีเสียงคัดค้าน และประเทศกลุ่มคอมมิวนิสต์ทั้งหมด ซาอุดิอาระเบีย และอัฟริกาใต้ งดออกเสียง สำหรับประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้การรับรอง

ที่มา คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

กากแต็บอะไรก็ไม่รู้