วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การพัฒนาระบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อส่งเสริมสุขภาพ อนามัยแบบองค์รวม

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาสภาพและปัญหาการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
2) ศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแบบองค์รวม
3) พัฒนาระบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแบบองค์รวม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) มีการดำเนินงานวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่
1) กำหนดกรอบความคิดในการวิจัย
2) ศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม
3) พัฒนาระบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
4) ศึกษาความเหมาะสมและปรับปรุงระบบการบริหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแบบองค์รวม กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่มีความเป็นเลิศด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย จำนวน 8 แห่ง กระจายอยู่ใน 4 ภูมิภาคของประเทศไทย การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดย
1) การสัมภาษณ์ระดับลึก
2) การสนทนากลุ่ม
3) การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
4) การสังเกตและจดบันทึก ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ชุมชน การวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัยทำโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Contents Analysis) และบรรยายสรุป

ผลการวิจัยมีดังนี้
1. สภาพและปัญหาการส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่โรงเรียนเคยประสบและกำลังประสบได้แก่
1) ขาดครูที่มีความรู้เฉพาะทางทั้งด้านอนามัย และวิชาสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
2) ครูมีงานสอนและงานอื่นมากทำให้ไม่มีเวลาดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ
3) ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจน้อย
4) ขาดการประสานงานกับหน่วยงานราชการและหน่วยงานอื่น
5) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูขาดขวัญ กำลังใจในการดำเนินงานเนื่องจากผู้บริหารต้นสังกัดไม่เห็นความสำคัญของการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ
6) ขาดงบประมาณการดำเนินงานและได้รับงบประมาณสนับสนุนจากท้องถิ่นน้อย
2. แนวทางการบริหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม พบว่าโรงเรียนทั้ง 8 แห่งมีการบริหารตามแนวทางการบริหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพตามองค์ประกอบและเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยให้ความสำคัญในเรื่องการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องและการจัดบริการด้านสุขภาพ สำหรับทั้งนักเรียนและครู และจัดโครงการหรือกิจกรรมส่งเสริมหลากหลายเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
3. ระบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแบบองค์รวมที่พัฒนาได้คือ ระบบ
“HAPPYKIDS System” ประกอบด้วย
1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย
1.1) บุคลากร
1.2) งบประมาณ และ
1.3) วัสดุอุปกรณ์

2) กระบวนการ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ
2.1) นโยบายด้านสุขภาพ
2.2) การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน
2.3) การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน
2.4) การบริการสุขภาพของโรงเรียน
2.5) การจัดการเรียนการสอนสุขศึกษาและพลศึกษา
2.6) การโภชนาการของโรงเรียน
2.7) การออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ
2.8) การให้คำปรึกษาแนะนำสุขภาพทางกาย ใจ อารมณ์ และสังคม
2.9) การส่งเสริมสุขภาพบุคลากร 3) ปัจจัยส่งออก ประกอบด้วย 3.1) การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

3.2) นักเรียนที่มีสุขภาวะดี ทั้ง 4 ด้าน 4) ข้อมูลย้อนกลับ และ 5) สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
5.1) การเมือง
5.2) เศรษฐกิจ
5.3) สังคม
5.4) เทคโนโลยี

4. ระบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแบบองค์รวมที่พัฒนามีความเหมาะสมใช้ได้จริงตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและเห็นควรมีการสนับสนุนให้เกิดการใช้จริงจากหน่วยงานต่าง

แหล่งที่มา : http://www.thaiedresearch.org

ไม่มีความคิดเห็น: