วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ

รมว.ศธ.กล่าวว่า เป้าหมายในการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ.ตามกรอบวงเงินโครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (SP2) ซึ่ง ศธ.ได้รับอนุมัติจำนวน ๑,๔๔๐ ล้านบาท เพื่อพัฒนาครูทั้งระบบใน ๔ กิจกรรม คือ

๑) จัดระบบพัฒนาครูเชิงคุณภาพ เพื่อการพัฒนาสรรถนะครูรายบุคคลใช้งบประมาณ จำนวน ๖๗๘ ล้านบาท
๒) พัฒนาครูดี ครูเก่ง (Master Teacher) จำนวน ๒๐๑ ล้านบาท
๓) ฝึกอบรมยกระดับคุณภาพครู ให้เป็นครูดี มีคุณภาพ คุณธรรม จำนวน ๕๐๐ ล้านบาท
๔) พัฒนาคุณภาพครูด้วยระบบ e-Training จำนวน ๖๐ ล้านบาท

สำหรับการพัฒนาครูทั้งระบบนั้นดำเนินการโดย สพฐ. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาจำนวน ๒๕ แห่ง จากผลการประเมินครูในเบื้องต้นพบว่ามีกลุ่มที่ผ่านการประเมิน ดังนี้

กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาตอนต้น มีกลุ่มที่ผ่านการประเมินในระดับสูงร้อยละ ๕๔.๒๔ ระดับกลางร้อยละ ๓๖.๗๙ ระดับต้นร้อยละ ๘.๙๘

กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ มัธยมศึกษาตอนต้น ระดับสูงร้อยละ ๕๘.๐๒ ระดับกลางร้อยละ ๒๙.๑๐ ระดับต้นร้อยละ ๑๒.๘๘

กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาตอนปลาย

- วิชาฟิสิกส์ ระดับสูงร้อยละ ๒.๑๙ ระดับกลางร้อยละ ๒๖.๖๓ ระดับต้นร้อยละ ๗๑.๑๘

- วิชาเคมี ระดับสูงร้อยละ ๒๒.๖๘ ระดับกลางร้อยละ ๑๓.๔๙ ระดับต้นร้อยละ ๖๓.๘๓

- วิชาชีววิทยา ระดับสูงร้อยละ ๐.๐๗ ระดับกลางร้อยละ ๑๓.๖๗ ระดับต้นร้อยละ ๘๖.๒๖

กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ มัธยมศึกษาตอนปลาย

- วิชาโลกดาราศาสตร์ ระดับสูงร้อยละ ๐.๕๖ ระดับกลางร้อยละ ๓๖.๑๔ ระดับต้นร้อยละ ๖๓.๓๐

- วิชาคณิตศาสตร์ ระดับสูงร้อยละ ๐.๐๖ ระดับกลางร้อยละ ๑๘.๒๘ ระดับต้นร้อยละ ๘๓.๖๖

- วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับสูงร้อยละ ๐.๑๐ ระดับกลางร้อยละ ๑๒.๓๖ ระดับต้นร้อยละ ๘๗.๕๔

รมว.ศธ.กล่าวสรุปว่าจากตัวเลขดังกล่าวพบว่าครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่ต้องพัฒนาให้มีความรู้ตรงกับสาระวิชาที่เป็นวิชาเอกที่จะสอน ดังนั้นโครงการที่ต่อเนื่องจากการโครงการประเมินผลสมรรถนะเป็นรายบุคคลแล้ว รมว.ศธ.จึงได้ขอให้ สพฐ.ดำเนินการพัฒนาครูให้ตรงกับความจำเป็นและความต้องการอย่างแท้จริง นอกจากนี้ผลคะแนนที่ออกมาพบว่าจะต้องปรับปรุงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ โดยครูสามารถสอนแบบบูรณาการหรือเรียกว่ามีวิชาเอกคู่ เพื่อสามารถสอนได้หลายวิชาในชั้นเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น แต่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีการผลิตและพัฒนาครูเพื่อให้มีความเชี่ยวชาญเพิ่มมากขึ้น อาจมีความจำเป็นที่จะส่งเสริมให้ครูระดับนี้ได้มีโอกาสไปเรียนหลักสูตรต่อในระดับปริญญาโทด้วย เช่น มีหลักสูตร ๔+๒ คือปริญญาตรีและปริญญาโท

ส่วนการประเมินผู้บริหารสถานศึกษานั้น สะท้อนให้เห็นว่า สพฐ.ต้องมีแนวทางในการพัฒนาผู้บริหารโดยเฉพาะการพัฒนาสู่การเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ตามผลการประเมินใน ๓ วิชา ดังนี้

-วิชาที่ ๑ ความรู้และสมรรถนะการบริหารการศึกษา ระดับสูงร้อยละ ๑๖.๒๙ ระดับกลางร้อยละ ๔๑.๑๒ ระดับต้นร้อยละ ๔๒.๕๙

-วิชาที่ ๒ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้นำและคุณธรรม จริยธรรม ระดับสูงร้อยละ ๗๑.๔๘ ระดับกลางร้อยละ ๑๖.๓๔ ระดับต้นร้อยละ ๑๒.๑๘

-วิชาที่ ๓ ภาษาอังกฤษและเทคโนโลยี ระดับสูงร้อยละ ๑.๔๓ ระดับกลางร้อยละ ๓.๗๖ ระดับต้นร้อยละ ๙๔.๘๑

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดิฉันสอบได้ที่ต้นๆ ได้รับการพิจารณาให้เรียนต่อโท ในโครงการนี้ แต่ดิฉันจบโทมาแล้ว จะขอใช้สิทธิ์เรียนอีกได้ไหมคะ