วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ ๖/๒๕๕๓

รมว.ศธ. กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานจากองค์กรหลัก ดังนี้

๑. การเตรียมความพร้อมและยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการศึกษา โดย สกศ. ได้รายงานผลวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนากฎหมายเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการศึกษา ซึ่งมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ได้แก่


๑. ให้มีคณะกรรมการจากทุกภาคส่วน มาดูแลเรื่องนี้
๒. ควรมีการกำหนดทิศทาง ทั้งด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการศึกษา รวมทั้งศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรค
๓. สถานะทางการศึกษาของประเทศ ควรเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าที่จะเปิดเสรี เพื่อรองรับการแข่งขัน
๔. การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
๕. ควรปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการเปิดเสรี
๖. ควรศึกษาผลกระทบในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

๒. ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาระหว่างรัฐและเอกชน จัดโดย สกศ. ซึ่งมีผลสรุป ดังนี้

๑. ควรให้มีคูปองทางการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
๒. ให้จัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวของเอกชนเพิ่มเท่าโรงเรียนของรัฐบาล
๓. ปรับระบบภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจให้เอกชนร่วมจัดการศึกษา
๔. ลดอุปสรรคในการดำเนินงานของเอกชน เช่น เรื่องกฎหมาย ตราสาร ฯลฯ
๕. ให้เอกชนที่มีความพร้อม เข้ามาเป็นหุ้นส่วนการศึกษากับภาครัฐ
๖. รัฐต้องกำหนดนโยบายการขยายโอกาสให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อการรับเด็กเข้าเรียนของเอกชน

๓. โครงการพัฒนาเครือข่าย Uni Net ของ สกอ. งบที่ ครม.อนุมัติ ๕,๑๗๗ ล้านบาท (SP2) ขณะมีการเบิกจ่ายแล้ว ๗๐% มี ๓ โครงการหลัก ได้แก่

๑. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT ๓,๖๙๗ ล้านบาท
๒. การพัฒนาบุคลากรสำหรับการบริหารจัดการเครือข่าย ๗๐ ล้านบาท
๓. การพัฒนาระบบ Teacher TV ๑,๔๑๐ ล้านบาท

เป้าหมาย เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT (ปี ๒๕๕๓ - ๒๕๕๕) ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ๒๐๒ แห่ง, สถาบันการอาชีวศึกษาของรัฐ ๔๑๕ แห่ง, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ๑๘๕ แห่ง, โรงเรียนดีเด่นของ สพฐ. ๒,๐๐๐ แห่ง, ห้องสมุดประชาชน กศน. ๑๕๑ แห่ง, โรงเรียนของ สช. ๑๔๓ แห่ง รวม ๓,๐๙๖ แห่ง.

แผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ประกอบด้วย 4 เป้าหมาย


รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษาเปิดเผยว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)ได้จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ประกอบด้วย 4 เป้าหมาย ดังนี้ เป้าหมายที่ 1 คนไทยและการศึกษาไทยมีคุณภาพและได้มาตรฐานระดับสากล มีตัวบ่งชี้ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลักจากการทดสอบระดับชาติ มีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 3 ต่อปี,ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี,สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษา : สามัญศึกษาเป็น 60 : 40,ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาและอุดมศึกษามีคุณภาพระดับสากล และเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ,จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มเป็น 12 ปี เป็นต้น

เลขาธิการ สกศ.กล่าวต่อว่า เป้าหมายที่ 2 คือ คนไทยใฝ่รู้ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง มีตัวบ่งชี้ เช่น ผู้เรียนทุกระดับการศึกษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 มีทักษะในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง,อัตราการรู้หนังสือของประชากร(อายุ 15-60 ปี)เป็นร้อยละ 100,คนไทยใช้เวลาอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงาน โดยเฉลี่ยอย่างน้อยวันละ 60 นาที สัดส่วนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ต่อประชากรอายุ 10 ปีขึ้นไปเป็นร้อยละ 50 เป็นต้น เป้าหมายที่ 3 คนไทยใฝ่ดี มีคุณธรรมเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีจิตสาธารณะ ตัวบ่งชี้ เช่น ผู้เรียนทุกระดับการศึกษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 มีคุณธรรม จริยธรรมและมีความเป็นพลเมือง,จำนวนคดีเด็กและเยาวชนลดลงร้อยละ 10 ต่อปี,จำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีที่ตั้งครรภ์ลดลงร้อยละ 10 ต่อปี,จำนวนเด็กเข้ารับการบำบัดยาเสพติดลดลงร้อยละ 10 ต่อปี,สัดส่วนคนไทยที่ประกอบกิจกรรมศาสนาอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี

เป้าหมายที่ 4 คนไทยคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ ตัวบ่งชี้ เช่น ผู้เรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์,กำลังแรงงานที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 65 ทั้งนี้ การดำเนินงานจะใช้งบประมาณในปี 2554 ประมาณ 109,400 ล้านบาท.

ไม่มีความคิดเห็น: