วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สกศ. อนุมัติจำนวนเขตพื้นที่มัธยมศึกษา 42 เขต พร้อมลดเขตพื้นที่ประถมศึกษาเดิมจาก 185 เหลือ 183

(17ส.ค.)นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ธ. ) กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษา (กกศ.) ว่า บอร์ด สกศ.มีมติเห็นชอบให้ รมว.ศธ.ประกาศจัดตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษาจำนวน 42 เขต ทั่วประเทศ หลังจากที่ก่อนหน้านี้กฎหมายรองรับการจัดตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษา ได้ประกาศใช้แล้ว ส่วนเขตพื้นที่ประถมศึกษาเดิมที่มีอยู่ 185 เขตทั่วประเทศนั้น บอร์ด สกศ.ให้ปรับลดเหลือแค่ 183 เขต โดยรวมเขตพื้นที่การศึกษา กทม.ซึ่งมีอยู่ 3 เขตให้เหลือแค่เขตเดียว แต่ในส่วนของเขตพื้นที่มัธยมศึกษานั้น จะมีเขตพื้นที่ในกทม. ทั้งหมด 2 เขต โดยการแบ่งพื้นที่เขตมัธยมศึกษาในกทม.นั้น จะยึดตามเขตพื้นที่การศึกษา กทม.2และกทม. 3 เดิม แล้วแบ่งเขตพื้นที่การศึกษา กทม.1 ออกเป็น 2 ส่วนไปสมกับเขตพื้นที่กทม.2 และ กทม.3

ทั้งนี้ ภายหลังจาก บอร์ด สกศ.มีมติดังกล่าวแล้วและตนได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ อย่างไรก็ตาม เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษาเห็นชอบแล้ว และตนได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้ รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา นำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา ต่อไป ทั้งนี้ จากนี้ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) จะต้องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ก.ค.ศ.วิสามัญ การบริบุคลากรครูการมัธยมศึกษา เพื่อทำหน้าที่ดูแลการเขตพื้นที่การมัธยมศึกษาทั้ง 42 เขต ซึ่งจะต้องตั้งภายใน 180 วัน

นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการปรับเปลี่ยนใน สพท.สกลนคร 3 เขต คือ สพท.สกลนคร เขต 1 ให้เพิ่มอ.กุดบาก ไปอยู่ในการดูแลจากเดิมที่อยู่ใน สพท..สกลนคร เขต 2 เนื่องจากอ.กุดบากมีเขตพื้นที่ติดต่อกับอ.เมืองซึ่งอยู่ใน สพท.สกลนคร เขต 1 มากกว่า ขณะเดียวกันใน สพท.สกบนคร เขต 2 ให้เพิ่มอ.เจริญศิลป์ ที่เดิมอยู่ในการดูแล สพท.สกลนคร เขต 3 เข้าไปแทน ด้วยเหตุนี้ทำให้ สพท.สกลนคร เขต 3 เหลือจำนวนอำเภอที่ต้องดูแลเพียง 4 อำเภอเท่านั้น

ด้านนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เตรียมการรองรับการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยเฉพาะการเตรียมอาคารสถานที่และบุคลากร อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ยังไม่มีการตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่มัธยมศึกษา ขึ้นมาดูแลการแต่งตั้ง โยกย้าย บริหารงานบุคคลของฝ่ายมัธยมศึกษานั้น ให้ผู้ที่ประสงค์ขอโยกย้าย ยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเดิม เมื่อมีการจัดตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษา แล้ว ให้สพท.รวบรวมคำร้องส่งให้

ทั้งนี้ในส่วนของโครงสร้าง เขตพื้นที่การมัธยมศึกษานั้น ได้เสนอให้มี ผอ.เขตพื้นที่การมัธยมศึกษา 1 คน และรองผอ. 3 คนทำหน้าที่ในการดูแลทางด้านวิชาการ ด้านบุคลากร และด้านงบประมาณและบริหารทั่วไป อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นที่การดำเนินการยังไม่เรียบร้อยนั้น สพฐ. ได้ตั้งผู้รักษาการตำแหน่ง ผอ.เขตการมัธยมศึกษาชั่วคราว โดยในการคัดเลือก ผอ.และรองผอ. นั้นได้เปิดโอกาสให้ ผอ.สพท.และรองผอ.ที่ทำหน้าที่อยู่ในเขตเดิมนั้นได้เสนอเพื่อเข้ารับการคัดเลือก แต่ทั้งนี้คุณสมบัติจะต้องตรวตามที่ ก.ค.ศ.กำหนดไว้ ส่วนงานธุรการ หรือรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเบื้องต้นจะให้เจ้าหน้าที่ในส่วน สพท.การประถมศึกษาที่เคยทำงานมารับผิดชอบไปพลางก่อน

ครุศาสตร์ จุฬาฯ จับมือ 25 สถาบันยกเครื่องผู้บริหารสถานศึกษาและครู หวังเพิ่มศักยภาพผู้บริหาร- ครู นำความรู้สู่การพัฒนานักเรียน

เมื่อวันที่ 17 ส.ค.2553 ศ.ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากคณะครุศาสตร์ จุฬา ฯ และเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 25 สถาบัน ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษาและครูทั้งระบบตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ประจำปีงบประมาณ 2553- 2555 โดยในปีงบประมาณ 2553 จะมีการประเมินสมรรถนะผู้บริหารและครู พัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมวิทยากรแกนนำ เพื่อไปทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการในการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 39,898 คนและพัฒนาครู จำนวน 17,408 คน ขณะนี้กำลังอบรมผู้บริหารสถานศึกษาและครู ซึ่งจะอบรมเสร็จกลางเดือนกันยายนนี้ และเท่าที่ดูเบื้องต้นทั้งผู้บริหารและครูกระตื้อรื้อร้นมาก

ศ.ดร.ศิริชัย กล่าวอีกว่า การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้จากภายในแบบองค์รวมด้วยรูปแบบที่หลากหลายในลักษณะของประสบการณ์ และจัดกิจกรรม มีชุดการเรียนรู้ ทั้งหมด 9 ชุด ขณะเดียวกันมีความยืดหยุ่น เปิดโอกาสให้มีการปรับแต่งได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ และระหว่างอบรมมีการนำความรู้แต่ละวันไปพิจารณาหรือพัฒนาแผนพัฒนาโรงเรียนใน 5 ปีข้างหน้า รวมทั้งมี 4 แผนปฏิบัติการหลักที่ผู้บริหารจะกลับไปดำเนินการ เพื่อให้เกิดจิตสำนึก จิตวิญญาณของการเป็นผู้บริหารการศึกษาที่แตกต่างไปจากผู้บริหารองค์การทางธุรกิจ ส่วนการอบรมพัฒนาครูแกนนำ จะทดสอบสมรรถนะครู เพื่อจำแนกครูตามระดับสมรรถนะ ได้แก่ ระดับสูง ระดับกลางและระดับต้น โดยเน้น 6 กลุ่มวิชาได้แก่ วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา การศึกษาพิเศษ บรรณารักษ์และแนะแนว

"ผู้ผ่านการประเมินระดับดีและดีมากจากหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาและหลักสูตรครูจะได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้บริหารสถานศึกษาแกนนำ และครูแกนนำเครือข่ายของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ขณะเดียวกัน สพฐ. จะนำผลประเมินนี้ไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมสนับสนุนความก้าวหน้าทางวิชาชีพต่อไปในอนาคต"ศ.ดร.ศิริชัย กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น: