วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

"นานาทรรศนะกับ สพฐ.": เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 โดยการปรับโครงสร้างกระทรวงฯ จาก 14 กรม เป็น 5 องค์กรหลัก ประกอบด้วย สำนักานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกาขั้นพื้นฐษน (สพฐ.) ซึ่ง สพฐ.มีภารกิจในการจัดการศึกาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ ปวส. ปีที่ 3 โดยมี สพท. เป็นหน่วยงานระดับภูมิภาค จำนวนทั้งสิ้น 185 เขตพื้นที่การศึกษา ครอบคลุมภารกิจในการดูแลสถานศึกษากว่า 3 หมื่นแห่งทั่วประเทศ

ผ่านมาได้ 7 ปีเต็ม จึงได้เริ่มเห็นปัญหาและอุแสรรค์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอาทิ การบริหารจัดการของสถานศึกษาไม่อิสระ ปฏิบัติภารกิจไม่คล่องตัว สาเหตมาจากการรวมโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเข้าด้วยกัน เป็นเหตุให้โรงเรียนมัธยมศึกษาไม่ได้รับการดูแลทางด้านวิชาการ งบประมาณและการบริหารทั่วไปเท่าที่ควร

ประกอบกับการขาดศึกษานิเทศก์ที่จะนิเทศโรงเรียนมัธยมศึกษา ส่งผลให้การพัฒนางานวิชาการชะงักงัน มีผลต่อคุณภาพนักเรียน พบว่าการวัดผลการเรียนทุกช่วงชั้นของสำนักทดสอบทางการศึกษา (องค์การมหาชน) ต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 เกือบทุกวิชา

การแก้ปัญหาดังกล้าวจาการวิจัยของ สพฐ. และการตั้งคณะทำงานศึกษารูปแบบ จึงเสนอให้มีการปรับปรุงและแก้ไข พ.ร.บ. 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 และพ.ร.บ.ระเบียบช้าราชการครและบุคลาการทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 โดยการกำหนดให้มีเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2553 คณะกรรมการสภาการศึกา จึงพิจารณาให้ความเห็นชอบให้มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกาษาประถมศึกษา 183 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกา 42 เขต (บางเขตพื้นที่การศึกาดูแลจังหวัดขนาดเล็กที่มีโรงเรียนมัธยมศึกษาควบคู่ไปด้วย)

ส่วนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาของกรุงเทพมหานคร ที่เดิมมีอยุ่ 3 เขตนั้น ให้เหลือเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพียง 1 เขต เพราะมีโรงเรียนศึกษาในกรุงเทพฯ ที่สังกัด สพฐ. อยู่เพียง 37 แห่ง และให้ตั้งเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่ดูแลโรงเรียนมัธยมศึกาในกรุงเทพฯ จำนวน 2 เขต

ผลที่ตามมาจากการกำหนดตัวชี้วัดภาพควมสำเร้๗การจัดการศึกษา ที่จะให้ผลเชิงประจักษ์จากการแบ่งเขตพื้นที่การศึกาใหม่นั้น ได้แก่
1. สถานศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ภายในปีการศึกษา 2544
2. สถานศึกษาทุกแห่งผ่านการรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพนอก มีผลการะประเมินระดับดี/ดีมาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3. สถานศึกษาทุกแห่งจัดทำและใช้หลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนมีการใช้แหล่การเรียนรู้ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากชุมชนสถาบันการศึกษา แหล่งวิทยาการ สถานประกอบการและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงสอดคล้องกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
4. สถานศึกษาทุกแห่งมีการพัฒนาครู และมีผลการประเมินมาตรฐานการศึกาขั้นพื้นฐษน มาตรฐานที่ 10 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดีและดีมาก
5. สถานศึกาจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เสริมสร้างพัฒนาการของผู้เรียนเต็มตามศักยภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะหลักสูตรแกนหลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
6. สถานศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม และสามารถพัฒนาสู่ความเป็นเลิศมีศักยภาพในการแข่งขันในระดับสากลเพิ่มมากขึ้น
7. สถานศึกษามีอัตราส่วนนักเรียน ต่อ คอมพิวเตอร์ ต่ำกว่า 20 : 1 และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเป็นเครืองมือเพิ่มประสิทธิภาพบริหารและจัดการเรียนรู้ ฯลฯ

นั้นคือความพยายามในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองอย่างแท้จริง

ที่มา : คมชัดลึก ฉบับวันที่ 30 ส.ค. 2553

ไม่มีความคิดเห็น: