วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การจัดการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๔๒


เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๓ ครม.ได้รับทราบรายงานความคืบหน้าของ ศธ.เกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๔๒ พ.ศ.๒๕๕๔ (42nd International Physics Olympiad 2011) ซึ่งจะจัดขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างวันที่ ๑๐-๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

ศธ.ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ เพื่อร่วมกันรับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ จำนวน ๑๔ คณะ ทั้งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงรับเป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์ และท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม รับเป็นรองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

คณะที่เดินทางไปรับมอบการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯ ครั้งที่ ๔๒ ประกอบด้วย รศ.เย็นใจ สมวิเชียร เหรัญญิกมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ นางดวงสมร คล่องสารา รองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เข้าร่วมในพิธีปิดการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งที่ ๔๑ ที่ประเทศโครเอเชีย ซึ่งจัดระหว่างวันที่ ๑๗-๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ โดย ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว เป็นผู้แทนในการรับมอบและกล่าวเชิญชวนให้ประเทศต่างๆ ส่งผู้แทนเข้าร่วมการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งที่ ๔๒ ที่ประเทศไทย นอกจากนี้ยังได้มีการจัดส่งคณาจารย์ร่วมเดินทางไปกับคณะผู้แทนประเทศที่ไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งที่ ๔๑ ที่ประเทศโครเอเชีย เพื่อศึกษารูปแบบการจัดงาน ประกอบด้วยคณาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

คณะอนุกรรมการดำเนินงานได้รวบรวมรายชื่อประเทศที่เคยเข้าแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งที่ผ่าน ๆ มา และรายชื่อประเทศที่จะขออนุมัติ IPhO advisory committee (International Physics Olympiad advisory committee) เพื่อเชิญเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ ทั้งนี้คาดว่าจะมีนักเรียนมาร่วมการแข่งขันจาก ๙๐ ประเทศ จำนวนประมาณ ๔๐๐ คน และมีอาจารย์ ผู้สังเกตการณ์ และผู้ติดตามประมาณ ๓๐๐ คน

การเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านวิชาการ สถานที่สำหรับการจัดการแข่งขัน การจัดทำโปสเตอร์และเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การแข่งขัน การเตรียมนิสิต นักศึกษาพี่เลี้ยงดูแลผู้มาร่วมการแข่งขัน การจัดทัศนศึกษาให้แก่ผู้มาร่วมการแข่งขัน การเตรียมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารในการแข่งขันและการเตรียมการประชาสัมพันธ์การแข่งขัน

ความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การจัดงานครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จำเป็นต้องขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น

- กรุงเทพมหานคร ในการเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองผู้เข้าร่วมการแข่งขันในฐานะเจ้าเมือง และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร

- ท่าอากาศยาน ในการอำนวยความสะดวกการรับ-ส่ง ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน

- การบินไทย ในการเป็นสายการบินหลักสำหรับการเดินทางของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน การประชาสัมพันธ์ และอนุเคราะห์ตั๋วโดยสารราคาพิเศษสำหรับประชาชน IPhO เลขานุการ IPhO และผู้แทนจากบางประเทศ

- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการเดินทางระหว่างการแข่งขัน การรักษาความปลอดภัย

- สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในการอำนวยความสะดวกตรวจตราวีซ่า

- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับทัศนศึกษา

- กระทรวงการต่างประเทศ ในการประชาสัมพันธ์เชิญชวนประเทศใหม่ๆ เข้าร่วมการแข่งขันฯ และการอำนวยความสะดวกด้านการตรวจตราวีซ่า

- บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ด้านอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารระหว่างกรรมการในการปฏิบัติงาน

- การไฟฟ้านครหลวง ในการสำรองไฟฟ้าสำหรับการประชุมและการแข่งขัน

สพฐ.วางจุดเน้นคุณภาพ นร.ปี 54 สร้างเด็กดี-เก่งอย่างเป็นรูปธรรม

วันนี้ (5 ต.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้วางยุทธศาสตร์ในการปฎิรูปการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จตามแนวคิดของที่ประชุมองค์กรหลักกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ต้องการให้ปีการศึกษา 2554 เป็นปีแห่งการเน้นการจัดการเรื่องคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้ การกำหนดจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1.การขับเคลื่อนการใช้หลักสูตร 2.การจัดกระบวนการเรียนรู้ และ 3.การวัดและประเมินผล ซึ่งการประเมินนั้นนอกจากจะมีการประเมินตามมาตรฐานของหลักสูตรแล้ว จะต้องมีการประเมินที่สะท้อนนโยบายที่เป็นจุดเน้นด้วย โดยจะมีการประเมินความดีและความเก่ง เพราะเด็กไทยในอนาคตจะต้องมีคุณลักษณะที่ดีและเก่ง และทั้งสองเรื่องจะเป็นสิ่งที่จับต้องได้และเป็นรูปธรรม

นายชินภัทร กล่าวอีกว่า ส่วนจุดเน้นของการวัดและประเมินผลนั้นจะมีการประสานงานกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เพื่อนำคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET มาใช้ร่วมกับการวัด และประเมินด้วยหรือไม่นั้น คงต้องหารือร่วมกัน เพราะเรื่องของความดีคงจะวัดเรื่องของการสอบข้อเขียนไม่ได้ ซึ่ง สพฐ.ต้องวางระบบเรื่องการประเมินความดีของนักเรียน เช่น จัดทำสมุดสะสมความดี โดยมอบหมายสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียนไปประสานงานต่อร่วมกับสำนักวิชาการ และเมื่อทำระบบตรงนี้ชัดเจนแล้ว จะไปขยายผลในส่วนของโครงการเด็กดีมีที่เรียนด้วย โดยประสานกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อทำให้นักเรียนที่มีสมุดสะสมความดีที่ดีเยี่ยม

ไม่มีความคิดเห็น: