วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA ปี ๒๕๕๒


รมว.ศธ. กล่าวว่าการประเมินในปี ๒๕๕๒ ของ PISA เป็นการประเมินผลครั้งที่ ๔ จาก ๖๕ ประเทศ โดยประเมินใน ๓ ด้าน ได้แก่ การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

ผลการประเมินการอ่าน จีน มีคะแนนเฉลี่ยอันดับ ๑ ได้ ๕๕๖คะแนน รองลงมาคือ เกาหลีและฟินแลนด์ ส่วนฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น มีคะแนนอยู่ในกลุ่มTop Ten นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ย ๔๒๑ อยู่ในตำแหน่งที่ ๔๗-๕๑ จาก ๖๕ ประเทศ และพบว่านักเรียนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีทักษะการอ่านสูงกว่าทุกภาค โดยเฉพาะโรงเรียนสาธิต

สำหรับผลการประเมินคณิตศาสตร์ จีนมีคะแนนสูงสุด ๖๐๐ คะแนน รองลงมา คือ สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลี ไทเป ส่วนฟินแลนด์ ญี่ปุ่น อยู่ในกลุ่มTop Ten นักเรียนไทยอยู่ในกลุ่ม ๔๘-๕๒ จาก ๖๕ ประเทศ มีคะแนน ๔๙๖ คะแนน นักเรียนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเรียนรู้คณิตศาสตร์สูงกว่าภาคอื่นๆ โดยโรงเรียนสาธิตมีคะแนนเทียบเท่ามาตรฐานนานาชาติ

ส่วนผลการประเมินวิทยาศาสตร์
จีนมีคะแนนสูงสุด ๕๗๕ คะแนน รองลงมาคือ ฟินแลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี นักเรียนไทยอยู่ในตำแหน่ง ๔๗-๔๙ จาก ๖๕ ประเทศ คะแนน ๔๒๕ คะแนน โรงเรียนสาธิตมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเทียบเท่ากับมาตรฐานนานาชาติ

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ที่ สสวท. ได้วิเคราะห์จากตัวแปรต่างๆ ได้แก่ การขาดแคลนครูที่มีคุณวุฒิ ไทยขาดแคลนครูเพิ่มทุกวิชา การกวดวิชานอกโรงเรียนได้ส่งผลทางลบต่อคุณภาพการเรียนรู้ ทำให้การคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มีคะแนนลดลง และการใช้ ICT ที่ไม่ส่งเสริมการเรียนรู้ นักเรียนที่ใช้ ICT มากที่สุดไม่ได้มีคะแนนสูงอย่างที่คาดไว้ ส่วนตัวแปรที่ส่งผลทางบวกก็คือ โรงเรียนที่มีทรัพยากรที่มีคุณภาพ มีห้องวิทยาศาสตร์ ห้องสมุด มีครูที่พร้อม มีผลต่อคะแนนสูงขึ้น รวมถึงโรงเรียนที่มีอำนาจอิสระด้านการเงิน บริหารจัดการ ทำให้นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้น นอกจากนี้การสนับสนุนกลุ่มโรงเรียนที่อ่อน หรือกลุ่มโรงเรียนที่ค่อนข้างจะไปทางอ่อน ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของประเทศ การสนับสนุนทรัพยากรแก่นักเรียนทุกคน ที่เท่าเทียมกันก็อาจไม่ใช่คำตอบทั้งหมด

สำหรับการยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้ การเรียนการสอน ต้องมีความพยายามให้นักเรียนได้รู้เรื่องวิชานั้นๆ และให้มีความเข้มงวดในคุณภาพการผลิตครู การทุ่มเทของพ่อแม่ต่อการศึกษาของลูก ซึ่ง รมว.ศธ.ได้มอบให้ผู้บริหารองค์กรหลักนำผลการประเมินของ PISA ไปดำเนินการให้เกิดผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดในการพัฒนา เพื่อมุ่งเน้นประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน ให้นำตัวเลขไปทบทวน โดยให้องค์กรหลักและผู้ตรวจราชการกระทรวงดูแลในเรื่องเป้าหมายคุณภาพของผู้เรียนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: