วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

สังคมรักการอ่าน กลไกใฝ่รู้ตลอดชีวิต

การอ่านมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน มีส่วนในการพัฒนาการศึกษา เพราะเมื่อ 'อ่านมาก ก็รู้มาก'ยืนยันจากผลสำรวจของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (ทีเคปาร์ค) เรื่องการอ่านของคนไทย พบว่าเด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างในการอ่านมากที่สุด

ปัจจุบันกระแส 'รักการอ่าน' เริ่มเพิ่มมากขึ้น เพราะหลายฝ่ายให้ความสำคัญ เพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรมในการอ่านให้ยั่งยืนนำไปสู่การเรียนรู้และพัฒนา โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองนี้
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงศึกษาธิการสุขภาพ (สสส.) กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) โครงการมหานครแห่งการอ่านBangkok Read For Life กรุงเทพมหานครจัดสัมมนาวิชาการ 'หนังสือ สื่ออ่าน และการอ่าน กลไก และเครื่องมือปฏิรูประบบการเรียนการสอนในสถานศึกษา เพื่อความสุข ความใฝ่รู้ ตลอดชีวิต'

น.พ.ประเวศ วะสี ประธานมูลนิธิเด็กให้ข้อเสนอแนะว่า การจะผลักดันการอ่านให้เป็นวาระแห่งชาติให้สำเร็จต้องมีกลุ่มทำงานยุทธศาสตร์มาผลักดันเรื่องนี้ และมี 5 เรื่องหลักที่ต้องทำ คือ1.การตัดวงจรชั่วร้าย เนื่องจากหนังสือดีในปัจจุบันขายได้แค่ไม่กี่พันเล่ม ทำให้คนเขียน คนแปลหนังสือดีมีน้อย ตรงจุดนี้จะต้องอาศัยรัฐบาลมาช่วยตัดวงจรด้วยการส่งเสริมสนับสนุนการผลิตหนังสือดีให้มากขึ้น โดยต้องมีกองทุนขึ้นมาสนับสนุนการผลิต2.ส่งเสริมให้เกิดชมรมรักการอ่านทุกหมู่บ้าน มีห้องสมุดทุกหมู่บ้านประมาณ 80,000 แห่ง ทั่วประเทศ

น.พ.ประเวศ บอกต่อว่า 3.ทุกโรงเรียนมีหลักสูตรการอ่านอยู่แล้วจึงควรแจกการบ้านให้เด็กไปอ่านหนังสือมา เช่น อ่านนวนิยาย เพื่อให้รู้สึกสนุกกับการอ่าน ไม่เคร่งเครียดกับวิชาการเท่านั้น 4.ใช้การสื่อสารมาส่งเสริมการอ่านทุกชนิด และ 5.ประกวดการอ่านทุกระดับ เช่น ระดับหมู่บ้าน ตำบล เป็นต้น

"สำคัญควรจะต้องมีคณะกรรมการที่มากำหนดยุทธศาสตร์เรื่องการอ่านอย่างจริงจัง และตั้งเป้าว่า ต้องผลักดันให้เกิดความสำเร็จภายในกี่ปี เชื่อว่าหากเราสร้างวัฒนธรรมการอ่านได้ประเทศชาติก็จะดีขึ้น แต่หากไม่มีวัฒนธรรมการอ่านแล้วประเทศชาติก็จะแย่ไปด้วย" ประธานมูลนิธิเด็ก กล่าวาน ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ผอ.สำนักรณรงค์สื่อสารสังคมด้สสส. กล่าวว่า การผลักดันให้สังคมแห่งการอ่านเป็นวิถีชีวิตของคนไทย ต้องทำงานร่วมกันหลายส่วน ที่ผ่านมา สสส.เน้น 2 ส่วน คือ
1.สร้างอุปทาน (Supply) คือ มีหนังสือดีเหมาะสมกับเด็ก โดย สสส.ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานเกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนสนับสนุนให้เกิดการผลิตหนังสือดีราคาถูก มีช่องทางกระจาย อาทิ ศูนย์เรียนรู้ระดับตำบลทั่วประเทศ รวมทั้งมีกลไกคัดเลือกหนังสือ กลไกพัฒนาองค์ความรู้ผู้ผลิต ผู้เขียนหนังสือสำหรับเด็ก ขณะเดียว กันต้องมีกลไกควบคุมดูแลให้หนังสือมีราคาถูก
2.เกิดอุปสงค์ (Demand) หรือความต้องการในการอ่านหนังสือดี โดยส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายส่งเสริมการอ่านตั้งแต่ระดับตำบลจนถึงระดับประเทศ สสส.เข้าไปสนับสนุนกระบวนการภาคสังคม ที่ช่วยสร้างกระแสรณรงค์ให้เกิดนวัตกรรม ส่งเสริมให้คนอยากอ่านหนังสือมากขึ้น อาทิ ตะกร้าแลกอ่าน อาสาสมัครรักการอ่านประจำตำบล

"ขณะนี้ กระแสความร่วมมือการสร้างวัฒนธรรมการอ่านเป็นไปในระดับดีขึ้น เพราะทุกฝ่ายเห็นความสำคัญที่จะร่วมกันผลักดัน ซึ่งจากสถานการณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กไทยในด้านต่างๆ จะเป็นตัวกระตุ้นสำคัญให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญยิ่งขึ้นและมองเห็นภาพการทำงานที่ต้องเชื่อมโยงกับภาคส่วนต่างๆ เพราะการอ่านเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนากระบวนการคิด และภูมิปัญญาของเด็กไทย"

การสร้างวัฒนธรรมในการอ่านต้องเริ่มจากบ้านและโรงเรียน แต่สิ่งสำคัญต้องมีหนังสือที่ดีให้กับเด็กด้วย
น.ส.สุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนน.งานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านมองว่า หนังสือน่าอ่าน หรือหนังสือดีสำหรับเด็กในโรงเรียนยังมีอยู่น้อย ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสังคมแห่งการเรียนรู้เห็นว่า หากไม่ปรับหนังสือในโรงเรียน โอกาสที่จะทำให้เด็กรักการอ่านก็ยากมาก ที่ผ่านมาสสส.เข้าไปส่งเสริมเรื่องนี้แก่เด็กเล็กโดยมีชุด 108 หนังสือดี ออกมาเพื่อสร้างฐานรากการอ่านตั้งแต่เด็กๆ และควรต้องรุกคืบต่อสำหรับเด็กในโรงเรียน จะทำอย่างไรให้โรงเรียน เห็นความสำคัญ จึงเป็นที่มาของการจัดงานที่จะให้ภาคีต่างๆเข้ามาร่วมกันคิดเพื่อผลักดันเรื่องนี้

"ทุกวันนี้โรงเรียนส่วนใหญ่มีหนังสือแบบเรียนให้เด็กเรียน แต่เป็นเรื่องกฎเกณฑ์วิชาการ ซึ่งก็เป็นหนังสือที่ดี แต่อีกส่วนหนึ่งควรให้ความรื่นรมย์แก่เด็กจากการอ่านเช่น หนังสือการ์ตูน สารคดี เป็นต้น ดังนั้นเราจะทำอย่างไรให้หนังสือเหล่านี้เข้าไปในโรงเรียนมากขึ้น และจะทำอย่างไรให้เด็กอ่านอย่างมีความสุข และทำให้การอ่านเป็นเรื่องสนุก" น.ส.สุดใจ กล่าว
ขณะที่ นางทิพย์สุดา สุเมธเสนีย์ผอ.สำนักนโยบายด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตและโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) บอกว่าสกศ.ทำการศึกษาการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยการนำแบบอย่างในเรื่องการวิจัยมาจากประเทศญี่ปุ่น พบว่าการอ่านของเด็กๆ มีความสำคัญมาก และผลการวิจัยทดลองก็ค่อนข้างได้ผลดีในช่วงการทำวิจัย 6-7 ปีที่ผ่านมา แต่ปัญหาที่พบคือไม่มีหนังสือให้เด็กอ่าน โดยเฉพาะเด็ก 1 ถึง 2 ขวบ และพ่อแม่ก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมต้องหาหนังสือให้เด็กอ่านด้วย ในที่สุดก็ได้นำเรื่องเหล่านี้มาทำเป็นนโยบายหนังสือเล่มแรกเพื่อส่งเสริมการอ่าน และขอให้วันที่ 2 เม.ย. เป็นวันหนังสือเด็กแห่งชาติ
สิ่งสำคัญต้องทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และสังคมแห่งการอ่าน

ที่มา -นสพ.ข่าวสด โดย ณัฐพงษ์ บุณยพรหม

ไม่มีความคิดเห็น: