วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การศึกษาไทยไม่พร้อมรับเสรีอาเซียน

"สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ออกแบบสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศว่าคิดอย่างไรกับการเปิดเสรีทางการศึกษาอาเซียน เนื่องด้วยในวันที่ 8 ส.ค. กระทรวงศึกษาธิการจะจัดกิจกรรมวันอาเซียน โดยสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ครู/อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา จำนวน 1,218 คน ระหว่างวันที่ 1-4 สิงหาคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้

การรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการศึกษาอาเซียน ในปี 2558 พบว่า ในภาพรวมร้อยละ 49.25 รับรู้จากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ นสพ. อินเทอร์เน็ต ขณะที่ร้อยละ 14.01 บอกว่าไม่รู้ เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องฯ เมื่อถามว่า สภาพการศึกษาไทยในปัจ จุบันมีความพร้อมที่จะเข้าสู่การเปิดเสรีทางการศึกษาอาเซียนมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 51.37 เห็นว่าไม่ค่อยพร้อม เพราะยังมีปัญหาด้านการศึกษาหลายเรื่องที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขหรือกำลังจะพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น ร้อยละ 20.42 บอก ว่าไม่พร้อม เพราะการศึกษาของ ไทยยังไม่มีคุณภาพ หรือได้มาตร ฐานเท่าที่ควร การปฏิรูปการศึกษาที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ฯลฯ ขณะที่ร้อยละ 10.69 ระบุว่าพร้อม เพราะ คุณภาพการศึกษาของไทยสามารถพัฒนาสู่ความเป็นสากล

ด้านนายอภิชาติ จีระวุฒิ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงผลโพลดังกล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับผลสำรวจ ซึ่งอันที่จริงน่าจะเกิน 51.37% ด้วยซ้ำ เนื่องจาก รร.ในประเทศไทยยังขาดความพร้อมทั้งตัวครู กระบวนการการ เรียนการสอน หรือนักเรียน ส่วนทีมบริหารที่อยู่เหนือกว่านั้น สามารถ ปรับตัวได้เพราะมีคนจำนวนไม่มาก ขณะนี้ถ้าลองให้ครูอธิบายเรื่อง เปิดเสรีทางการศึกษาอาเซียน ถ้าครูคนไหนตอบได้ถือว่าสุดยอด ส่วนเด็กไทยเวลาเข้าเรียนน้อย คนที่จะดูว่าตลาดแรงงานต้องการอะไร ส่วนใหญ่จะแห่ไปเรียนตามเพื่อน สุดท้ายก็ตกงานยกทีม

"ครูแนะแนวในเมืองไทยขณะนี้มีไม่พอกับจำนวนเด็ก ที่สำคัญ เด็กก็ไม่เชื่อครู ไม่เชื่อพ่อแม่ ยกตัว อย่างประมาณ 10 ปีที่แล้ว สาขา ที่คนบ้าเรียนมากที่สุดคือ นิเทศศาสตร์ มาปัจจุบันเปลี่ยนเป็นนิติศาสตร์ เรียกได้ว่าเปิดที่ไหนเต็มหมด ไม่สอด คล้องกับภาคแรงงานที่ต้องการคนที่เป็นช่างมากกว่า หรืออย่างเมื่อก่อน วิตกกังวลว่าผลิตครูจะไม่พอความต้องการ จึงผลิตกันใหญ่ เรียนปริญ ญาตรี 4 ปี ต่อยอด ปวค. 1 ปี ตอนนี้ครูล้นตลาด ถามว่า ปวค. 1 ปีตามข้อเท็จจริงสอนได้หรือไม่ ผมไม่เห็นมีใครออกมารับรอง มีแต่เงียบกริบอย่างเดียว" นายอภิชาติกล่าวพร้อมระบุว่า รร.ต้องมีกระบวนการแนะแนวที่เข้มข้นขึ้น โดยจำเป็นต้องเริ่มแนะ แนวเด็กตั้งแต่ระดับ ม.3 เด็กระดับนี้ต้องเลือกได้แล้วว่าจะไปสายอาชีพหรือสายสามัญ เพราะตนมั่นใจว่าปัจจุบันให้น้ำหนักไปที่ระดับ ม.5-ม.6 ซึ่งไม่ทันการณ์.

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

ไม่มีความคิดเห็น: