วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

มติ ครม. ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

เห็นชอบปรับค่าใช้จ่ายต่อหัวในการจัดการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ครม.อนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 (ฝ่ายสังคม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เป็นประธานกรรมการ ที่อนุมัติตามความเห็นของผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ที่ให้ปรับค่าใช้จ่ายต่อหัวในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เท่ากับการจัดการศึกษาในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้



ส่วนงบประมาณในการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ให้ ศธ.เจียดจ่ายจากงบประมาณ พ.ศ.2555 ที่จะได้รับจัดสรรดำเนินการไปก่อน ส่วนงบประมาณ พ.ศ.2556 สำนักงบประมาณจะจัดสรรให้ ศธ.ตามอัตราดังกล่าวต่อไป

แต่งตั้งข้าราชการ 2 ราย ครม.อนุมัติตามที่ ศธ.เสนอแต่งตั้งดังนี้
นางอรทัย มูลคำ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2554 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

ว่าที่ร้อยตรี มังกร หริรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2554 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป และให้พ้นจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เนื่องจากครบเกษียณอายุราชการต่อไป

รับทราบรายงานผลโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย
ครม.รับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติ ครม. เรื่อง โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รายงานผลการดำเนินโครงการในช่วงเดือนเมษายน–กันยายน 2554 สรุปได้ดังนี้

สนับสนุนนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ของโครงการจำนวน 4 รุ่น (ปีการศึกษา 2551 – 2554) รวม 16 ห้องเรียน ใน 7 โรงเรียน ได้แก่ 1) โรงเรียนที่เป็นมหาวิทยาลัย กับโรงเรียนนำร่อง 4 แห่ง โรงเรียนละ 3 ห้อง คือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ในการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ในการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, โรงเรียน มอ. วิทยานุสรณ์ ในการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 2) โรงเรียน กับมหาวิทยาลัยที่ขยายเพิ่ม 3 แห่ง คือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 2 ห้องเรียน, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 1 ห้องเรียน, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 1 ห้องเรียน

การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนห้องเรียนวิทยาศาสตร์โครงการ วมว. ประจำปีการศึกษา 2554 ของมหาวิทยาลัยโครงการ วมว. ทั้ง 7 แห่ง ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันตามบริบทและศักยภาพของแต่ละมหาวิทยาลัย แต่อยู่ภายใต้โครงสร้างหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับโรงเรียนมาโดยตลอด

การติดตามและประเมินผล ได้มีการประเมินผลโครงการ วมว. เมื่อสิ้นปีที่ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 ซึ่งได้จัดจ้างสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่ปรึกษา ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายงานฉบับสมบูรณ์

ในการดำเนินการดังกล่าว ได้ใช้งบประมาณจากการบริหารโครงการ วมว. ประจำปี พ.ศ.2554 จำนวนทั้งสิ้น 96,822,311.29 บาท และได้กันเงินเหลื่อมปี จำนวน 2,642,383.37 บาท เพื่อใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการสืบเนื่องในปี 2555 ต่อไป


ที่มา ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี

ไม่มีความคิดเห็น: