วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ผลการประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕

รมว.ศธ. กล่าวว่า เนื่องจากมีคนจำนวนมากที่เข้าสู่ตำแหน่งนี้ และมีการร้องเรียนถึงการเรียกรับเงินของคณะกรรมการต่างๆ เพื่อแลกกับตำแหน่ง จึงจำเป็นต้องจัดการให้เกิดความโปร่งใส ไม่ให้มีการคอรัปชันทั้งในการสอบ การเลื่อนวิทยฐานะ และการเลื่อนเงินเดือน โดยหลักเกณฑ์การสอบเดิมจะให้ผู้สมัครสอบในภาค ก. และภาค ข. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอบภาค ข. ซึ่งเป็นการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง มีคะแนนสูงถึง ๒๐๐ คะแนน เท่ากับภาค ก. แต่การสอบภาค ข.อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา หากใครวิ่งเต้นจ่ายเงินก็จะได้คะแนนที่สูง แต่วันนี้ ศธ.มีเป้าหมายจะลดการใช้ดุลยพินิจในการประเมินลง เพราะข้อร้องเรียนจำนวนมาก ซึ่งมาจากการวิ่งเต้นเข้าหากรรมการในการสอบหรือการประเมิน ดังนั้น ที่ประชุมจึงเห็นชอบที่จะให้มีการสอบเฉพาะภาค ก. ซึ่งเป็นข้อสอบแบบปรนัย โดยจะให้สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับเป็นผู้ออกข้อสอบและจัดสอบ โดยจะแสดงผลการสอบอย่างโปร่งใสทางคอมพิวเตอร์ ผู้เข้าสอบสามารถขอดูคะแนนได้ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) และเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (เลขาธิการ ก.ค.ศ.) ร่างระเบียบกฎเกณฑ์ เพื่อนำมาเสนอในการประชุมครั้งต่อไป ในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลักเกณฑ์นี้จะมีข้อจำกัดสำหรับคนทำงานเก่งๆ อาจจะได้คะแนนน้อยกว่าคนที่ท่องหนังสือเก่ง ก็ถือเป็นข้อท้วงติงหนึ่ง เพราะกรรมการบางท่านก็ต้องการให้คะแนนสำหรับผู้บริหารมาแล้วสูงขึ้น แต่การปรับปรุงวิธีการสอบนี้มีเป้าหมายที่จะขจัดปัญหาคอรัปชันในวงการศึกษา ไม่ต้องการให้ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษากว่า ๘ แสนคน ต้องวิ่งเต้น จ่ายเงิน หรือมีผู้เรียกรับเงินจากครู ซึ่งจะเป็นการช่วยลดรายจ่าย ลดหนี้สิน สามารถให้ทุกคนเข้าสู่ตำแหน่งด้วยความยุติธรรม ไม่เสียเงินทองวิ่งเต้นอีกต่อไป นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า การปรับปรุงการสอบดังกล่าว มีนัยยะการสอบภาค ก. ที่จะพยายามขจัดการเรียกรับผลประโยชน์และการวิ่งเต้น ซึ่ง สพฐ.จะไปจัดทำหลักเกณฑ์ใหม่ ให้เน้นข้อสอบเป็นปรนัย ให้คนมีประสบการณ์มาใช้ประโยชน์ในการสอบ โดยสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงจะเป็นผู้ออกข้อสอบ แต่เมื่อ สพฐ. ได้ประกาศปฏิทินการสอบไปแล้ว โดยกำหนดรับสมัครในระหว่างวันที่ ๓๑ มกราคม-๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติให้เลื่อนการรับสมัครไปก่อน จนกว่าหลักเกณฑ์ใหม่จะแล้วเสร็จ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติตั้งอนุกรรมการชุดต่างๆ ดังนี้ - ผู้แทน ก.ค.ศ.ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแทนตำแหน่งที่ว่าง ๑) นางนภาพร เรืองทวีป เป็นผู้แทน ก.ค.ศ. ใน อ.ก.ค.ศ. ยะลา เขต ๓ ๒) นายสาโรจน์ หนูชัยแก้ว เป็นผู้แทน ก.ค.ศ. ใน อ.ก.ค.ศ. ปัตตานี เขต ๓ ๓) นายจรินทร์ สุวรรณมณี เป็นผู้แทน ก.ค.ศ.ใน อ.ก.ค.ศ. นราธิวาส เขต ๓ ๔) นายสุวิทย์ พิทักษ์ เป็นผู้แทน ก.ค.ศ. ใน อ.ก.ค.ศ. ขอนแก่น เขต ๒ ๕) นายวิชัย ลือพันธ์ เป็นผู้แทน ก.ค.ศ. ใน อ.ก.ค.ศ. ลำพูน เขต ๒ - อนุกรรมการผู้แทนคุรุสภา ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑) นายณรงค์ ศรีละมุล เป็นผู้แทนคุรุสภา ใน อ.ก.ค.ศ. ยะลา เขต ๓ ๒) นายเสริม สิทธิพันธ์ เป็นผู้แทนคุรุสภา ใน อ.ก.ค.ศ. ปัตตานี เขต ๓ ๓) นางสุดสาย บุญช่วย เป็นผู้แทนคุรุสภา ใน อ.ก.ค.ศ. นราธิวาส เขต ๓ ๔) นายสุปรนิช อุดมเพ็ญ เป็นผู้แทนคุรุสภา ใน อ.ก.ค.ศ. ศึกษาบึงกาฬ ๕) นายวุฒิชัย โพธิ์ทอง เป็นผู้แทนคุรุสภา ใน อ.ก.ค.ศ. บุรีรัมย์ เขต ๑ ๖) นายสมคิด มานะคิด เป็นผู้แทนคุรุสภา ใน อ.ก.ค.ศ. ปราจีนบุรี เขต ๒ - อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑) นายเฉลิม ลาภิวงศ์ เป็นอนุกรรมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษา ใน อ.ก.ค.ศ. เชียงใหม่ เขต ๓ ๒) นายพินิษฐา บุญจริง เป็นอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครู ใน อ.ก.ค.ศ. ปทุมธานี เขต ๒ ๓) นายเสนอ ยาทิพย์ เป็นอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครู ใน อ.ก.ค.ศ. กาญจนบุรี เขต ๑ ๔) นายอเนก จาดดำ เป็นอนุกรรมการผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น ใน อ.ก.ค.ศ. กำแพงเพชร เขต ๒ ๕) นายอนุชา กัลยา เป็นอนุกรรมการผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น ใน อ.ก.ค.ศ.อุบลราชธานี เขต ๑ ๖) นายสมพร เชื้อพันธ์ เป็นอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครู ใน อ.ก.ค.ศ. สพม. ๓ ๗) ว่าที่ ร.ต. พัฒนพช วิมาโน เป็นอนุกรรมกรรมการผู้แทนข้าราชการครู ใน อ.ก.ค.ศ. สพม.๔ ๘) นายวิสุทธิ์ กล้าหาญ เป็นอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครู ใน อ.ก.ค.ศ. เขสพม. ๑๘ ๙) นางสาวสุดใจ บุตรอากาศ เป็นอนุกรรมการผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น ใน อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี

ไม่มีความคิดเห็น: