วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มติ ครม. เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๕

ครม.อนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัด ศธ. ตามที่ ศธ.ได้เสนอให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการและสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
๑. นายศุภกร วงศ์ปราชญ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
๒. นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
๓. นายพินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
๔. นางสาวจิรพรรณ ปุณเกษม รองเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
๕. นายพิษณุ ตุลสุข รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
๖. นายกิตติรัตน์ มังคละคีรี ที่ปรึกษาด้านระบบการศึกษา (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
๗. นายกมล ศิริบรรณ รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
๘. นายธวัช ชลารักษ์ รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
๙. นายโรจนะ กฤษเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
๑๐. นายวัชรินทร์ จำปี รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
๑๑. นางรัตนา ศรีเหรัญ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง
๑๒. นางสาวจุไรรัตน์ แสงบุญนำ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
๑๓. นางสุทธศรี วงษ์สมาน ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
๑๔. นายกมล รอดคล้าย ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑๕. นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

คอลัมน์: สถานี ก.ค.ศ.: การให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือน (1)
ศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการ ก.ค.ศ.
          สถานี ก.ค.ศ. ฉบับนี้จะได้พูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกรณีของครูผู้ช่วยที่บรรจุด้วยคุณวุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ ขั้น 7,940 บาท เมื่อผ่านการ เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มแล้ว จะสั่งให้ได้รับเงินเดือนในขั้นใด
           ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา ครูผู้ช่วยที่ผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มแล้ว จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู ได้รับเงินเดือนในอันดับ คศ. 1 ขั้น 10,770 บาท ตามบัญชีแนบท้ายกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ.2553 แต่ต่อมาได้มีการปรับเงินเดือนใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2554 โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 ประกอบกับเงินเดือนขั้น 10,770 บาท ไม่มีในบัญชีเงินเดือนชั่วคราวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแนบท้ายหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ด่วนที่สุดที่ ศธ 0206.7/ว 7
           ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2554 ทำให้เกิดปัญหาในการออกคำสั่งให้ได้รับเงินเดือนของผู้ผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ก.ค.ศ. พิจารณากรณีดังกล่าวแล้ว จึงมีมติให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ไปรับเงินเดือนในขั้น 10,770 บาทไปพลางก่อน และให้ใช้เงินเดือนในขั้น 11,000 บาท เป็นฐานสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือน
          ดังตัวอย่างเช่นนาย ก. บรรจุตำแหน่งครูผู้ช่วย เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2552 ได้รับเงินเดือนอันดับครูผู้ช่วย ขั้น 7,940 บาท เมื่อผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มแล้ว ในวันที่ 2 เมษายน 2554 ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู รับเงินเดือนในขั้น 10,770 บาท ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม 2554 หากนาย ก.ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน จำนวน 0.5 ขั้น ก็ให้ใช้เงินเดือนในขั้น 11,000 บาทเป็นฐานสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้เลื่อนไปได้รับเงินเดือนในขั้น 11,310 บาท เป็นต้น
          เพื่อความถูกต้อง ชัดเจนในทางปฏิบัติ สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้ทำหนังสือหารือในประเด็นดังกล่าวข้างต้นไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว หากผลการพิจารณาเป็นประการใด สำนักงาน ก.ค.ศ. จะแจ้งให้ส่วนราชการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบและถือปฏิบัติในโอกาสต่อไป นอกจากนี้แล้ว ยังมีประเด็นเกี่ยวกับการให้ได้รับเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอีกหลายประการ ซึ่งจะทยอยนำมาชี้แจงบอกกล่าวให้เพื่อนครูได้รับทราบในโอกาสต่อไป คอยติดตามนะคะ

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน


มส.ประกาศใช้กฎหมายรร.ปริยัติธรรมฉบับใหม่ มีอำนาจยุบสถานศึกษาไร้คุณภาพ หวังยกระดับการศึกษาสงฆ์
         เมื่อวันที่ 8 ต.ค.พระราชวรมุนี กรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เปิดเผยว่า จากการประชุมกลั่นกรองร่างประกาศคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยมีสมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ในฐานะคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เป็นประธาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อเร็วๆ นี้
         ที่ประชุมได้ผ่านความเห็นชอบและประกาศใช้ประกาศคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ.2555 แล้ว จำนวน 6 ฉบับ
         ประกอบด้วย 1.ประกาศคณะกรรมการฯว่าด้วยกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2.ประกาศคณะกรรมการฯว่าด้วยพนักงานศาสนการด้านการศึกษา ว่า 3.ประกาศคณะกรรมการฯว่าด้วยขนาดของโรงเรียน กรอบอัตรากำลังพนักงานศาสนการด้านการศึกษา 4.ประกาศคณะกรรมการฯว่าด้วยคณะกรรมการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 5.คณะกรรมการการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ 6.ประกาศคณะกรรมการฯว่าด้วยระบบการประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ซึ่งประกาศดังกล่าวมีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
          "การออกประกาศดังกล่าวไปจะทำให้ การพัฒนาระบบการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษามีทิศทางที่แน่นอน เพราะโรงเรียนแต่ละแห่งจะมีคณะกรรมการโรงเรียนที่จะรับนโยบายจาก คณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรมฯมาสู่การปฏิบัติ โดยคณะกรรมการทั้งหมดอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของมหาเถรสมาคม (มส.) และหลังจากนี้ไป โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จะมีระบบประกันคุณภาพการศึกษา หากต่อไปไม่มีการพัฒนาไม่ผ่านการประเมินอย่างต่อเนื่องคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรมฯจะเสนอให้มหาเถรสมาคม พิจารณาว่าจะให้ปรับปรุงหรือยุบโรงเรียนนั้นๆหรือไม่ด้วย ส่วนพนักงานศาสนการด้านการศึกษา ซึ่งหมายถึง ครู และบุคลากรทางการศึกษา จะได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยได้รับค่าตอบแทนรายเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน รวมทั้งจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางกฎหมาย เช่น ประกันสังคม เป็นต้น”กรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรมฯกล่าว

ที่มา : นสพ.เดลินิวส์

ไม่มีความคิดเห็น: