วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ครู'ไม่จบป.ตรีกว่า 2 หมื่นราย

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยกรณีนาย สมพงษ์ จิตระดับ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าจำนวนนักเรียนที่ออกกลางคันมีแนวโน้มสูงขึ้น จากการรวบ รวมข้อมูลการลงภาคสนาม และเอกสารของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงาน ส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ซึ่งแตกต่างจากเอกสารสถิติข้อมูลปีการศึกษา 2555 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่สำรวจว่ามีจำนวนลดลง ว่า เรื่องนี้ต้องตรวจสอบให้แน่ ชัด เพราะ สพฐ.มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ ทำมานาน และจะดูตามจำนวนนักเรียนในแต่ ละปีการศึกษาเปรียบเทียบกับนักเรียนที่เข้าเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 และเลื่อนชั้น ขึ้นไปเรื่อยๆ สิ่งนี้คือที่มาของตัวเลขออกกลาง คัน ซึ่งในอดีตการออกกลางคันเคยอยู่ที่ประมาณ 2% ของนักเรียนในสังกัดโรงเรียน สพฐ.ประมาณ 6-7 ล้านคน แต่ได้ลดจำนวนลงมาเรื่อยๆ เพราะ สพฐ.มีระบบการอุดหนุนนักเรียนเหล่านี้ให้ได้เรียนต่อ จนล่าสุดการออกลางคันอยู่ที่ 0.44% เท่านั้น
"ฉะนั้นผมคิดว่าตัวเลขดังกล่าวสะท้อนความเป็นจริงของการออกกลางคันได้ ส่วนที่นักวิชาการคิดว่าตัวเลขน่าจะมากกว่านี้ น่าจะระบุว่าเป็นพื้นที่ใด เพราะอาจเป็นไปได้ว่าบางพื้นที่มีการออกกลางคันมาก เช่น พื้นที่ที่มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน พื้นที่ในเมืองใหญ่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผมยืนยันว่าจำนวนการออกลางคันของนักเรียนไม่น่าจะหลายแสนคนตามข้อมูลที่นักวิชาการออกมาระบุ" นายชินภัทรกล่าว

นายชินภัทรกล่าวอีกว่า ส่วนความคืบหน้า ในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คน ประมาณ 1.4 หมื่นแห่งนั้น สพฐ.ยังใช้โรงเรียนดีประจำตำบลเพื่อเคลื่อน ย้ายนักเรียนมาเรียนด้วยกัน โดยให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาไปดูแล และ สพฐ.กำลังเสนอ แผนในการสนับสนุนการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยจะเสนอขออนุมัติงบประมาณปี 2557-2558 ประมาณ 8,000 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อรถยนต์ ตู้รับส่งนักเรียนกลุ่มนี้ประมาณ 6,500 คัน เพื่อความสะดวก และปลอดภัยในการมาเรียนยังโรงเรียนดีประจำตำบล

แหล่งข่าวจาก สพฐ.คนหนึ่งกล่าวว่า จากเอกสารสถิติข้อมูลทางการศึกษาของ สพฐ. ปีการศึกษา 2555 นอกจากจะรายงานจำนวนนักเรียนที่ออกกลางคันแล้ว ยังรายงานข้อมูล ที่น่าสนใจ ได้แก่ จำนวนข้าราชการครูสายบริหาร และสายผู้สอนที่ปฏิบัติงานจริงในโรงเรียนสังกัด สพฐ.มีจำนวน 412,018 คน มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก 389 คน ปริญญาโท 65,314 คน ปริญญาตรี 326,186 คน และต่ำกว่าระดับปริญญาตรี 20,129 คน ส่วนจำนวนนักเรียนด้อยโอกาส มีจำนวน 4,323,142 คน อาทิ นักเรียนยากจน 4,144,783 คน เด็กถูกทอดทิ้ง 65,671 คน เด็กในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 289 คน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาล 3 ขวบ ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 208,296 คน ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 239,472 คน และน้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์ 559,141 คน

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน


                                    สพฐ.เร่งตั้งศูนย์อาเซียน

ดร.กมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทั้ง 225 เขต โดยเริ่มดำเนินการในเขตที่มีความพร้อมก่อนนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ สพฐ.ได้มีการหารือร่วมกันแล้วว่า ศูนย์ดังกล่าวจะทำหน้าที่หลายด้าน คือ เป็นทั้งศูนย์การเรียนรู้สำหรับนักเรียนในโรงเรียนและโรงเรียนเครือข่าย เป็นหน่วยจัดการศึกษาอาเซียนศึกษา และเป็นศูนย์จัดกิจกรรมเสริมภาษา กีฬา ศิลปวัฒนธรรม ค่ายเยาวชนร่วมกับประเทศอาเซียน

รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับรูปแบบของศูนย์อาเซียนศึกษาและแผนการดำเนินงานนั้น จะต้องมีกำหนดเวลาที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถตอบได้ว่าศูนย์ดังกล่าวจะจัดตั้งแล้วเสร็จเมื่อใด ขณะเดียวกันก็ต้องประเมินจำนวนผู้เข้ารับการบริการได้ ที่สำคัญศูนย์อาเซียนศึกษาที่จะจัดตั้งต้องมีสมรรถนะระดับอาเซียนเพื่อเป็นการประกาศความสำเร็จในเชิงรูปธรรมได้ โดยสมรรถนะระดับอาเซียนเบื้องต้นจะเน้นในเรื่องของภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้าน สมรรถนะด้านเทคโนโลยี สมรรถนะด้านความรู้เรื่องอาเซียนและกฎบัตรอาเซียน จากนั้นจะขยายเป็นสมรรถนะด้านอาชีพต่อไป.

--เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 8 ม.ค. 2556

ไม่มีความคิดเห็น: