วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

มติ ครม. ๒๙ มกราคม ๒๕๕๖


๑. อนุมัติการจัดทำหนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างไทยและฝรั่งเศส
ครม.มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้
๑) อนุมัติการจัดทำและลงนามหนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อความร่วมมือด้านการศึกษา ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ทั้งนี้ หากก่อนลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ให้ ศธ.หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้นๆ แทน ครม.โดยไม่ต้องนำเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาอีกครั้ง
๒) อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนาม ในหนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อความร่วมมือด้านการศึกษา
สาระสำคัญของเรื่อง  ตามที่ ครม.ได้มีมติวันที่  กรกฎาคม ๒๕๕๕ รัฐบาลของไทยและฝรั่งเศสได้ลงนามในความตกลงระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาและการวิจัย (Accord le Gouvernement du Royaume de Thailande et le Gouvernement de la Republicque francaise dans le domaine de la cooperation educative et de la recherch) เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างการเดินทางเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี โดยความตกลงดังกล่าวได้กำหนดให้ประเทศคู่ภาคีดำเนินกิจกรรมความร่วมมือในด้านการศึกษาและการวิจัย โดยมีโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสเป็นความร่วมมือรูปแบบหนึ่งภายใต้ความตกลงดังกล่าว
โครงการสอนภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทย เป็นโครงการที่นำนักศึกษาที่ศึกษาระดับปริญญาโทวิชาเอกด้านการสอนภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาต่างประเทศจากมหาวิทยาลัยต่างๆ มาเป็นอาสาสมัครช่วยสอนภาษาฝรั่งเศสในสถานศึกษาของไทย เป็นระยะเวลา ๗-๑๒ สัปดาห์ ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายน ซึ่งเป็นช่วงปิดภาคเรียนของฝรั่งเศส ซึ่ง ศธ.พิจารณาเห็นว่าเป็นโครงการที่มีสาระสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะภาษาฝรั่งเศสของครูและนักเรียน ตลอดจนเป็นการช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้เน้นแฟ้นยิ่งขึ้น
ศธ.จึงได้จัดทำหนังสือแสดงเจตจำนงดังกล่าว เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินโครงการสอนภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทย ทั้งนี้ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงดังกล่าว เป็นร่างหนังสือฯ ระหว่าง ศธ.กับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (หน่วยงานของรัฐ) และมีสาระสำคัญเป็นความร่วมมือทางการศึกษา จึงไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๙๐ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..๒๕๕๐

๒. แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภา
ครม.มีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภา จำนวน ๘ คน ตามที่ ศธ.เสนอ ดังนี้
. ศาสตราจารย์ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการ
. นายวรศักดิ์ แก่นมีผล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา
๓. นายเจริญ ไชยสมคุณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอาชีวศึกษา
๔. นายสุกิจ เดชโภชน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาพิเศษ 
๕. รองศาสตราจารย์สุขุม เฉลยทรัพย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านมนุษยศาสตร์
๖. นายนิวัตร นาคะเวช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์
๗. นายพลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๘. นายธีระพันธ์ พุทธิสวัสดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป

๓. แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ครม.มีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตามที่ รมว.ศธ.เสนอ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ดำเนินการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการอาชีวศึกษาขึ้นใหม่ แทนประธานกรรมการและกรรมการชุดเดิม ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ ดังนี้
) ประธานกรรมการ (เลือกจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ) คือ นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ประธานกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านธุรกิจและการบริการ และด้านอุตสาหกรรม
) กรรมการผู้แทนองค์กรวิชาชีพ ผู้แทนองค์กรเอกชน และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน  คน คือ
นายถาวร ชลัษเฐียร  กรรมการผู้แทนองค์กรเอกชน (สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
นายอรรถการ ตฤษณารังสี กรรมการผู้แทนองค์กรเอกชน (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย)
- พลตรีหญิง กฤติยา บัวหลวงงาม กรรมการผู้แทนองค์กรเอกชน (คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย)
- นายสุนทร ทองใส กรรมการผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รองศาสตราจารย์มงคล มงคลวงศ์โรจน์ กรรมการผู้แทนองค์กรวิชาชีพ
นายเกรียงไกร บุญเลิศอุทัย กรรมการผู้แทนองค์กรวิชาชีพ
) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน ๑๖ คน คือ
นายโกสินทร์ เกษทอง ด้านการบริหารการอาชีวศึกษา และด้านเศรษฐกิจและการพัฒนากำลังคน
นายจรูญ ชูลาภ ด้านการบริหารการอาชีวศึกษา และด้านอุตสาหกรรม
- นายเฉลิมศักดิ์ นามเชียงใต้ ด้านการบริหารการอาชีวศึกษา
- นายณัฐวุฒิ สกุลพานิช ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนากำลังคน
นายประสาน ประวัติรุ่งเรือง ด้านการบริหารการอาชีวศึกษาของเอกชน
นายเร็วจริง รัตนวิชา ด้านธุรกิจและการบริการ
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ ด้านอุตสาหกรรม
- นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ ด้านการบริหารการอาชีวศึกษา และด้านเกษตรกรรมและการประมง
นางศรินทร์ทิพย์ แทนธานี ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนากำลังคน
นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนากำลังคน และด้านคหกรรม
นางศิริพรรณ ชุมนุม ด้านการบริหารการอาชีวศึกษา และด้านศิลปหัตถกรรม
นายสมเกียรติ ชอบผล ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนากำลังคน และด้านการศึกษาพิเศษ
- นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์ ด้านอุตสาหกรรม และด้านเศรษฐกิจและการพัฒนากำลังคน
นายเสนอ จันทรา ด้านการบริหารการอาชีวศึกษา และด้านเศรษฐกิจและการพัฒนากำลังคน
- นายอินทร์ จันทร์เจริญ ด้านการบริหารการอาชีวศึกษาของเอกชน
นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ ด้านธุรกิจและการบริการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป

๔. รับทราบรายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๔
ครม.มีมติเห็นชอบรายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๔ และให้นำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
สาระสำคัญของรายงานการพัฒนาระบบราชการไทยประจำปี พ..๒๕๕๔
๑) ภาพรวมของระบบราชการ สรุปได้ดังนี้ หน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารมี ๔ ประเภท ได้แก่ ๑) ส่วนราชการ มีหน่วยงานในส่วนกลาง ๑๗๗หน่วยงาน ส่วนภูมิภาค ๙๕๔ หน่วยงาน และส่วนท้องถิ่น ๗,๘๕๓ หน่วยงาน ๒) รัฐวิสาหกิจ ๕๘ แห่ง ๓) องค์การมหาชน ๖๖ หน่วยงาน ๔) หน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ (หน่วยธุรการขององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ) ๘ แห่ง
- กำลังคนภาครัฐในฝ่ายพลเรือนทั้งข้าราชการและบุคลากรประเภทอื่น จำนวน ๒,๑๑๒,๖๘๔ คน ปรากฏว่าคนรุ่นใหม่มีโอกาสเข้าสู่ระบบราชการได้น้อยลง เนื่องจากกรณีที่มีการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งทั้งประเภทวิชาการและทั่วไป ทำให้ต้องยุบตำแหน่งลง เพื่อนำอัตราเงินเดือนมาพอกเป็นเงินเดือนของตำแหน่งที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อให้มีเงินเดือนสอดคล้อง คนรุ่นใหม่จึงมีโอกาสในการเข้าสู่ระบบราชการได้น้อยลง โอกาสที่คนเก่งคนดีจะเข้ามาเป็นกำลังของระบบจึงเป็นไปได้ยาก ส่งผลให้ระบบราชการไทยอยู่ในสภาวะที่ยากแก่การปรับตัว
สมรรถนะในการแข่งขันของระบบราชการไทยเชิงเปรียบเทียบ ในส่วนเป็นประเทศที่ง่ายต่อการประกอบธุรกิจ ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ ๑๙ จาก ๑๘๓ ประเทศ และได้มีการตัดปัจจัยในการประเมินบางตัวออกไป ซึ่งเป็นปัจจัยที่ประเทศไทยทำได้ดีมีคะแนนสูง ทำให้ลำดับของประเทศไทยจึงถูกปรับลดลงไปอยู่ที่ ๑๙ ในส่วนดัชนีสภาวะธรรมาภิบาล มิติประสิทธิผลของภาครัฐ และมิติคุณภาพของมาตรการควบคุม ยังคงอยู่ใน Percentile Rank ที่ ๕๐-๗๕ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยพบว่าอยู่ในอันดับที่ ๒๗
สำหรับอันดับดัชนีภาพลักษณ์คอรัปชันของนานาประเทศ ซึ่งประเทศที่มีค่าดัชนีสูงสุดคือ ประเทศที่มีคอรัปชันน้อยที่สุด ซึ่งการจัดอันดับในปี พ.ศ.๒๕๕๔ ประเทศไทยอยู่ในลำดับ ๘๐ โดยปรับลำดับลดลงมาจากปี พ.ศ.๒๕๕๓ ซึ่งอยู่ที่ลำดับที่ ๗๘ หากพิจารณาจากค่าดัชนี เมื่อเทียบกับปีก่อน จะปรับดีขึ้น ๐.๑ คะแนน แต่ลำดับกลับลดลง หมายถึงการคอรัปชันในไทยลดลงเล็กน้อย แต่ภาพลักษณ์กลับด้อยลงเมื่อเทียบกับนานาประเทศ อย่างไรก็ดีภาพลักษณ์คอรัปชันของประเทศไทยในปี พ.ศ.๒๕๕๔ ดูดีขึ้น เมื่อพิจารณาย้อนไปในปี พ.ศ.๒๕๕๒ ซึ่งมีลำดับอยู่ที่ ๘๔ ขณะนี้ประเทศไทยยังอยู่ในลำดับเดียวกับประเทศโคลัมเบีย เอลซาลวาดอร์ กรีซ มอร็อคโค และเปรู ซึ่งมีค่าดัชนี ๓.๔ เท่ากัน
ความพร้อมในการเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย  อยู่ในอันดับที่ ๗๖ ในปี พ.ศ.๒๕๕๓
อันดับประสิทธิภาพระบบราชการไทย พบว่าประเทศไทยเป็น ๑ ใน ๓ ประเทศแรกที่ระบบราชการมีประสิทธิภาพ รองจากสิงคโปร์ และฮ่องกง
๒) ความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบราชการไทย
ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ จากการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๔ พบว่าส่วนราชการมีผลการประเมินเฉลี่ยสูงกว่าเป้าหมาย เนื่องจากมีหลายส่วนราชการที่ผลการประเมินสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้มาก ในส่วนของจังหวัดมีผลการประเมินเฉลี่ยสูงกว่าเป้าหมาย ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาพบว่า ค่าคะแนนต่ำสุดและค่าคะแนนเฉลี่ย เพิ่มสูงขึ้น และคะแนนเบี่ยงเบนมาตรฐานต่ำลง ผลการประเมินการปฏิบัติงานขององค์การมหาชนในภาพรวมการปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

ข่าวจากสำนักงานรัฐมนตรี

ไม่มีความคิดเห็น: