วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 346/2559 ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 8/2559

ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 8/2559 เมื่อวันพุธที่ 24 สิงหาคม 2559 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมีประเด็นสำคัญสรุปดังนี้


รับทราบรายงานการใช้จ่ายงบประมาณปี 2559 ยังเป็นไปตามเป้า 86%
ที่ประชุมรับทราบรายงานของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) เกี่ยวกับผลการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2559 ของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2559 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้รับงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 515,516.1964 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 447,046.9248 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 86.72 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
นอกจากนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้เน้นย้ำการใช้จ่ายงบกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้รับมากที่สุด คือ 9,400 ล้านบาท โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รับมากที่สุด 5,000 ล้านบาท รองลงมาคือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3,800 ล้านบาท สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 161 ล้านบาท สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 83 ล้านบาท และหน่วยงานอื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งมีเงื่อนไขของเวลาในการดำเนินงาน กล่าวคือ จะต้องจัดทำข้อตกลงกับสำนักงบประมาณภายในวันที่ 2 กันยายน 2559 และเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2559
 ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตจากการดำเนินงานในระยะเวลาอันจำกัด จึงขอให้จัดทำโครงการให้ตรงกับความต้องการจริงๆ ไม่ควรยัดเยียดโครงการลงไปยังสถานศึกษา พร้อมทั้งมีระบบตรวจสอบการทำงานทุกขั้นตอน โดยเฉพาะ สกอ.ซึ่งได้รับงบประมาณมากที่สุดและจะต้องจัดสรรไปยังมหาวิทยาลัยกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ ขอให้จัดสรรงบประมาณทั้งในส่วนของครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างไปยังคณะ/สาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ
 ในส่วนของ สพฐ. ให้น้ำหนักกับการใช้งบประมาณเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า 20 คน จำนวนกว่า 800 โรงเรียน ซึ่งได้มอบให้ สพฐ.สำรวจความพร้อมของโรงเรียนแม่เหล็ก ที่จะเป็นโรงเรียนรองรับเด็กจากโรงเรียนขนาดเล็กให้มีความพร้อมรอบด้านมากที่สุด ทั้งด้านบุคลากร สภาพแวดล้อม ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อดึงดูดให้เด็กเข้ามาเรียนที่นี่ อย่างไรก็ตามจะบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ปกติเท่านั้น จะไม่เข้าไปยุ่งกับโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่พิเศษหรือห่างไกลแต่อย่างใด นอกจากนี้ ควรพิจารณาถึงโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยและมีโรงเรียนขนาดใหญ่อยู่ใกล้เคียง เพื่อบริหารจัดการในรูปแบบเดียวกัน ที่จะทำให้นักเรียนได้รับการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพมากขึ้น

อ่านต่อ

ไม่มีความคิดเห็น: