วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การวิจัยเรื่อง ผลการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การวิจัยเรื่อง ผลการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น 2) สภาพปัญหาการดำเนินการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) โดยใช้สถานศึกษา ขั้นพื้นฐานที่ถ่ายโอนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยวิเคราะห์ (unit of analysis) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ สถานศึกษาที่ถ่ายโอนสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีการศึกษา 2549 บัญชี 1 จำนวน 59 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลในแต่ละสถานศึกษาคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและรองผู้บริหารสถานศึกษา 118 คน ครูผู้สอน 118 คน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้อำนวยการกองการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 118 คน รวม 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม (questionnaire) เกี่ยวกับผลการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแนวคิดของศูนย์แห่งชาติว่าด้วยผลลัพธ์ทางการศึกษา (National Center on Educational Outcomes : NCEO) มหาวิทยาลัย มินเนโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา (Salvia and Ysseldyke. 1995: 696) ซึ่งมีองค์ประกอบ 8 ด้าน แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง (Structure Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และตารางข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และการวิจัยอนาคตโดยการสอบถามความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ (EFR : Ethnographic Future Research) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามใช้ความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการวิจัยอนาคตโดยการสอบถามความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

ผลการวิจัย ค้นพบว่า
1. การวิเคราะห์ผลการการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพรวมและเมื่อจำแนกตามรายภาค และตามประเภทของผู้ให้ข้อมูล
กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน ทั้ง 8 ด้าน ก็พบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยเรียงลำดับ 3 ลำดับแรก ดังนี้
1) ด้านการแสดงออกและการมีส่วนร่วม พบว่า สถานศึกษาทุกแห่งมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งงานรัฐพิธี งานวันสำคัญของชาติ งานวัฒนธรรมประเพณี ร่วมกิจกรรมกับชุมชน มีการสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษา มีการวางแผนจัดการศึกษาร่วมกับชุมชน สร้างเครือข่ายระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประสานการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างสถานศึกษา ชุมชนและหน่วยงานต่างๆ มีการทำข้อตกลงร่วมกัน (MOU) กับหน่วยงานทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) ด้านสุขภาพขององค์การ พบว่า สถานศึกษาบริหารจัดการโดยคำนึงถึงหลัก ธรรมาภิบาล ยึดหลักความถูกต้องตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ส่งเสริมให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม จริยธรรม ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและประหยัด มีส่วนร่วมในการดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ของตน ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำ กล้าเผชิญความจริงในทุกสถานการณ์ พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ปฏิบัติงานตามนโยบายและข้อตกลงของสถานศึกษา ตัดสินใจสั่งการโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่
3) ด้านความสามารถในการควบคุมตนเอง พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความมั่นคงทางอารมณ์ อดทน มุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ใช้จิตวิทยาเป็นพื้นฐานในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ผู้บริหารสถานศึกษามีความยุติธรรม ครูมีความสามัคคี ใช้หลักประนีประนอมเมื่อเกิดความขัดแย้ง รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถทำงานร่วมกันได้

2. สภาพปัญหาการดำเนินการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ที่มา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
http://moe.net-com.co.th/upload/news20/FileUpload/2960_6693.doc

ไม่มีความคิดเห็น: