วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 432/2558 รมว.ศธ.ประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามนโยบาย

ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามนโยบายร่วมกับ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์,นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและนายอนุสรณ์ ฟูเจริญ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งคณะทำงานรัฐมนตรี เมื่อวันพุธที่ ธันวาคม 2558 ณ ห้องประชุม MOC


จากการที่ รมว.ศึกษาธิการ ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร 1288/2588 เรื่อง มอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการสั่งและปฏิบัติราชการแทน ลงวันที่ 4กันยายน 2558 โดยได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ขับเคลื่อนงานตามนโยบายนั้น
เพื่อให้การขับเคลื่อนงานตามนโยบายสำคัญที่ผ่านมาสัมฤทธิ์ผล เกิดการขับเคลื่อนร่วมกันทุกระดับชั้น ตั้งแต่ผู้บริหารองค์กรหลัก ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จนถึงผู้อำนวยการสถานศึกษาต่างๆ  รมว.ศึกษาธิการ จึงได้เชิญ รมช.ศึกษาธิการ รวมทั้งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และคณะทำงานรัฐมนตรี ร่วมประชุม เพื่อรายงานความคืบหน้าการขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การกำกับดูแล ดังนี้

พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้างานที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแล 13 เรื่อง คือ
- การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ที่เน้นมาตรการในการประกันโอกาส การประกันคุณภาพการศึกษา และประกันประสิทธิภาพการศึกษา และกิจกรรมที่เกิดผลสัมฤทธิ์ในภาพรวม เช่น การดำเนินงานโครงการ DLTV ในโรงเรียนขนาดเล็ก, DLIT ในโรงเรียนขนาดกลางและใหญ่, การเรียนวิชาชีพระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, การให้ครูไม่ทิ้งชั้นเรียนด้วยระบบ TEPE Online
- การปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียน (นโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้) ที่มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการในปีแรก 4,100 โรงเรียน มีการจัดกิจกรรมที่รองรับ 4H (Head-Heart-Hands-Health) มากกว่า 390 กิจกรรม การจัดระบบการเป็นพี่เลี้ยงดูแลครูด้วย Smart Trainer และการติดตามประเมินผลทุกระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำปัญหาที่เกิดขึ้นในปีนี้ไปปรับปรุงในปีหน้า (รมว.ศึกษาธิการ ได้ขอให้ติดตามผลการสรุป Feedback โครงการ โดยต้องลงลึกในแต่ละประเด็นด้วย เช่น ปัญหาด้านสถานที่ในโรงเรียนขนาดเล็กมีจำนวนเท่าใด หรือปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ควรให้ สพฐ.รายงานขึ้นมาว่าแต่ละแห่งขาดอุปกรณ์แบบไหนอย่างไร หรือการดำเนินงานโครงการปีหน้า ควรดำเนินการในโรงเรียนทั้งหมดหรือไม่อย่างไร)
- การจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ในปีงบประมาณ 2558 ได้ดำเนินการจัดการศึกษาแก่สถานศึกษาทุกระดับจำนวน 4,662 แห่ง ครูผู้สอน 77,425 คน ผู้เรียน 1.05ล้านคน และด้วยมาตรการการรักษาความปลอดภัยที่มากขึ้น ส่งผลทำให้ครูเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ราย (ปีที่ผ่านมา ราย) ส่วนคุณภาพการจัดการศึกษาในภาพรวมก็สูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2556 ผู้รับการศึกษามีอาชีพมากขึ้น (รมว.ศึกษาธิการ ได้ขอให้การรายงานผลการทำงาน ควรเน้นการบูรณาการกับโครงการอื่นๆ ตามนโยบายด้วย เช่น ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพราะทุกพื้นที่ทั่วประเทศดำเนินการเช่นเดียวกัน อาจจะแตกต่างไปบ้างตามสภาพปัญหาแต่ละพื้นที่)
- การแก้ไขปัญหาทุจริตในกระทรวงศึกษาธิการ  ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี รมช.ศึกษาธิการ เป็นประธาน และนายพิษณุ ตุลสุข เป็นประธานคณะทำงาน เพื่อจัดทำและดำเนินการแผนปฏิบัติขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ ใน กลยุทธ์ คือ การป้องปรามและป้องกัน, การปราบปราม, การพัฒนาระบบการดำเนินการทางวินัยและคดี, การสร้างกลไกการบริหารงานบุคคลเพื่อป้องกันการทุจริต, การติดตามประเมินผล พร้อมทั้งสำนักงานรัฐมนตรี (สร.) ได้จัดระบบการรับเรื่องร้องเรียนผ่านเว็บไซต์ซึ่งขณะนี้มี 619 เรื่อง  (รมว.ศึกษาธิการ ขอให้เปรียบเทียบสัดส่วนจำนวนผู้ถูกร้องเรียนกับอัตรากำลังคนในแต่ละสังกัดด้วยว่าเป็นจำนวนเท่าใด)
- การสร้างค่านิยมอาชีวศึกษา  ได้ดำเนินการไปแล้วหลายเรื่อง เช่น การเพิ่มผู้เรียนด้วยการมีมาตรการจูงใจผู้เรียน การปรับภาพลักษณ์ ทวิศึกษา ส่งผลให้ผู้เรียนระดับ ปวช.เพิ่มขึ้นในปีการศึกษานี้เมื่อเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมาเป็นจำนวน 41,820 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26ส่วนระดับ ปวส.เพิ่มขึ้น 8,700 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 ทำให้ปัจจุบันมีสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพ สามัญ เป็น  39 : 61 และตั้งเป้าปีการศึกษาหน้าเป็น 42 : 58
การจัดการเรียนการสอนทวิภาคีร่วมกับสถานประกอบการ  ในปีงบประมาณ 2558ได้มีการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 46
- การแก้ไขปัญหาทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษา  ได้จัดระบบดูแลช่วยเหลือ มีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งรัฐและเอกชน รวมทั้งโครงการเตรียมอาชีวศึกษา ตลอดจนจะกำหนดมาตรการที่เข้มข้นขึ้นในการควบคุมดูแลสถานศึกษาที่ปล่อยปละละเลยในเรื่องนี้
- การส่งเสริมอาชีวศึกษาให้มีความเป็นเลิศเฉพาะด้าน  ขณะนี้ได้กำหนดให้มีสถานศึกษาอาชีวศึกษานำร่องเฉพาะทาง 7 แห่ง
- การจัดการอาชีวศึกษาสู่มาตรฐานสากล  มีการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ 7ประเทศในการผลิตและพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษา ในสาขาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ช่างกลเรือ และการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งจัดทำโครงการยกระดับการใช้ภาษาอังกฤษแก่ผู้เรียนสายอาชีพ
ด้านการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ได้มีการจัดประชุมผู้บริหารด้านเทคนิคและอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้แนวคิด “การประสานเชื่อมโยงการจัดการอาชีวศึกษา และการเคลื่อนย้ายแรงงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (Director Meeting on SEA-TVET : Country-Level Workshop on Harmonization and Mobility) ตลอดจนส่งผู้เรียนไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น
นอกจากนี้ มีการประชุมการประชุมคณะกรรมการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและการดำเนินการภายหลังปี 2558 ของกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 2/2558 ซึ่งได้เห็นชอบการจัดตั้งศูนย์ประสานงานด้านอาเซียนของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งเห็นชอบโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็น Education Hub ในภูมิภาค พร้อมเตรียมเผยแพร่แผนยุทธศาสตร์อาเซียนด้านการศึกษากว่า 5 หมื่นเล่มไปยังสถานศึกษาและหน่วยงานทั่วประเทศ
- การกระจายโอกาสทางการศึกษาโครงการติวเข้มเติมเต็มความรู้
- การพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาของ กศน.
- การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- การส่งเสริม กศน.ตำบล เป็นกลไกในการขับเคลื่อนระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในส่วนของ กศน.ตำบล 7,424 แห่ง ใน 77 จังหวัดนั้น จะหารือร่วมกับ รมช.ศึกษาธิการ และสำนักงาน กศน. อีกครั้ง จากนั้นจะให้แนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงาน กศน.ตำบล แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในต้นปี 2559

ไม่มีความคิดเห็น: