วันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2560

แนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัย

ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือแนวนโยบายการจัดการศึกษาปฐมวัยรองรับตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ร่วมกับนายจรินทร์ จักกะพาก อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นผู้แทนจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.)โดยมีนายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2560

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ปัจจุบันมีประชากรอายุ 3 ปี ประมาณ 760,000 คน ได้เข้ารับการศึกษาประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้เข้ารับการศึกษา 10 เปอร์เซ็นต์ จัดการศึกษาโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน19,429 แห่ง มีเด็กประมาณ 497,000 คน  โรงเรียนอนุบาล จำนวน 60,000 คน จัดโดยเอกชน จำนวน 188,000 คน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 1500 คน โรงเรียนสาธิต จำนวน  1,200 คน ไม่ได้เข้าเรียน จำนวน  730,000 คน


ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีข้อสรุปในเรื่องการจัดการศึกษาก่อนวัยเรียนตามรัฐธรรมนูญ 4 ประเด็น คือ 1.ด้านโอกาสทางการศึกษาต้องบูรณาการร่วมกันระหว่าง สพฐ. องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงเรียนเอกชนโดยมี กศจ.เป็นหน่วยที่จะจัดทำแผนบูรณาการและติดตามประเมินผล และให้ทุกสังกัดที่จัดการศึกษาอยู่แล้วจัดในอัตราส่วนที่จัดอยู่ในปัจจุบัน สำหรับองค์กรปกครองท้องถิ่นมีการประเมินมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยจัดเป็นกลุ่ม ABและ  ในกลุ่ม เป็นกลุ่มที่มีมาตรฐานก็จะยกระดับมาเป็นโรงเรียนอนุบาลต่อไป               2.คุณภาพ จะใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลัก เน้นการเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย ปัญญา อารมณ์ สังคม และการสอดแทรกการอ่านออกเขียนได้ เตรียมความพร้อมในการเข้าเรียนในระดับ ป. 1 ไม่ใช่การสอบแต่ให้ประเมินพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมกับช่วงวัย ด้านมาตรฐานโรงเรียนที่เปิดสอนก่อนวัยเรียนมอบให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาพิจารณาการบริหารจัดการของสถานศึกษาการจัดประสบการณ์ และการเรียนการสอน คุณภาพเด็ก ตามสภาพความเป็นจริงทีมีอยู่  และ 4.ด้านงบประมาณในการจัดการศึกษาก่อนวัยเรียนจะใช้อัตราเงินอุดหนุนรายหัวในปัจจุบัน 2,830 บาท/คน/ปี  สำหรับโรงเรียนที่เปิดสอนก่อนวัยเรียนในทุกสังกัด โดยให้ไปดำเนินการสำรวจเพื่อเสนอของบประมาณปี 2561

ไม่มีความคิดเห็น: