วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์ฯ สอบครูผู้ช่วย และกลุ่มวิชาที่ขาดแคลนจำเป็น

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 1พฤษภาคม 2561 ณ ห้องประชุมจันทรเกษม โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธาน ก.ค.ศ. เป็นประธานการประชุม

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีมติให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.6/ว 2 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 และตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.6/ว 14 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2558
และได้เห็นชอบ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
  • คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครสอบแข่งขัน
         1) ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
    2)
         2) ต้องมีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ไม่หลังวันเปิดรับสมัครสอบแข่งขันวันสุดท้าย
         ทั้งนี้ ผู้สมัครสอบแข่งขันต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือหลักฐานที่ใช้แสดงในการประกอบวิชาชีพครูตามที่คุรุสภาออกให้เพื่อปฏิบัติหน้าที่สอน อยู่ก่อนหรือไม่หลังวันเปิดรับสมัครสอบแข่งขันวันสุดท้าย และในวันบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือหลักฐานที่ใช้แสดงในการประกอบวิชาชีพครูตามที่คุรุสภาออกให้เพื่อปฏิบัติหน้าที่สอน ต้องยังไม่หมดอายุ
         ยกเว้นผู้สมัครสอบแข่งขันที่มีคุณวุฒิในประเภทวิชาหรือสาขาวิชาขาดแคลน ตามที่ส่วนราชการกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.ค.ศ. ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือหลักฐานที่ใช้แสดงในการประกอบวิชาชีพครูตามที่คุรุสภาออกให้เพื่อปฏิบัติหน้าที่สอน อยู่ก่อนการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย และในวันบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือหลักฐานที่ใช้แสดงในการประกอบวิชาชีพครูตามที่คุรุสภาออกให้เพื่อปฏิบัติหน้าที่สอนต้องยังไม่หมดอายุ
         สำหรับผู้สมัครสอบแข่งขันซึ่งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาข้าราชการอื่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ต้องมีหนังสืออนุญาตจากผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้สมัครสอบแข่งขัน และยินยอมให้ย้ายหรือโอนเมื่อสอบแข่งขันได้ และให้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งครูผู้ช่วย และรับเงินเดือนในอันดับครูผู้ช่วยตามที่กำหนดไว้ในประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน
         ทั้งนี้ ในวันสมัครสอบแข่งขัน ผู้สมัครสอบต้องรับรองตนเองด้วยว่าในวันบรรจุและแต่งตั้ง ไม่ติดเงื่อนไขอื่นใดที่หน่วยงานหรือส่วนราชการที่ตนสังกัดอยู่เดิม กำหนด
         ส่วนครู สพฐ. ที่ต้องการมาสมัครสอบเพื่อวัตถุประสงค์ในการขอย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม ทำไม่ได้อยู่แล้ว
  • หลักสูตรการสอบ แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ
          ภาค ก ความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมและอุดมการณ์ของความเป็นครู และมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา (คะแนนเต็ม 150 คะแนน)
         ภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 150 คะแนน)
         ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่งและวิชาชีพ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
  • ให้ส่วนราชการ ดำเนินการดังนี้     1) กำหนดสัดส่วนตำแหน่งว่างเพื่อใช้ในการสอบแข่งขันและการคัดเลือก
         2) กำหนดวัน เวลา ในการสอบแข่งขัน ซึ่ง
    คาดว่าจะมีการเปิดรับสมัครภายในเดือนมิถุนายน 2561 สอบในเดือนกรกฎาคม 2561 และบรรจุแต่งตั้งในเดือนตุลาคม 2561 เพื่อมิให้กระทบกับอัตรากำลังของครูในสถานศึกษาเอกชน
         3) กำหนดระยะเวลาการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ตามความเหมาะสม แต่ต้องไม่เกิน 2 ปี
         4) บริหารจัดการเกี่ยวกับการออกข้อสอบภาค ก ภาค ข และกำหนดตัวชี้วัดและคะแนนการประเมินภาค ค ตามหลักสูตรที่กำหนด
         5) กำกับติดตามการดำเนินการสอบแข่งขัน ให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
  • ให้ กศจ. หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง แล้วแต่กรณี ดำเนินการดังนี้
         1) กำหนดจำนวนตำแหน่งว่าง และวิชาหรือทาง หรือสาขาวิชาเอกที่ใช้ในการสอบแข่งขัน ตามความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา
         2) ประกาศสอบแข่งขันก่อนวันรับสมัครไม่น้อยกว่า 7 วัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
         3) รับสมัครสอบแข่งขันไม่น้อยกว่า วัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ พร้อมค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ จำนวน 300 บาท
         4) กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร คุณสมบัติ และคุณวุฒิของผู้สมัครสอบแข่งขันฯ
         5) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบแข่งขัน วัน เวลา และสถานที่สอบ รวมทั้งระเบียบว่าด้วยการปฏิบัติของผู้เข้าสอบ และระเบียบอื่น ๆ เกี่ยวกับการสอบแข่งขัน
         6) ดำเนินการสอบภาค ก และภาค ข
         7) ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้คะแนนภาค ก และภาค ข แต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ที่มีสิทธิ์สอบภาค ค โดยเรียงลำดับตามเลขประจำตัวสอบ
         8) ดำเนินการสอบภาค ค
         9) ประกาศรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ เฉพาะผู้ที่ได้คะแนนตามเกณฑ์การตัดสิน
  • เกณฑ์การตัดสิน ผู้สอบแข่งขันต้องได้คะแนนภาค ก และภาค ข แต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิ์สอบภาค ค ประกาศรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้เฉพาะผู้ที่ได้คะแนนแต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 โดยเรียงลำดับจากผู้ที่ได้คะแนนรวมจากมากไปหาน้อย แยกตามกลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอก
  • การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ กำหนดกรอบระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ โดยให้ส่วนราชการประกาศก่อนการบรรจุและแต่งตั้งในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อมิให้กระทบกับการบริหารอัตรากำลังครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ในการเปิดสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี พ.ศ.2561 จะมีการเปิดสอบใน 74 จังหวัด และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) รวมทั้งสิ้น 98 กลุ่มวิชา (โดยจังหวัดที่ไม่ประสงค์เปิดสอบได้แก่ จังหวัดพะเยา อำนาจเจริญ และสงขลา)
สำหรับสาขาวิชาที่ขาดแคลนและมีความจำเป็น  สพฐ.ได้ทำการสำรวจข้อมูลจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ต่าง ๆ แล้ว พร้อมทั้งจัดประชุมสัมมนาร่วมกับประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย ผู้แทนจากคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า สาขาวิชาขาดแคลน หมายถึง 1) เปิดสอบแล้วไม่มีผู้สมัคร 2) เปิดสอบแล้วมีสมัครน้อย 3) สถาบันอุดมศึกษาไม่เปิดสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี หรือเปิดสอนแต่ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี ดังนี้
     1. กลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอกที่ไม่เปิดสอนในหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ระดับปริญญาตรี 5 ปี หรือเปิดสอนแต่ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญา 5 ปี จำนวน 32 กลุ่มวิชา ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาเกาหลี ภาษาพม่า ภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การพยาบาล ดนตรีพื้นเมือง ออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมศิลป์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรม (ก่อสร้าง) อุตสาหกรรมศิลป์ (ช่างยนต์) อุตสาหกรรมไฟฟ้า ช่างโลหะ การจัดการงานก่อสร้าง โสตทัศนศึกษา การเงินและบัญชี การเงินและการบัญชี การเงิน/บัญชี การเงินบัญชี การเงินการบัญชี ธุรกิจการเงินการบัญชี ธุรกิจ (การเงิน) ธุรกิจ (พัสดุ) พัสดุ กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด จิตวิทยาคลินิก
     2. กลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอกที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอน จำนวน 10 กลุ่มวิชา ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน ดนตรี ดนตรีศึกษา ดนตรีไทย ดนตรีสากล ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์  ซึ่งมีความขาดแคลนซ้ำซาก เปิดสอบแล้ว

ที่มา ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี

ไม่มีความคิดเห็น: