1. ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องมีอายุกี่ปี
ก. ไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
ข. ไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
ค. ไม่ต่ำกว่า 21 ปีบริ
ง. ไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
2. ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูต้องมีอายุกี่ปี
ก. ไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริ
ข. ไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
ค. ไม่ต่ำกว่า 21 ปีบริบูรณ์
ง. ไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
3. ผู้ไม่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพครูในข้อใด
ก. นักศึกษาฝึกสอน
ข. วิทยากรพิเศษ
ค. ผู้จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
ง. ถูกทุกข้อ
4. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ก. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
ข. มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา
ค. ได้รับการฝึกประสบการณ์มาไม่น้อยกว่า 1 ปี
ง. เป็นคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาทุกข้อ
5. ผู้ประสงค์ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้ยื่นต่อผู้ใคร
ก. ผู้บริหารสถานศึกษา
ข. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. เลขาธิการคุรุสภา
6. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมีอายุกี่ปี
ก. 3 ปี
ข. 5 ปี
ค. 10 ปี
ง. 15 ปี
7. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสิ้นสุดลงกรณีใด
ก. หมดอายุ
ข. ถูกสั่งเพิกถอน
ค. ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต
ง. ถูกทุกข้อ
8. ผู้ที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสามารถยื่นคำขอได้อีกเมื่อพ้นไปแล้วกี่ปี
ก. 1 ปี
ข. 2 ปี
ค. 5 ปี
ง. 7 ปี
9. การถูกพักใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พักได้กี่ปี
ก. 3 ปี
ข. 5 ปี
ค. ไม่เกิน 3 ปี
ง. ไม่เกิน 5 ปี
10. ถ้าคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออกใบอนุญาตให้ ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อใคร
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข. คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ค. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ง. คณะกรรมการคุรุสภา
11. ใบแทนใบอนุญาตต้องประทับด้วยอักษรสีอะไร
ก. สีแดง
ข. สีน้ำเงิน
ค. สีดำ
ง. สีอะไรก็ได้ให้มองเห็นชัดด้านบนตรากลางกระดาษ
12. ข้อใดไม่ใช่มาตรฐานวิชาชีพ
ก. มาตรฐานการปฏิบัติตน
ข. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
ค. มาตรฐานการปฏิบัติการสอน
ง. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
13. ข้อใดไม่ใช่จรรยาบรรณของวิชาชีพในมาตรฐานการปฏิบัติตน
ก. จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข. จรรยาบรรณต่อสังคม
ค. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ง. เป็นจรรยาบรรณในมาตรฐานปฏิบัติตนทุกข้อ
14. ผู้ที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด กรณีผู้ประกอบวิชาชีพครูประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพคือ
ก. คณะกรรมการคุรุสภา
ข. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
ค. คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ง. เลขาธิการคุรุสภา
15. ผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด สามารถวินิจฉัยชี้ขาดได้ในกรณีใด
ก. ยกข้อกล่าวหา
ข. ตักเตือน
ค. ภาคฑัณฑ์
ง. ถูกทุกข้อ
16. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการบริหารงานของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก. ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติ์ผู้ประกอบวิชาชีพครู
ข. ส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา
ค. เสนอแนวทางจัดทำมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณครู
ง. ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย การพัฒนา ด้านสวัสดิการและสวัสดิภาพ
17. สนง. สก.สค. มีฐานะเป็นอะไร
ก. องค์กรเอกชน
ข. องค์กรมหาชน
ค. นิติบุคคล
ง. นิติบุคคลในการกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
18. ใครคือ ผู้มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการทำงานของคุรุสภาและสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและ
สวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ค. คณะกรรมการคุรุสภา
ง. คณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
19. การประกอบวิชาชีพครูโดยไม่ได้รับใบอนุญาตต้องได้รับโทษ คือ
ก. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
20. การประกอบอาชีพครูในระหว่างพักใบอนุญาตต้องได้รับโทษ คือ
ก. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
21. การแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิ์พร้อมจะประกอบวิชาชีพควบคุมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
มีโทษ คือ
ก. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
22. วันที่ พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ 2546 ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา คือ
ก. 6 มิถุนายน 2546
ข. 7 มิถุนายน 2546
ค. 6 กรกฎาคม 2546
ง. 7 กรกฎาคม 2546
23. วันที่ พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ 2546 มีผลบังคับใช้ คือ
ก. 6 มิถุนายน 2546
ข. 7 มิถุนายน 2546
ค. 6 กรกฎาคม 2546
ง. 7 กรกฎาคม 2546
24. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ 2546 คือใคร
ก. พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ
ข. นายบรรหาร ศิลปะอาชา
ค. นายชวน หลีกภัย
ง. พ.ต.ท. ทักษิน ชินวัตร
25. ข้อใดไม่ใช่การจัดระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ก. ระเบียบบริหารราชหารในส่วนกลาง
ข. ระเบียบบริหารราชการในเขตพื้นที่การศึกษา
ค. ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล
ง. ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีที่เป็นนิติบุคคล
26. การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางในกระทรวงศึกษาธิการมีกี่ส่วน
ก. 3 ส่วนราชการ
ข. 4 ส่วนราชการ
ค. 5 ส่วนราชการ
ง. 6 ส่วนราชการ
27. ข้อใดไม่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ
ก. สำนักงานรัฐมนตรี
ข. สำนักงานปลัดกระทรวง
ค. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ง. มีฐานะเป็นกรมทั้งข้อ ก ข และ ค
28.เลขาธิการ กพฐ. คนปัจจุบันชื่อว่าอะไร
ก. นางจรวยพร ธรณินทร์
ข. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
ค. ดร. รุ่ง แก้วแดง
ง. นายวีระศักด์ วงค์สมบัติ
29. เลขาธิการ กพฐ. เป็นหัวหน้าส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อผู้ใด
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ง. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
30. ข้อใดไม่เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
ก. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข. ส่วนราชการที่มีหัวหน้าขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. กองต่าง ๆ
ง. เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางทุกข้อ
31. หลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งส่วนราชการใน สพฐ. ตราเป็นกฎหมายใด
ก. พระราชบัญญัติ
ข. พระราชกฤษฎีกา
ค. กฎกระทรวง
ง. ประกาศกระทรวง
32. หลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่ให้ตราเป็นกฎหมายใด
ก. พระราชบัญญัติ
ข. พระราชกฤษฎีกา
ค. กฎกระทรวง
ง. ประกาศกระทรวง
33. การแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาต้องได้รับความเห็นชอบจากใคร
ก. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ข. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ง. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
34. คณะกรรมการสภาการศึกษามีกี่คน
ก. 27 คน
ข. 39 คน
ค. 49 คน
ง. 59 คน
35. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีกี่คน
ก. 9 คน
ข. 15 คน
ค. 27 คน
ง. 39 คน
36. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามีกี่คน
ก. 9
ข. 15 คน
ค. 26 คน
ง. 39 คน
37. กฎกระทรวงแบ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกี่ส่วน
ก. 5 ส่วนราชการ
ข. 6 ส่วนราชการ
ค. 9 ส่วนราชการ
ง. 10 ส่วนราชการ
38. ใครเป็นผู้ลงนามประกาศเขตพื้นที่การศึกษา
ก. นายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ง. เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
39. ตำแหน่งใดมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ก. เลขาธิการสภาการศึกษา
ข. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ง. ถูกทุกข้อ
40. ใครเป็นประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ง. ครม. แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ
41. ข้อใดไม่ใช่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. ผู้แทนครู
ข. ผู้แทนศาสนา
ค. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ง. ผู้แทนองค์กรวิชาชีพครู
42. ข้อใดไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ก. สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ง. องค์การบริหารส่วนตำบล
43. ผู้ลงนามการอนุมัติใช้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ
ก. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. ผู้อำนวยการโรงเรียน
ง. ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
44. การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาต้องคำนึงถึงข้อใด
ก. ปริมาณสถานศึกษา
ข. จำนวนประชากร
ค. วัฒนธรรม
ง. ถูกทุกข้อ
45. กรรมการโดยตำแหน่งใน กพฐ. มีกี่คน
ก. 5 คน
ข. 7 คน
ค. 8 คน
ง. 9 คน
46. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กพฐ. มีกี่คน
ก. 11 คน
ข. 12 คน
ค. 13 คน
ง. 14 คน
47. ข้อใดไม่เป็นกรรมการโดยตำแหน่งใน กพฐ.
ก. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข. เลขาธิการคุรุสภา
ค. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ง. ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
48. ประธานกรรมการ และกรรมการโดยตำแหน่งใน กพฐ. ต้องมีอายุเท่าใด
ก. ไม่ต่ำกว่า 20 ปี
ข. ไม่ต่ำกว่า 25 ปี
ค. ไม่ต่ำกว่า 35 ปี
ง. ไม่ต่ำกว่า 40 ปี
49. ถ้า กรรมการ กพฐ. ว่างลงก่อนกำหนดต้องดำเนินการสรรหาภายในระยะเวลาเท่าใด
ก. 30 วัน
ข. 45 วัน
ค. 60 วัน
ง. 90 วัน
50. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามีกี่คน
ก. 3 คน
ข. 4 คน
ค. 5 คน
ง. 6 คน
51. สถานศึกษาขนาดเล็กมี คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กี่คน
ก. 9 คน
ข. ไม่เกิน 9 คน
ค. 15 คน
ง. ไม่เกิน 15 คน
52. สถานศึกษาขนาดใหญ่มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกี่คน
ก. 9 คน
ข. ไม่เกิน 9 คน
ค. 15 คน
ง. ไม่เกิน 15 คน
53. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นผู้แทนศาสนา ในสถานศึกษาขนาดใหญ่มีกี่คน
ก. 1 รูป/คน
ข. 2 รูป/คน
ค. 3 รูป/คน
ง. 4 รูป/คน
54. สถานศึกษาขนาดเล็กมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกี่คน
ก. 1 คน
ข. 2 คน
ค. 3 คน
ง. 4 คน
55. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีอายุตามข้อใด
ก. ไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
ข. ไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
ค. ไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
ง. ไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์
56. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ระบุอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการได้บัญญัติไว้ใน ในมาตราใด
ก. มาตรา 37
ข. มาตรา 38
ค. มาตรา 39
ง. มาตรา 40
57. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. บริหารกิจการของสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย/นโยบายและวัตถุประสงค์
ข. อนุมัติประกาศนียบัตรและวุฒิบัตรของสถานศึกษา
ค. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการสถานศึกษาเพื่อเสนอต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ง. เป็นอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกข้อที่กล่าวมา
58. ใครเป็นผู้ออกระเบียบการแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ก. กระทรวงศึกษาธิการ
ข. สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ง. สถานศึกษา
59. ใครเป็นผู้ให้ความเห็นชอบในการแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ก. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ข. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. คณะกรรมการสถานศึกษา
ง. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
60. ข้อใด คือ การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนของผู้อำนวยการสถานศึกษา
ก. ต้องทำเป็นหนังสือ
ข. มอบด้วยวาจาก็ได้
ค. ทำเป็นหนังสือ หรือ มอบด้วยวาจาก็ได้
ง. ถ้ามอบด้วยวาจาแล้วให้ทำเป็นหนังสือ
61. หลักการพิจารณาในการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน คือ
ก. การอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
ข. ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ
ค. ความรับผิดชอบตามสภาพตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจ
ง. ถูกทุกข้อ
62. เมื่อผู้อำนวยการสถานศึกษามอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทนแล้ว ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. ผู้มอบอำนาจมีหน้าที่กำกับติดตามผลการปฏิบัติงาน
ข. ผู้มอบอำนาจแนะนำการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบได้
ค. ผู้มอบอำนาจแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบได้
ง. ถูกทุกข้อ
63. ในกรณีที่ผู้อำนวยการสถานศึกษาไม่อยู่ และมีรองผู้อำนวยการสถานศึกษาหลายคน จะทำอย่างไร
ก. ให้รองผู้อำนวยการสถานศึกษาคนใดคนหนึ่งปฏิบัติราชการแทน
ข. ให้รองผู้อำนวยการสถานศึกษาคนใดคนหนึ่งรักษาราชการแทน
ค. ให้ ผอ.สพท.แต่งตั้งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาคนใดคนหนึ่งปฏิบัติราชการแทน
ง. ให้ ผอ.สพท.แต่งตั้งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาคนใดคนหนึ่งรักษาราชการแทน
64. สพฐ. แบ่งส่วนราชการได้กี่ส่วน
ก. 8 ส่วนราชการ
ข. 9 ส่วนราชการ
ค. 10 ส่วนราชการ
ง. 11 ส่วนราชการ
65. การกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องทำตรากฎหมายใด
ก. กฎกระทรวง
ข. ประกาศ สพฐ.
ค. ประกาศ สพท.
ง. ประกาศโรงเรียน
66. ใครเป็นผู้เห็นชอบการแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สพฐ.
ก. คณะกรรมการสถานศึกษา
ข. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ค. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
67. กฎกระทรวงว่าด้วย กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 ประกาศใช้เมื่อใด
ก. 7 พฤษภาคม 2550
ข. 8 พฤษภาคม 2550
ค. 9 พฤษภาคม 2550
ง. 10 พฤษภาคม 2550
68. งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อยู่ในการกระจายอำนาจในด้านใด
ก. ด้านวิชาการ
ข. ด้านงบประมาณ
ค. ด้านบริหารงานบุคคล
ง. ด้านบริหารทั่วไป
69. การจัดหาพัสดุ อยู่ในการกระจายอำนาจในด้านใด
ก. ด้านวิชาการ
ข. ด้านงบประมาณ
ค. ด้านบริหารงานบุคคล
ง. ด้านบริหารทั่วไป
70. การจัดทำบัญชีรายชื่อ และให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อยู่ในการกระจายอำนาจด้านใด
ก. ด้านวิชาการ
ข. ด้านงบประมาณ
ค. ด้านบริหารงานบุคคล
ง. ด้านบริหารทั่วไป
71. ข้อใดไม่ใช่หลักการกระจายอำนาจตามกฎกระทรวงฯ
ก. ความเป็นเอกภาพด้านมาตรฐานและนโยบายด้านการศึกษา
ข. ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องนั้น ๆ โดยตรง
ค. มุ่งเน้นให้เกิดผลสำเร็จแก่สถานศึกษา โดยเน้นการกระจายอำนาจให้แก่คณะกรรมการและ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาให้มากที่สุด
ง. เป็นหลักการกระจายอำนาจทุกข้อที่กล่าวมา
72. คำว่า นิติบุคคล หมายถึง
ก. เป็นบุคคลที่กฎหมายสมมุติขึ้น เพื่อให้มีสิทธิทำกิจการอันเป็นการก่อนิติสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้ภายในของวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ข. เป็นบุคคลที่กฎหมายสมมุติขึ้น เพื่อให้มีหน้าที่ทำกิจการอันเป็นการ
ค. เป็นบุคคลที่กฎหมายสมมุติขึ้น เพื่อให้สามารถทำกิจการอันเป็นการ
ง. ถูกทุกข้อ
73. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (สังกัด สพฐ.) เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายลักษณะใด
ก. กฎหมายเอกชน
ข. กฎหมายมหาชน
ค. กฎหมายประชาชน
ง. ถูกทั้ง ก และ ข
74. การบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตาม พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ตรงกับข้อใด
ก. การบริหารราชการส่วนกลาง
ข. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ค. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ง. การบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
75. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (นิติบุคคล) ตาม พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ตรงกับข้อใด
ก. เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ข. เป็นส่วนราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
ค. บริหารได้อย่างอิสระ เหมือนกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ง. ถูกทุกข้อ
76. อำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดไว้ในกฎหมายใด
ก. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
ข. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
ค. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
ง. ถูกทั้ง ข และ ค
77. วันที่ พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มีผลบังคับใช้ คือ
ก. 21 ธันวาคม 2547
ข. 22 ธันวาคม 2547
ค. 23 ธันวาคม 2547
ง. 24 ธันวาคม 2547
78. ผู้รับสนองพระราชโองการคือ
ก. นายวิษณุ เครืองาม
ข. นายอุทัย พิมพ์ใจชน
ค. นายสุชน ชาลีเครือ
ง. พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
79. ข้อใดคือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาม พ.ร.บ. นี้
ก. บุคคลที่ได้รับการบรรจุตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดินใน
กระทรวงศึกษาธิการ
ข. บุคคลที่ได้รับการบรรจุตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดินใน
กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
ค. บุคคลที่ได้รับการบรรจุตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดินใน
กระทรวงวัฒนธรรม
ง. ถูกทุกข้อ
80. ข้อใดไม่ใช่บุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้
ก. ข้าราชการครู
ข. ผู้บริหารสถานศึกษา
ค. ผู้บริหารการศึกษา
ง. เป็นบุคลากรทางการศึกษาทั้ง 3 ข้อ
81. ข้อใดไม่ใช่หน่วยงานทางการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้
ก. สถานศึกษา
ข. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. แหล่งเรียนรู้ตามประกาศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ง. เป็นหน่วยงานทางการศึกษาทั้ง 3 ข้อ
82. ก.ค.ศ. ย่อมาจากคำว่าอะไร
ก. กรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข. คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ค. กรรมการบริหารงานบุคคลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ง. คระกรรมการบริหารงานบุคคลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
83. ประธาน ก.ค.ศ. คือ
ก. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. นายกรัฐมนตรี
ง. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับแต่งตั้ง
84. ก.ค.ศ. มีจำนวนเท่าใด
ก. 22 คน
ข. 25 คน
ค. 26 คน
ง. 28 คน
85. ข้อใดไม่เป็นกรรมการใน ก.ค.ศ.
ก. เลขาธิการคุรุสภา
ข. เลขาธิการ ก.พ.
ค. เลขาธิการก.ค.ศ.
ง. เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
86. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.ค.ศ. มีจำนวนเท่าใด
ก. 3 คน
ข. 5 คน
ค. 7 คน
ง. 9 คน
87. ผู้แทนข้าราชการครูใน ก.ค.ศ. มีจำนวนเท่าใด
ก. 4 คน
ข. 5 คน
ค. 6 คน
ง. 8 คน
88. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.ค.ศ.
ก. มีสัญชาติไทย
ข. อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
ค. ไม่เป็นสมาชิกในพรรคการเมือง
ง. เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องของความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม
89. คุณสมบัติของกรรมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาใน ก.ค.ศ. คือ
ก. มีใบประกอบวิชาชีพ
ข. มีประสบการณ์ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี
ค. เป็นผู้ได้รับการยอมรับในเรื่องของความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม
ง. ถูกทุกข้อ
90. วาระในตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ
ก. 2 ปี
ข. 3 ปี
ค. 4 ปี
ง. 5 ปี
91. อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ย่อมาจากคำว่าอะไร
ก. อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา
ข. คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา
ค. อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา
ง. คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา
92. อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มีกี่คน (พรบ ฉบับ2)
ก. 7 คน
ข. 8 คน
ค. 9 คน
ง. 12 คน
93. อำนาจและหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา คือ
ก. พิจารณาให้ความเห็นชอบและบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขต
พื้นที่การศึกษา
ข. ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการพิจารณาความดีความชอบ
ค. กำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษา
ง. ถูกทุกข้อ
94. ผู้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาเสนอความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในสถานศึกษาคือ
ก. ผู้บริหารสถานศึกษา
ข. คณะกรรมการสถานศึกษา
ค. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ง. อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
95. ใครเป็นผู้กำหนดเวลาการทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
ก. สำนักนายกรัฐมนตรี
ข. คณะรัฐมนตรี
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง. ก.ค.ศ.
96. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท
ง. 5 ประเภท
97. ใครคือ ผู้มีอำนาจดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก. ก.ค.ศ.
ข. อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
ค. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ง. สถานศึกษา
98. ใครเป็นผู้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งตำแหน่งที่มี
วิทยะฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ง. อธิบดีกรมเจ้าสังกัด
99. ใครคือ ผู้ที่มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตำแหน่งครูในสถานศึกษา
ก. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ข. ผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
ค. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ง. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยอนุมัติของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
100. ใครคือ ประธานกรรมการในการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ค. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับแต่งตั้ง
เปิดตำราเฉลยนะครับ เพื่อการเรียนรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น