วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2551

สาระแผนการศึกษาชาติ 2545 – 2559

วัตถุประสงค์
พัฒนาคนอย่างรอบด้าน และสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนาการพัฒนาทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้
1) เด็กปฐมวัยอายุ 0-5 ปีทุกคนได้รับการพัฒนาและเตรียมความพร้อมทุกด้านก่อนเข้าสู่ระบบการศึกษา
2)เด็กทุกคนจบการศึกษาภาคบังคับเก้าปี
3) คนไทยทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานสิบสองปี
4)มีกำลังคนด้านอาชีวศึกษาระดับต่างๆ ที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอกับความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ
5)มีการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานในรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย
6)ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานสิบสองปีมีโอกาสได้รับการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่จัดในหลากหลายรูปแบบ
7)มีการจัดบริการการศึกษาในรูปแบบและวิธีการต่างๆ ทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่อย่างหลากหลายเพื่อเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการศึกษาของประชาชนทุกคน

การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
1)ผู้เรียนเป็นคนเก่งที่พัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ เป็นคนดี และมีความสุข
2) ครูทุกคนได้รับการพัฒนาให้มีความรู้และความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
3) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูทุกคนได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
4)สถานศึกษาทุกแห่งมีการประกันคุณภาพการศึกษา

การปลูกฝังและเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระบบวิถีชีวิตที่ดีงาม
1) มีการบูรณาการด้านการศึกษาศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมทั้งในเนื้อหากระบวนการ และกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
2) บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชนองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นทุกแห่งร่วมคิดและร่วมดำเนินงานเพื่อพัฒนาคนไทยทุกคนให้เป็นผู้มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม รวมทั้งค่านิยมเชิงสุนทรียภาพ และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามระบบวิถีชีวิตที่ดีงาม
3) คนไทยส่วนใหญ่มีค่านิยม และพฤติกรรมที่เหมาะสมตามระบบวิถีชีวิตที่ดีงาม

การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพึ่งพาตนเองและเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันในระดับนานาชาติ
1) คนไทยทุกคนมีความรู้ ความคิด และความใฝ่รู้ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่ไปกับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
2) ผลิตครู คณาจารย์และบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปริมาณที่สอดคล้องกับความต้องการ และได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถเพื่อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ
3)ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีคุณภาพและมีสัดส่วนทัดเทียมกับที่มีอยู่ในประเทศผู้นำในระดับนานาชาติ
4) บุคลากรที่ทำ งานวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพและความรู้ความสามารถอย่างจริงจังในสาขาของตน
5) ผลิตนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สามารถทำ การวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างความรู้และการเรียนรู้และนวัตกรรมได้

สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรมภูมิปัญญาและการเรียนรู้การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมความรู้ ความคิด ความประพฤติและคุณธรรม ของคน
1) คนไทยทุกคนมีทักษะและกระบวนการในการคิด การวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา มีความใฝ่รู้ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องเต็มตามศักยภาพ
2) คนไทยทุกคนมีความซื่อสัตย์สุจริตรู้จักผิดชอบชั่วดี มีระเบียบวินัย ประหยัดอดออม มีจิตสำ นึกความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และมีสุขภาพแข็งแรง
3) คนไทยทุกคนมีโอกาสและทางเลือกที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงอายุแต่ละวัยจากสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย มีคุณภาพ และยืดหยุ่นตามความต้องการ ความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน

การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และการเรียนรู้ของคนและสังคมไทย
1) เพิ่มสัดส่วนการสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศจากภาครัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.5 ของงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี และเพิ่มขึ้นตามสมรรถนะทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ และความจำ เป็นเร่งด่วนในการวิจัยและพัฒนาเฉพาะเรื่อง โดยจัดระบบการจัดสรรอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
2) มีการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และมนุษยศาสตร์ ทั้งที่เป็นการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยที่มุ่งการประยุกต์ใช้ประโยชน์ในบริบทของสังคมไทยมากขึ้น
3) มีบุคลากรเพื่อการวิจัยและพัฒนาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพในอัตราที่ใกล้เคียงกับที่มีในประเทศผู้นำ ในระดับนานาชาติ

การสร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ และเผยแพร่ความรู้และการเรียนรู้ เพื่อสร้างสังคมคุณธรรมภูมิปัญญาและการเรียนรู้
1) มีการพัฒนาความรู้และการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย
2) มีการใช้ความรู้เป็นฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย
3) มีการใช้ความรู้เป็นฐานในการพัฒนาในทุกภาคการผลิต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่นำ มาสู่รายได้ที่เพิ่มขึ้นของคนไทยพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรมภูมิปัญญาและการเรียนรู้

การส่งเสริมและสร้างสรรค์ทุนทางสังคม วัฒนธรรมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม บนฐานของศาสนา ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
1) สถาบันในสังคมทุกสถาบันสามารถทำ หน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันพัฒนาจิตใจ คุณภาพชีวิตที่ดีงามและมีความสุขของคนและสังคมไทยได้ตลอดไป
2) มีการฟื้นฟู พัฒนา และสร้างสรรค์พฤติกรรมของคนและสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เกิดความดีงามเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาจิตใจและคุณภาพชีวิตที่ดีงามและมีความสุขของคนและสังคมไทย

การจำกัด ลด ขจัด ปัญหาทางโครงสร้างที่ก่อ ให้เกิดและหรือคงไว้ซึ่งความยากจน ขัดสน ด้อยทั้งโอกาส และศักดิ์ศรีของคนและสังคมไทยเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม
1) ประชากรในวัยเรียนโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส ซึ่งครอบคลุมถึงกลุ่มผู้ยากไร้ผู้อยู่ห่างไกลที่เสียเปรียบ ผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ผู้พิการและทุพพลภาพ ทั้งที่อยู่ในเมืองและชนบทมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานสิบสองปีในรูปแบบที่หลากหลายที่จัดอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง
2) ประชากรผู้ด้อยโอกาสทุกกลุ่มมีโอกาสในการเข้าถึงและได้รับการบริการทางการศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพที่จัดอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
3) มีการบริหารและจัดการศึกษาที่เป็นอิสระ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชนอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
4) ประชาชน ชุมชน องค์กรประชาคมมีความเข้มแข็ง สามารถร่วมคิด ร่วมตัดสินใจกำ กับ ดูแล ตรวจสอบตลอดจนสนับสนุนการดำ เนินกิจกรรมสาธารณะที่มีผลกระทบต่อชุมชนและท้องถิ่นโดยรวม

การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการพัฒนาประเทศ
) มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของการศึกษาอย่างทั่วถึงและทัดเทียมกันทุกเขตพื้นที่การศึกษาที่มีความเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายอย่างมีระบบ
2) ประชาชนทุกคนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และสามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการเพิ่มพูนความรู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพและการดำ เนินชีวิตอย่างมีความสุขตามสมควร

การจัดระบบทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา ศาสนา ศิลป และวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาคนและสังคมไทย
1) ทุกส่วนของสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศมีส่วนร่วมระดมทุนเพื่อการเรียนรู้ของคนไทยทุกคน
2) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมในการร่วมลงทุนจัดการด้านการศึกษาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมในระดับที่เอกชนมีศักยภาพในการจัดมากขึ้น
3) มีการจัดสรรทรัพยากรจากการร่วมลงทุนของทุกส่วนในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพมีความหลากหลาย และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น: