วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551

แนวคิดการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

แนวคิดการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

โรงเรียนขนาดเล็กรูปแบบใหม่:เขตพื้นที่การศึกษาขนาดเล็ก เรื่องที่นักบริหารการศึกษากำลังให้ความสนใจรับฟังกันมากในขณะนี้คือมีอยู่เรื่องหนึ่งที่อยู่ใน Roadmap ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กรูปแบบใหม่ที่นำร่องอยู่ในขณะนี้ที่โรงเรียนบ้านปางแดง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และในวันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน 2548 ได้ดูรายการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ ทางช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการเวิร์คชอร์ป ทางการศึกษาที่มีนายก พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธาน ในวันนั้น ประธานได้เปิดประเด็นเกี่ยวกับบทบาทอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่คาดหวังเป็นอย่างไร ? ท่านนายกได้สรุปว่าอยากให้ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาเป็นเหมือน ผู้ว่าราชการจังหวัด ( CEO) ก็เลยอยากจะชวนคิดต่อไปว่า ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา น่าจะนำแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กมาปรับใช้กับเขตพื้นที่ขนาดเล็ก ไม่อยากให้ยึดติดกับแนวคิดการบริหารแบบเอากรอบอัตรากำลังเป็นตัวตั้ง เพราะทุกวันนี้พอพูดถึงคุณภาพการศึกษาหรือสภาพที่ไม่พึงพอใจในการให้บริการของเขตพื้นที่การศึกษาทีไร คำตอบหรือสูตรสำเร็จที่ได้ฟังคือ อัตรากำลังคนเรามีน้อย อัตรากำลังเรามีไม่ครบ คำตอบนี้คิดว่าเป็นคำตอบที่เชย สำหรับยุคนี้ การบริหารในยุคนี้ ต้องเล็กดี รสโต ต้องนำเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ ซึ่งมีสารพัดวิธีที่จะคิดจะทำทั้งคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนต โทรสาร ( Fax) E-book , E-Filling คำถามที่จะตามมาแล้วจะเอางบประมาณเหล่านี้มาจากไหน ? เรื่องอย่างนี้บอกได้ว่าไม่ยากทรัพยากรอยู่ใกล้ตัวแต่ท่านไม่ใช้ก็องค์กรปกครองท้องถิ่นไงละ ท่านเคยประชุม เคยปรึกษาหารือเขาหรือเปล่า เชิญเขาเข้ามาเป็นกรรมการเขตพื้นที่ ประชุมทีก็มีแต่ดีครับผม เหมาะสมครับท่าน ไม่เปิดโอกาสให้เขามีบทบาท มีส่วนร่วม ( Participation) ตามหลักธรรมาภิบาล(Goodgrovernanc) ในฐานะที่เขาเป็นผู้มีส่วนได้เสีย( Strakhdder) จากการจัดการศึกษาในฐานะผู้ปกครองและในฐานะผู้บริหาร/ตัวแทนของประชาชนในท้องถิ่น โดยอ้างแต่กฎระเบียบไปปิดกั้น โดยลืมนึกถึงผลลัพธ์ที่สังคมหรือท้องถิ่นจะได้รับโดยชอบธรรม แล้วอย่างนี้เราจะหวังได้อะไร จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเมื่อไม่รู้เขา เขาก็ไม่รู้เรา ทีนี้หันมาดูตัวเราที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รู้สึก สับสนปนกับความวังเวง ข้างบนก็ขาดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ข้างล่างก็ฟัดกันนัวเนีย ผู้บริหารหลายท่านก็เก็บอาการไม่อยู่ ก็ออกอาการข้าฯเคยใหญ่ เหตุไฉนมาบัดนี้ ถูกแย่งไปหมด ทั้งงบประมาณที่เคยได้บานเบอะมาถูกแบะเหลือนิดเดียว ความโอ่อ่าสง่างามในกาลก่อนมาถึงวินาทีนี้ แต่เพียงความเหี่ยวเฉา เพราะสูเจ้ามาแย่งของข้าไปที่แท้ทั้งสูและข้ามีภารกิจเดียวกันคือพัฒนาทรัพยากรอันมีค่าของชาติ คือ การสร้างคน คนจะไปสร้างงาน แล้วงานจะสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติ มุมอับหรือหลุมดำทางสังคมทุกวันนี้รากเหง้าทีแท้จริงมาจากแนวคิด ปรัชญาการบริหารการศึกษาของผู้บริหาร( บางกลุ่ม บางพวก แต่ครอบงำคนส่วนใหญ่ได้) ที่มีด้านทุนเชิงความคิดสร้างสรรต่ำ ขาดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและสอดคล้องกันสภาพสังคมปัจจุบัน การบริหารจัดการก็ไปลอกเลียนวัฒนธรรมองค์กรขององค์กรอื่นมาซึ่งมีภารกิจ และแหล่งที่มาไม่เหมือนกัน นำมาใช้ โดยเน้นผลประโยชน์ตอบแทน เน้นวัตถุนิยม เน้นและยกย่องการพัฒนาทางกายภาพมากกว่าจิต วิญญาณไม่คำนึงถึงความยั่งยืนและต่อเนื่อง คิดอีกทียังไม่สายเกินไปสำหรับเวลาเกือบสองปีที่ผ่านมาสำหรับเขตพื้นที่ที่จะกลับมาร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาในบริบทของเขตพื้นที่การศึกษาโดยยึดแนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กรูปแบบใหม่ที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารจัดการและไม่ยึดติดกับกรอบอัตรากำลังคนมากเกินไปต้องทำตัวให้จิ๋วแต่แจ๋ว โรงเรียนขนาดเล็กยังทำได้ แล้วสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขนาดเล็กทำไมจะทำไม่ได้

บุญชม แสนทาโจ

โรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาตินั้นหมายถึงโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนทุกระดับชั้นต่ำกว่า 120 คนลงมา ซึ่งในปีการศึกษา 2549 นี้ มีโรงเรียนขนาดเล็กจำนวน 10,876 โรง เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2548 จำนวน 172 โรง คิดเป็นร้อยละ1.58 และแนวโน้มในอนาคตโรงเรียนขนาดเล็กจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากโครงสร้างประชากรวัยเรียนในระดับการศึกษาพื้นฐานมีแนวโน้มลดลงประกอบกับผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพได้มาตรฐาน โรงเรียนขนาดเล็กเป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไข เพราะได้รับงบประมาณในการจัดการศึกษาจากรัฐในรูปเงินอุดหนุนตามจำนวนเด็ก และในขณะเดียวกันสังคมที่อยู่รอบๆโรงเรียนก็ไม่มีความพร้อมที่จะสนับสนุนทรัพยากรในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ที่สำคัญอย่างยิ่ง โรงเรียนขนาดเล็ก นอกจากจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นในอนาคตแล้ว โรงเรียนเหล่านี้ยังกระจายอยู่ตามตำบล หมู่บ้านในชนบท ซึ่งยังต้องพึ่งพาโรงเรียนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนอีกมาก แล้วจะหาวิธีการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้ให้มีความพร้อมทางด้านทรัพยากร สามารถบริหารจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพได้อย่างไร เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมกันคิด ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบ เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษามีการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย ทุกคนมีโอกาสได้เรียนรู้ในโรงเรียนที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องตลอดชีวิต
วิชัย แสงศรี

การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับอื่นๆ เพราะโรงเรียนขนาดเล็กถือว่าเป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบท ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กให้ได้มาตรฐานเท่ากับเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนชนบทให้ดีขึ้น ทั้งนี้แนวทางในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก เห็นว่า - โรงเรียนควรให้การศึกษาหรือความรู้ที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการของชุมชน มีลักษณะที่สอดคล้องเหมาะสมกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น - รูปแบบการจัดเรียนการสอนควรยึดหลักการแนวคิด "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นสำคัญ - ในขณะเดียวกัน ควรรู้จักนำสื่อหรือเทคโนโลยีทางการศึกษาต่างๆเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน โดยพิจารณาความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค-สาธารณูปการ และความสามารถในการใช้เครื่องมือของครู - นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งคือการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้โรงเรียนไม่จำเป็นที่จะต้องระดมเงินทุนเพียงอย่างเดียว โรงเรียนขนาดเล็กบางแห่งอาจมีปราชญ์ชาวบ้านซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่แล้วเข้ามาเป็นวิทยากรพิเศษ หรืออาจให้ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งการเรียนรู้ เช่น การมีป่าชายเลน ป่าชุมชน การทำเกษตรยั่งยืน การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ โรงเรียนสามารถนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ร่วมกับการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้แล้ว ผลลัพธ์ทางอ้อมคือผู้เรียนยังเกิดความรู้สึกผูกพัน หวงแหน และเห็นคุณค่าของชุมชนของตนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้สภาพปัจจุบันของโรงเรียนขนาดเล็กจะมีความไม่พร้อมในหลายๆด้าน แต่อยากให้มองว่าเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนามากกว่าเป็นข้อจำกัดหรืออุปสรรคทางการศึกษา
กมลวรรณ รอดจ่าย

ในเมื่อยอมรับว่า โรงเรียนขนาดเล็กเป็นแหล่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนในเขตชนบทห่างไกล อันส่งผลต่อสภาพความเป็นอยู่ของคนในชนบทนั้น ๆ ซึ่งเป็นปัญหาเชื่อมโยงมาถึงการย้ายถิ่นฐานของคนในชนบทอพยบเข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ เพื่อต้องการมีคุณภาพชิวิตที่ดีกว่า ทำให้เกิดปัญหความแออัดทางสังคมในเมืองต่อมา กลายเป็นปัญหาลูกโซ่ ไม่จบสิ้น ประกอบกับผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพได้มาตรฐานมากกว่า แนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้โรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้สามารถจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบทนั้นก็คือ การจัดสรรงบประมาณ แบบเป็นธรรม แทน แบบเสมอภาค โดยอาจเพิ่มงบประมาณสนับสนุนแบบอื่นนอกเหนือจากการให้งบประมาณสนับสนุนในรูปจำนวนนักเรียน(เงินรายหัว) เพิ่มขึ้นอีกตามความจำเป็น ซึ่งอาจต้องแบ่งประเภทของโรงเรียนตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม ความเป็นอยู่ในเขตชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ส่วนจะแบ่งอย่างไรนั้น คงต้องร่วมมือกันหลายฝ่ายในการระดมความคิดเห็นและให้ข้อมูล อย่างไรก็ตามคงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาให้ทุกคนมีโอกาสได้เรียนรู้ในโรงเรียนที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องตลอดชีวิต

เจริญศรี พันปี

ถ้าเรามองปัญหาและอุปสรรคของการบริหารโรงเรียน เป็น 2 ส่วน คือ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ประเด็นที่เรามักจะมองส่วนใหญ่เราจะเน้นไปที่ปัจจัยภายนอกเป็นหลัก แต่สิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ ปัจจัยภายในที่จะมีผลต่อความสำเร็จหรือลัมเหลวของโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ นั่นก็คือ เรื่องของแนวคิดและวิธีในการบริหารจัดการ อย่างเช่นแนวคิดหนึ่งที่ผมคิดว่าที่ผ่านมาทำให้การบริหารจัดการที่จะทำให้โรงเรียนไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเรามักจะแยกโรงเรียนออกจากชุมชน ที่ผ่านมาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ โรงเรียน ยังเน้นที่โรงเรียนและผู้บริหารเป็นศูนย์กลางมากเกินไป จึงทำให้สถานศึกษาแยกตัวออกจากชุมชน ผู้บริหารใช้การบริหารแบบสั่งการมากเกินไป แต่ต่อไปใน อนาคตด้วยสภาพการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ประกอบกับแรงบีบทางด้านการจัดสรรงบประมาณของรัฐ และความคาดหวังของชุมชน จะทำให้สถานศึกษาต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและประสบความสำเร็จได้ โดยในส่วนของผู้บริหาร ก็จะต้องเน้นและให้ความสำคัญแก่ผู้มีส่วนได้เสียกับสถานศึกษา (Stakeholders) มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ชุมชนท้องถิ่น สังคม และหน่วยงานอื่น อาทิ มหาวิทยาลัย หรือผู้ประกอบการที่มีการใช้ผลผลิตของสถานศึกษานั้น ๆ เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้ผู้มีส่วนได้เสียดังกล่าวได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และกำหนดทิศทาง นโยบาย ตลอดจนการดำเนินงานของสถานศึกษาในหลาย ๆ รูปแบบ ตามความเหมาะสม

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์

ปัญหาคงไม่ใช่ที่ขนาดเล็ก แต่ปัญหาคือเรื่องของคุณภาพ ผมยังเห็นว่าแนวคิดของท่านรัฐมนตรีอดิศัยที่มีแนวคิดทำโรงเรียนเล็ก ๆ ให้มีคุณภาพประมาณว่า Small แต่ Smart ว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ ซึ่งต่อไปโรงเรียนขนาดเล็กจะลดลงเรื่อย ๆ ตามความก้าวหน้าของการคมนาคม แต่สิ่งที่น่าคิด คือโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล และยังคงให้บริการเด็กและนักเรียนอยู่ ดังนั้นผมคิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดของการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กคือ การจัดสรรทรัพยากรตามความต้องการอันจำเป็น เพิ่มเงินอุดหนุนตามฐานของการพัฒนา และที่สำคัญคืออย่าหลงลืมว่าโรงเรียนแบบนี้ยังมีในเมืองไทย

นภาเดช บุญเชิดชู

สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้โรงเรียนขนาดเล็ก เป็นโรงเรียนที่เล็กแต่แจ๋ว ก็คือ การสร้าง Net work ครับ ถ้าเราลองมองการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เราอาจจะพบว่า องค์กรขนาดใหญ่มักจะประสบปัญหากับการปรับตัวให้อยู่รอดภายใต้การเปลี่ยนแปลงเสมอ ในขณะที่องค์กรขนาดเล็กกับมีความสามารถในการปรับตัวในอยู่รอดได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลง เว้นแต่องค์กรขนาดเล็กนั้นจะอยู่หรือดำเนินงานภายใต้การไม่มีเครือข่ายที่ดีพอ ผมจึงมีความคิดว่ากลยุทธ์ที่โรงเรียนขนาดเล็ก จะต้องคิดอย่างหนักและให้ความสำคัญอย่างมาก ก็คือ จะสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง และเกิดประโยชน์กับโรงเรียนได้อย่างไร

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์






ไม่มีความคิดเห็น: