วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การบริหารการเงินของโรงเรียน


ขอบข่ายในการบริหารการเงินโรงเรียนควรจะประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. การวางแผนการเงินของโรงเรียน มีการคาดการล่วงหน้าเกี่ยวกับการใช้จ่ายและดำเนินการเกี่ยวกับการเงินของโรงเรียน ซึ่งผู้บริหารจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบกระเทือนที่มีต่อการให้ได้มาหรือการจ่ายไปซึ่งการเงินของโรงเรียน เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ รายได้ของประชาชนในท้องถิ่น ฯลฯ เป็นต้น
2. การจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของโรงเรียนโดยส่วนรวม เช่น ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง วัสดุครุภัณฑ์ต่าง ๆ ของโรงเรียนเป็นต้น
3. การควบคุมการดำเนินงานทาง ด้านการเงิน เพื่อให้มีประสิทธิภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานและกฎเกณฑ์เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบไปด้วยระบบบัญชี และวิธีการต่าง ๆ ในการตรวจสอบเงินและทรัพย์สินของโรงเรียน
4. การจัดการเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหลักการทางเศรษฐศาสตร์ หลักการทางการบริหารและรวมทั้งหลักการคลังทั่วไป การบริหารงานมีความสำคัญต่อผู้บริหารมาเนื่องจากผลของการปฏิบัติงานกระทบ กระเทือนทั้งต่อหน่วยงานและประเทศชาติ หน่วยงานจะพัฒนาได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการบริหารการเงินว่าดีหรือไม่เพียงใด หากผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเงินของหน่วยงานของตนและหน่วยงานที่ต้องเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ผลก็จะทำให้หน่วยงานพัฒนาและได้ชื่อว่าเป็นผู้บริหารงานที่มีความสามารถ หน่วยงานที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยเฉพาะโรงเรียน เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องใช้เงินในการดำเนินงานและพัฒนาตนเอง ผู้บริหารโรงเรียนจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารการเงินของโรงเรียนเป็นอย่างดีด้วย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการจัดสรรเงินเพื่อการศึกษา แนวปฏิบัติในการบริหารการเงินในโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย งานการรับเงิน, การจ่ายเงิน, การเก็บรักษาเงิน, การนำส่ง, การซื้อ, การจ้าง, บัญชีพัสดุ, การตรวจสอบและรายงานการเงินเป็นต้น การเงินที่ผู้บริหารการศึกษาควรทราบเพื่อยึดเป็นแนวปฏิบัติตามระเบียบของราชการ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามคำสั่งของทางราชการ บางครั้งก็เปลี่ยนไปตามฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ บางครั้งก็เปลี่ยนไปตามความผันผวนทางการเมืองและบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติและหลักการที่ผู้บริหารระดับสูงในส่วนกลางยึดถือตามแนวที่ตนคิดว่าดีหรือควรปฏิบัติ ผู้บริหารการศึกษาระดับสูงควรจะทำหน้าที่หาเงินหรือจัดตั้งงบประมาณเพื่อการศึกษาด้วย มิใช่มีหน้าที่เพียงใช้เงินอย่างผู้บริหารระดับโรงเรียนส่วนมากทำอยู่เพียงอย่างเดียว
ความไม่ทราบทฤษฎีการเงินโรงเรียนทำให้ผู้บริหารการศึกษาในประเทศไทยจัดสรรงบประมาณและการเงินให้แก่โรงเรียนตามความพอใจของส่วนบุคคลและตามวิธีทางการเมืองตลอดมาทุกยุคทุกสมัย จะเห็นได้ว่าสภาพโรงเรียนปัจจุบันนี้โรงเรียนที่ดีอยู่แล้วกลับได้งบประมาณมากขึ้นทุกปี แต่โรงเรียนที่ขาดแคลนก็ยิ่งขาดแคลนลง เพราะการให้เงินงบประมาณมักจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของงบประมาณที่ได้รับเดิม จึงทำให้ดูคล้ายกับว่าการได้รับงบประมาณของโรงเรียนมีสภาพเป็นโรงเรียนที่ต้องการเงินมากกลับได้น้อยโรงเรียนที่ต้องการเงินน้อยกลับได้มาก
ผู้บริหารมีหน้าที่ในการบริหารการเงินให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกฎเกณฑ์หน้าที่เกี่ยวกับการเงินพอสรุปได้ดังนี้
ก. งานเกี่ยวกับการเงิน
- ทำการรับเงินค่าธรรมเนียม
- รับเงินบริจาค
- รับเงินผลประโยชน์อื่น ๆ
- รับเงินทุนการศึกษา ซึ่งมีผู้มอบให้เพื่อจ่ายเป็นทุนอุดหนุนการศึกษา
- รับฝากเงินรายได้ของหน่วยงานในสังกัด
- รับฝากเงินค่าประกันของเสียหาย และเงินประกันสัญญา
- จ่ายเงินงบประมาณทุกหมวด
- จ่ายเงินรายได้ สำหรับการดำเนินงานของหน่วยงาน
- จ่ายเงินบริจาคเพื่อกิจการของหน่วยงาน
- จ่ายเงินอุดหนุนการศึกษา
- จ่ายคืนเงินฝาก
- ทำฎีกาเบิกจ่ายงบประมาณทุกหมวด และเงินนอกงบประมาณ
- ตรวจสอบใบสำคัญและหลักฐานรับ - จ่ายเงินทุกประเภท
- คำนวณ และเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพื่อแจ้งและส่งสรรพากร
- ดูแลรักษา เงินสดให้ถูกต้อง เพื่อส่งมอบกรรมการรักษาเงิน
- จัดเตรียมใบเสร็จรับเงิน เมื่อรับเงินประเภทต่าง ๆ
- เบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
- เบิกเงินและนำเงินฝากธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์
- เก็บหลักฐานการเงิน
- จัดทำหลักฐานจ่ายเงินเดือนและลูกจ้าง
- ทำใบส่งเงิน กระทรวงการคลัง
ข. งานเกี่ยวกับบัญชี
- จัดทำบัญชีการเงินประเภทต่าง ๆ ตามหลักบัญชีส่วนราชการ ทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ
- ทำบัญชีลูกหนี้เงินยืมทดรองราชการ และเงินยืมนอกงบประมาณ
- ลงทะเบียนรายจ่ายย่อยตามงบประมาณ
- ลงทะเบียนรายจ่ายเงินรับฝากต่าง ๆ
- จัดทำรายงานการเงินทุกประเภท
- จัดทำงบเดือนเงินงบประมาณทุกหมวด
- จัดทำงบเดือนรายได้ของหน่วยงาน
- จัดทำทะเบียนการชำระเงินค่าบำรุงของนิสิต
- ดำเนินการรวบรวมรายละเอียด ตั้งงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ของหน่วยงาน
- รวบรวมรายละเอียดเสนอตั้งงบประมาณประจำปี
- ดำเนินการจัดทำรายละเอียดของเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณสำหรับหน่วยงาน
- ดำเนินการจัดสรรเงินไปตั้งจ่ายทางจังหวัดสำหรับหน่วยงานในสังกัด
- ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ
- ดำเนินการขอโอน เปลี่ยนแปลงหมวดเงินงบประมาณ เมื่อจำเป็น
- ดำเนินการขออนุมัติกันเงิน ตัดฝาก ขยายเวลาตัดฝาก เงินงบประมาณ
- ดำเนินการ ขออนุมัติจัดซื้อ จ้างทำ วัสดุ ครุภัณฑ์ ตลอดจนการจัดสร้างอาคารต่าง ๆ
- ดำเนินการ จัดทำสัญญาซื้อขาย จ้างทำวัสดุครุภัณฑ์ ตลอดจนสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง
ค. งานเกี่ยวกับพัสดุครุภัณฑ์
- ดำเนินการ จัดหา วัสดุ ครุภัณฑ์ แบบพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในกิจการของหน่วยงาน
- ดูแลรักษา ซ่อมแซม เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ในกิจการของหน่วยงาน
- ดูแลรักษาซ่อมแซมยานพาหนะ
- ดูแลรักษาและซ่อมแซมอาคารต่าง ๆ
- จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์
- จัดทำบัญชีพัสดุ
- เขียนหมายเลขประจำครุภัณฑ์
- จ่ายพัสดุ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
- เก็บรักษาทะเบียนยานพาหนะ
- สำรวจวัสดุครุภัณฑ์คงเหลือ
- จัดทำรายงานการสำรวจทรัพย์สิน
- จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
ง. งานเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน
- ตรวจนับเงินสดคงเหลือประจำวันที่ทำการตรวจสอบ
- ตรวจหลักฐานการรับเงิน
- ตรวจหลักฐานและใบสำคัญการจ่ายเงิน
- ตรวจสอบการลงบัญชีต่าง ๆ
- ตรวจสอบทะเบียนต่าง ๆ
- ตรวจสอบบัญชีพัสดุครุภัณฑ์
- ตรวจสอบหลักฐานการฝากเงินกับธนาคาร
- รายงานการตรวจสอบและเสนอแนะวิธีการแก้ไข
ในการปฏิบัติ อาจจะมีเปลี่ยนแปลงแนวการจัดงานต่างไปจากข้างต้นที่กล่าวมาบ้างทั้งนี้แล้วแต่ผู้บริหารที่จะพิจารณาตามขนาด และงานที่ต้อง



เรืองศรี ศรีทอง และคณะ.2529. การบริหารการเงินของโรงเรียน. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ใบจ่ายเงินเดือน