แนวปฏิบัติตามระเบียบการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2535
การลาแบ่งออกเป็น 9 ประเภท คือ
1. การลาป่วย (นับวันลาเฉพาะวันทำการ)
2. การลาคลอดบุตร
3. การลากิจส่วนตัว (นับวันลาเฉพาะวันทำการ)
4. การลาพักผ่อน (นับวันลาเฉพาะวันทำการ)
5. การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
6. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
7. การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย
8. การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
9. การลาติดตามคู่สมรส
สาระสำคัญ
- การลาให้นับวันลาตามปีงบประมาณ
- ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนสามัญและลูกจ้างประจำให้ใช้ระเบียบนี้
- ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาของข้าราชการพลเรือนในกรมให้เป็นไปตามตาราง หมายเลข 14 ในสถานศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นไปตามตารางหมายเลข 3
- ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต
- ในกรณีจำเป็นหรือรีบด่วนมายื่นใบลาก่อนหยุดราชการไม่ได้ จะลาทางโทรศัพท์ โทรเลขหรือเขียนใบลาขึ้นเองฝากผู้อื่นมายื่นก็ได้ เมื่อมาปฏิบัติราชการได้แล้วให้ยื่นใบลา ตามแบบในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
การนับวันลา
- การนับวันลาให้นับตามปีงบประมาณคือ วันที่ 1 ตุลาคม ของปีถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป
- คำว่า “วัน” ในแบบใบลา หมายถึง นับวันหยุดรวมด้วย การนับเฉพาะวันทำการจะใช้คำว่า “วันทำการ”
- การลาป่วย ลากิจส่วนตัว ลาพักผ่อน และหรือ การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ซึ่งเป็นการลาต่อเนื่องจากการลาคลอด ให้นับเฉพาะวันทำการ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการ
คำนวณนับวันลาตามปีงบประมาณ การนับวันในรอบปี เพื่อพิจารณาเลื่อนเงินเดือนประจำปี
- การนับวันลาเพื่อประโยชน์ในการเสนอหรือจัดส่งใบลาอนุญาตให้ลาและคำนวณวันลาให้นับต่อเนื่องกัน โดยนับวันหยุดราชการที่อยู่ระหว่างวันลาประเภทเดียวกันรวมเป็นวันลาด้วยผู้มีอำนาจอนุญาตการลาต้องตรวจดูจำนวนวันลาประเภทนั้นแล้วอนุญาตตามอำนาจที่ระเบียบกำหนด
หลักเกณฑ์การลากรณีต่าง ๆ ที่ควรทราบ
1. ตั้งแต่เริ่มรับราชการ ข้าราชการผู้ใดยังไม่เคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือ ไม่เคยไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หากประสงค์จะอุปสมบท หรือไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ให้ลาโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกิน 120 วัน และต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
2. ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือข้าราชการที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งประสงค์จะลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตก่อนวันอุปสมบท หรือก่อนวันเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ไม่น้อยกว่า 60 วัน
3. กรณีมีเหตุจำเป็นไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาก่อนกำหนดตามข้อ 2. ให้ชี้แจงเหตุผลประกอบการลา กรณีเช่นนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาให้ลาหรือไม่ก็ได้
การลาคลอด การลาคลอดบุตรเป็นการลาหยุดราชการของสตรีซึ่งมีครรภ์ในช่วงเวลาก่อนคลอดและหลังคลอด
1. มีสิทธิลาคลอดบุตรครั้งหนึ่งได้ 90 วัน และให้นับวันหยุดราชการรวมเป็นวันลาด้วย โดยได้รับเงินเดือน และไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์
2. ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตร ให้ลาได้ไม่เกิน 150 วันทำการโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน
3. จะเสนอหรือจัดส่งใบลาหรือในวันที่ลาก็ได้
4. ในกรณีที่ไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้จะให้ผู้อื่น (ใครก็ได้) ลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้วต้องเสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว
5. ระหว่างลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรแมจะมีราชการจำเป็นเกิดขึ้น ก็จะเรียกตัวมาปฏิบัติราชการในระหว่างลานั้นไม่ได้
6. การลาคลอดบุตรควบเกี่ยวกับการลาประเภทใด ซึ่งยังไม่ครบกำหนดวันลาของการลาประเภทนั้น ให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลง และให้นับเป็นการลาคลอดบุตร
ลากิจส่วนตัว การลากิจส่วนตัวเป็นการลาหยุดราชการเพื่อทำกิจธุระส่วนตัว เช่น ลาหยุดราชการเพื่อไปทัศนศึกษา ลากิจส่วนตัวเพื่อไปทำนิติกรรมสัญญา
การลากิจส่วนตัวอาจแบ่งเป็น 2 กรณี
1. การลากิจส่วนตัว (ด้วยเหตุอื่นฯ)
2. การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร
- การลากิจส่วนตัวให้เสนอหรือจัดส่งใบลาจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงหยุดราชการ
- หากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถรอรับการอนุญาตได้ทันให้เสนอ หรือ จัดส่งใบลาพร้อมด้วยระบุเหตุจำเป็นแล้วหยุดราชการไปก่อนได้ แต่ต้องชี้แจงเหตุผลให้ผู้มีอำนาจอนุญาตทราบโดยเร็ว
- การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต้องลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตร
- เมื่อมีราชการจำเป็นเกิดขึ้นระหว่างลากิจส่วนตัว ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ มีอำนาจอนุญาตเรียกตัวมาปฏิบัติราชการก็ได้
การลาพักผ่อน การลาพักผ่อนเป็นการลาหยุดราชการเพื่อพักผ่อนประจำปี
1. มีสิทธิพักผ่อนปีหนึ่งได้ 10 วันทำการ
2. ผู้ที่ได้รบการบรรจุครั้งแรก หรือ บรรจุกลับเข้ารับราชการในปีงบประมาณใดไม่ครบ 6 เดือน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนในปีงบประมาณนั้น เมื่อครบ 6 เดือน เมื่อใดก็มีสิทธิลาพักผ่อนเมื่อนั้น
3. ถ้าในปีใดข้าราชการมิได้ลาพักผ่อนประจำปี หรือ ลาพักผ่อนประจำปีแล้วแต่ไม่ครบ 10 วันทำกา ให้สะสมวันที่ยังมิได้ลาในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้ แต่วันลาพักผ่อนสะสมรวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันจะต้องไม่เกิน 20 วันทำการ
4. ผู้ที่ได้รับราชการติดต่อกันมานานแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ให้มีสิทธินำวันลาพักผ่อนสะสมรวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันได้ไม่เกิน 30 วันทำการ
5. การอนุญาตให้ลาพักผ่อนผู้มีอำนาจจะอนุญาตให้ลาครั้งเดียว หรือ หลายครั้งก็ได้โดยมิให้เสียหายแก่ราชการ
6. การขออนุญาตลาพักผ่อนต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจแล้วจึงหยุดราชการได้
7. ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาและมีวันหยุดภาคการศึกษา หากได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกินกว่าวันลาพักผ่อนไม่มีสิทธิลาพักผ่อน ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
8. ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาพักผ่อนซึ่งหยุดราชการไปยังไม่ครบกำหนด ถ้ามีราชการจำเป็น ผู้บังคับบัญชา หรือ ผู้มีอำนาจจะเรียกตัวมาปฏิบัติราชการก็ได้
การลาอุปสมบท หรือ การลาไปประกอบพิธีฮัจย์
1. ตั้งแต่เริ่มรับราชการ ข้าราชการผู้ใดยังไม่เคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือ ไม่เคยไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หากประสงค์จะอุปสมบท หรือไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ให้ลาโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกิน 120 วัน และต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
2. ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือข้าราชการที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งประสงค์จะลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตก่อนวันอุปสมบท หรือก่อนวันเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ไม่น้อยกว่า 60 วัน
3. กรณีมีเหตุจำเป็นไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาก่อนกำหนดตามข้อ 2. ให้ชี้แจงเหตุผลประกอบการลา กรณีเช่นนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาให้ลาหรือไม่ก็ได้
4. ผู้ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ต้องอุปสมบท หรือออกเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ภายใน 10 วัน นับแต่วันเริ่มลา และเมื่อลาสิกขาแล้วต้องกลับมารายงานตัว เข้าปฏิบัติราชการภายใน 5 วัน นับแต่วันลาสิกขา หรือเดินทางกลับถึงประเทศไทย (กรณีลาสิกขาก่อน เดินทางกลับถึงประเทศไทยก่อนวันครบกำหนดวันลาต้องรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการภายใน 5 วัน นับแต่วันลาสิกขา หรือวันเดินทางกลับถึงประเทศไทย แต่ถ้าอุปสมบทหรือประกอบพิธีฮัจย์ครบตามกำหนดเวลา ต้องรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการวันถัดไป หากเลยกำหนดต้องจัดส่งใบลา)
5. ผู้ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ระหว่างปิดภาคการศึกษา เมื่อลาสิกขาหรือเดินทางกลับถึงประเทศไทยแล้ว ต้องรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการภายใน 5 วัน นับแต่วันลาสิกขา หรือวันเดินทางกลับถึงประเทศไทย ถึงแม้จะเป็นช่วงปิดภาคเรียนก็ตาม
6. ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ แต่มีปัญหาหรืออุปสรรคทำให้ไม่สามารถอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจย์ตามที่ขอลาไว้ เมื่อได้รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปกติและขอถอนวันลา ให้ถือว่าวันที่ได้หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัว
5. การลาเข้ารับการระดมพล เข้ารับการฝึกวิชาทหาร หรือเข้ารับการทดลองความพรั่งพร้อม
ให้ได้รับเงินเดือนเต็มตลอดเวลาที่เข้ารับการระดมพล เข้ารับการฝึกวิชาทหาร
หรือ เข้ารับการทดลองความพรั่งพร้อม แต่ถ้าพ้นระยะเวลาของการดังกล่าวแล้วไม่มารายงานตัว เพื่อเข้าปฏิบัติราชการภายใน 7 วัน ให้งดจ่ายเงินเดือนหลังจากนั้นไว้จนถึงวันเข้าปฏิบัติราชการ
6. การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือ ปฏิบัติการวิจัย
เป็นการลาหยุดราชการเพื่อไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ตามระเบียบว่าด้วยการให้
ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน ภายในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
7. การลาไปปฏิบัติงานในองค์การต่างประเทศ
ให้เสนอ หรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึง รัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดังนี้
1.การไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิก และเป็นวาระที่จะส่งไป
2. รัฐบาลไทยมีข้อผูกพันที่จะต้องส่งไปตามความตกลงระหว่างประเทศ
3. ประเทศไทยต้องส่งไปปฏิบัติงานเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประเทศตามความต้องการของรัฐบาลไทย
4. อื่นๆ นอกเหนือจากข้อ 1-3
8. การลาติดตามคู่สมรส
1.ต้องเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย
2. คู่สมรสเป็นข้าราชการ หรือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
3. คู่สมรสไปต่างประเทศเพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือ ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
4. ลาติดตามคู่สมรสไม่เกิน 2 ปี และขอลาต่อได้ แต่ขอลาต่อได้อีกรวมแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี
5. ไม่ได้รับเงินเดือนระหว่างลาติดตามคู่สมรส
6. ให้เสนอ หรือ จัดส่งใบลาผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2535
- พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535
วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำตราสัญลักษณ์(ภาพเครื่องหมายราชการ)ขึ้นใหม่ และได้แจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะร...
-
1. เงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ จัดอยู่ในงบประมาณหมวดใด ก. งบบุคลากร ข. งบดำเนินการ ค. งบเงินอุดหนุน ง. งบอื่นๆ 2. ค่าตอบแทน หมายถึง ก. เงินที่จ...
-
1. ข้าราชการครูซึ่งปฏิบัติราชการที่สถานศึกษา ไม่มีสิทธิลาประเภทใด ก. ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ข. ลาพักผ่อน ค. ลาอุปสมบท ง. ลาเข้ารับการ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น