วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา และกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติมพ.ศ. ๒๕๕๑
กำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติมในจังหวัด กาญจนบุรี เชียงใหม่ ปราจีนบุรี มหาสารคาม เลย พัทลุง และอุทัยธานี จังหวัดละ ๑ เขต (รวมทั้งหมด ๑๘๕ เขต )
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

กฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๑ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พิจารณาดำเนินการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ในด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ
ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไปไปยังคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา หรือสถานศึกษาในอำนาจหน้าที่ของตน แล้วแต่กรณี
(๑) ด้านวิชาการ ๑๗ เรื่อง
(๒) ด้านงบประมาณ ๒๒ เรื่อง
(๓) ด้านการบริหารงานบุคคล ๒๐ เรื่อง
(๔) ด้านการบริหารทั่วไป ๒๒ เรื่อง
รวม ๘๑ เรื่อง
ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณหรืออนุโมทนา
พ.ศ. ๒๕๔๗
- รัฐมนตรีสำหรับ การบริจาค ๑๐ ล้านบาทขึ้นไป
- หัวหน้าส่วนราชการ การบริจาค ๕ ล้านบาทขึ้นไป ไม่ถึง ๑๐ ล้านบาท
- ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน บริจาคไม่ถึง ๕ ล้านบาท



หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา
ตำแหน่งตามมาตรา 38 ข (1) (2)
ประเภทการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา แบ่งเป็น 3 กรณี ดังนี้
1. การย้ายกรณีปกติ ได้แก่
1.1 การย้ายเพื่ออยู่รวมกับคู่สมรส
1.2 การย้ายเพื่อดูแลบิดา มารดา
1.3 การย้ายกลับภูมิลำเนา
2. การย้ายกรณีพิเศษ ได้แก่
2.1 การย้ายเนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง
2.2 การย้ายเนื่องจากถูกคุกคามต่อชีวิต
2.3 การย้ายเพื่อดูแลบิดามารดา หรือคู่สมรส ซึ่งเจ็บป่วยร้ายแรง
3. การย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ได้แก่
3.1 การย้ายเพื่อแก้ปัญหาการบริหารจัดการในหน่วยงานการศึกษา
3.2 การย้ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
คุณสมบัติ
ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และได้ ปฏิบัติงานในหน่วยงานการศึกษาปัจจุบันมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอ ไม่อยู่ระหว่างลาศึกษาต่อเต็มเวลา
กรณีการย้ายสับเปลี่ยน ในวันที่ยื่นคำร้องขอย้าย ผู้ขอย้ายต้องเป็นผู้ที่มีอายุราชการเหลือไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือนนับถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีที่ครบเกษียณอายุราชการ
ให้ผู้ประสงค์ขอย้ายยื่นคำร้อง ตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนดต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ได้ปีละ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ในระหว่างวันที่ 1 – 15 กุมภาพันธ์ และครั้งที่ 2 ในระหว่างวันที่ 1 – 15 สิงหาคม ทั้งนี้ คำร้องขอย้ายที่ยื่นระหว่างวันที่ 1 – 15 กุมภาพันธ์ ให้ใช้พิจารณาย้ายได้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคมของปีเดียวกัน และคำร้องขอย้ายที่ยื่นระหว่างวันที่ 1 – 15 สิงหาคม ให้ใช้พิจารณาย้ายได้ถึงวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป หากพ้นกำหนดเวลา คำร้องใดไม่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้ถือว่าคำร้องขอย้ายนั้นเป็นอันยกเลิก
เพื่อประโยชน์ในการย้าย จึงกำหนดขนาดสถานศึกษา เป็น 4 ขนาด ดังนี้
5.1 ขนาดเล็ก มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 499 คนลงมา
5.2 ขนาดกลาง มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 500 – 1,499 คน
5.3 ขนาดใหญ่ มีจำนวนนักเรียน ตั้งแต่ 1,500 – 2,499 คน
5.4 ขนาดใหญ่พิเศษ มีจำนวนนักเรียน ตั้งแต่ 2,500 คนขึ้นไป

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา ๒๕๔๗
ข้อ ๕ ให้สถานศึกษาเริ่มทำงานเวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น หยุดกลางวัน ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น เป็นเวลาทำงานตามปกติ โดยมีวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ คือวันเสาร์และวันอาทิตย์ หยุดราชการเต็มวันทั้งสองวัน
ต้องมีเวลาทำงานสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า ๓๕ ชั่วโมง
วันปิดภาคเรียน ให้ถือเป็นวันพักผ่อนของนักเรียน ซึ่งสถานศึกษาจะอนุญาตให้ข้าราชการหยุดพักผ่อนด้วยก็ได้ แต่ถ้ามีราชการจำเป็นให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการเหมือนการมาปฏิบัติราชการปกติ
ปลัดประทรวงศึกษาธิการ รักษาการ
ประกาศวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗
นายอดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๕ โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี ๔ สถาน ดังนี้
(๑) ว่ากล่าวตักเตือน
(๒) ทำทัณฑ์บน
(๓) ตัดคะแนนความประพฤติ
(๔) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติไม่ดี
ของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป
ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมาย
เป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา

ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
อดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา ๒๕๔๘
ข้อ ๕ การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษาจำแนกเป็น ๓ ประเภท
๑. การพาไปนอกสถานศึกษาไม่ค้างคืน ( ผู้อำนวยการสถานศึกษาอนุญาต)
๒. การพาไปนอกสถานศึกษาค้างคืน ( ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาอนุญาต)
๓. การพาไปนอกราชอาณาจักร ( หัวหน้าส่วนราชการอนุญาต )
- ต้องได้รับอนุญาต
- หัวหน้าสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ควบคุม มีครูเป็นผู้ช่วยควบคุมในการเดินทาง ครู ๑ คนต่อนักเรียนไม่เกิน ๓๐ คน ถ้ามีนักเรียนและนักศึกษาหญิงไปด้วย ให้มีครูหญิงควบคุมไปด้วยตามความเหมาะสม
ปลัดประทรวงศึกษาธิการ รักษาการ
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา ๒๕๔๗
ข้อ ๕ กำหนดเวลาชักธงชาติขึ้นลง
๑. วันเปิดเรียนชักขึ้นเวลาเข้าเรียน ชักลงเวลา ๑๘.๐๐ น
๒. วันปิดเรียนชักขึ้นเวลา ๐๘.๐๐ น ชักลงเวลา ๑๘.๐๐ น
ข้อ ๗ ในโอกาสและพิธีสำคัญ ให้ชักและประดับธงชาติ ณ สถานศึกษาตามกำหนดวันและระยะเวลาดังนี้
๑. วันขึ้นปีใหม่ วันที่ ๑ มกราคม ๑ วัน
๒. วันมาฆะบูชา ๑ วัน
๓. วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีราชวงศ์ วันที่ ๖ เมษายน ๑ วัน
๔. วันสงกรานต์ วันที่ ๑๓ เมษายน ๑ วัน
๕. วันฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๑ วัน
๖. วันพืชมงคล ๑ วัน
๗. วันวิสาขบูชา ๑ วัน
๘. วันอาฬสาหบูชา ๑ วัน
๙. วันเข้าพรรษา ๑ วัน
๑๐. วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินีนารถ วันที่ ๑๒สิงหาคม ๑ วัน
๑๑. วันสหประชาชาติ ๒๔ ตุลาคม ๑ วัน
๑๒. วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ ๕,๖และ ๗ ธันวาคม ๓ วัน
๑๓. วันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๑ วัน
ข้อ ๘ การปฏิบัติกรณีทางราชการประกาศให้ลดธงชาติลงครึ่งเสา ให้ชักธงชาติขึ้นจนสุดยอดของเสา เมื่อถึงยอดเสาแล้วจึงลดลงให้อยู่ในระดับความสูงประมาณ ๒ ใน ๓ ส่วนของความสูงของเสาธงนั้น และเมื่อจะชักธงลง ให้ชักธงขึ้นให้ถึงยอดเสาก่อน แล้วจึงชักธงลงตามปกติ
ปลัดประทรวงศึกษาธิการ รักษาการ
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗
อดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


ไม่มีความคิดเห็น: