วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การเก็บรักษาเงิน

การเก็บรักษาเงิน ตามวงเงินที่กระทรวงการคลังอนุญาต โดยแยกเป็นเงินแต่ละประเภทได้ ดังนี้

1. เงินรายได้สถานศึกษา (ตามหนังสือ สพฐ.ที่ ศธ 04002/383 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2549)
วงเงินสำรองจ่าย ณ โรงเรียน /สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่เกิน 120 คน ไม่เกินวันละ 20,000 บาท
วงเงินฝากธนาคาร 30,000 บาท
- โรงเรียนที่มีนักเรียนเกิน 120 คน ขึ้นไป 30,000 บาท วงเงินฝากธนาคารไม่เกิน 1 ล้านบาท
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 100,000 บาท วงเงินฝากธนาคาร ไม่เกิน 5 ล้านบาท

สำหรับโรงเรียนที่มีการจัดอาหารกลางวัน (ที่มิได้มาจากเงินงบประมาณ) ให้มีวงเงินสำรองจ่าย ณ โรงเรียนได้เพิ่มอีกไม่เกินวันละ 20,000 บาท
2. เงินรายได้สถานศึกษาส่วนที่เกินวงเงินเก็บรักษาตามข้อ 1
2.1 โรงเรียนให้นำเงินรายได้สถานศึกษาส่วนที่เกิน ฝากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา / โรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิกเงิน ให้นำเงินรายได้สถานศึกษาส่วนที่เกิน ฝากกรมบัญชีกลาง / สำนักงาน คลังจังหวัด ณ อำเภอ แล้วแต่กรณี
3. ดอกผลที่เกิดจากเงินฝากธนาคารถือเป็นรายได้สถานศึกษา
4. ให้นำเงินรายได้สถานศึกษาฝากธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเดียวกันกับท้องที่ตั้งของโรงเรียน / สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หากท้องที่ นั้นไม่มีธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจให้บริการก็นำฝากธนาคารพาณิชย์อื่นภายในท้องที่อำเภอเดียวกันได้ สำหรับประเภทเงินฝาก ให้อยู่ใน ดุลยพินิจของโรงเรียน / สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ
5. เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เก็บเงินสดไว้สำรองจ่าย วันละไม่เกิน 10,000.- บาท ส่วนที่เกินให้นำฝากเข้าบัญชีธนาคารประเภท ออมทรัพย์ชื่อบัญชี “เงินอุดหนุนทั่วไป........................”
6. เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ให้นำส่งสรรพกรภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
7. เงินประกันสัญญา ให้นำฝากส่วนราชการผู้เบิก
8. เงินรายได้แผ่นดินให้นำส่งอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ถ้าเกิน 10,000.- บาท ให้นำส่งคลังอย่างช้า ภายใน 7 วันทำการ

ไม่มีความคิดเห็น: