วิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการไทย
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการ ในช่วงระยะปี พ.ศ.2551 - พ.ศ.2555ไว้
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการ ในช่วงระยะปี พ.ศ.2551 - พ.ศ.2555ไว้
ระบบราชการไทยมุ่งเน้นประโยชน์สุขของประชาชนและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติมีขีดสมรรถนะสูง สามารถเรียนรู้ ปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงโดยยึดมั่นในหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาล
ระบบราชการไทยที่พึงประสงค์จะต้องให้คุณค่าความสำคัญและยึดมั่นในปรัชญา หลักการ และแนวทาง ดังต่อไปนี้
1. ต้องให้ประชาชนเป็น “ศูนย์กลาง” ในการทำงาน รับฟังความคิดเห็น และตอบสนองความต้องการ ลดขั้นตอนและภาระในการติดต่อของประชาชน แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นที่พึ่งของประชาชนได้
2. ปรับเปลี่ยนบทบาทของระบบราชการให้เป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวก ปรับขนาดกำลังคนและใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ไม่แทรกแซงและขยายตัวจนเป็นภาระของประเทศ หรือกระทบต่อสิทธิเสรีภาพขอประชาชน
3. ประสานการทำงานกับผู้บริหารราชการแผ่นดินฝ่ายการเมืองเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ สามารถให้ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอย่างมีเหตุผล ตั้งมั่นในความถูกต้อง เป็นกลาง ปราศจากอคติ และอยู่บนพื้นฐานของหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ และไม่เข้าไปแทรกแซงบทบาทและอำนาจหน้าที่ซึ่งกันและกัน
4. มีความพร้อมและทัศนคติในการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม และสามารถบูรณาการ เชื่อมโยงการทำงานภายในระบบราชการในทุกระดับเข้าด้วยกัน
ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย(พ.ศ.2551- พ.ศ.2555)
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับการให้บริการและการทำงานเพื่อตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของประชาชนที่มีความสลับซับซ้อน หลากหลาย และเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
1.1ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐปรับปรุงการให้บริการประชาชนให้มีความหลากหลาย ได้รับการบริการที่สะดวก รวดเร็ว และสามารถปรับตัวให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
1.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้มีกลไกการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการของทางราชการได้โดยสะดวก เป็นธรรม และตรงตามความต้องการ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เกิดการแสวงหาความร่วมมือ และสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
2.1 วางระบบการบริหารงานแบบบูรณาการภายในระบบราชการ
2.2 ส่งเสริม ผลักดันให้ให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานกลางต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินการของส่วนราชการต่าง ๆ
2.3 จัดระบบบริหารราชการให้เอื้อต่อการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายกับภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน และภาคส่วนต่าง ๆ ในลักษณะเป็นภาคี/พันธมิตร/หุ้นส่วนในการจัดบริการสาธารณะ
2.4 สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3: มุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง บุคลากรมีความพร้อม และความสามารถ ในการเรียนรู้ คิดริเริ่ม เปลี่ยนแปลง และปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ
3.1จัดให้มีการวางยุทธศาสตร์การบริหารประเทศในระยะยาว (Scenario Planning) เพื่อคาดการณ์ปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและผลกระทบต่อการบริหารกิจการบ้านเมือง และกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์และต้องการบรรลุผลไว้ วัดความก้าวหน้า และผลสัมฤทธิ์ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาระยะสั้น-ปานกลาง ตลอดจนการเตรียมการวางระบบบริหารงานและบุคลากรภาครัฐในอนาคต
3.2 ปรับปรุงบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของภาครัฐ ให้มีขนาดที่เหมาะสม (Rightsizing) เกิดความคุ้มค่าและรองรับกับสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่มีความหลากหลายซับซ้อนมากขึ้น
3.3 เสริมสร้างให้หน่วยงานภาครัฐมีความตื่นตัว ตอบสนอง และไวต่อการเปลี่ยนแปลง มีการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่น คล่องตัว สามารถปรับตัว และมีความคิดริเริ่ม ทันต่อสถานการณ์และความท้าทายต่าง ๆ ได้
3.4ปรับปรุงขีดสมรรถนะของทรัพยากรบุคคลภาครัฐ ให้สามารถเพิ่มผลิตภาพ และพัฒนาขีดความสามารถให้มีความเป็นมืออาชีพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4: สร้างระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี เกิดความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อประชาชน และต่อสังคมโดยรวม
4.1 เสริมสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรม ปรับกระบวนทัศน์ หล่อหลอมวัฒนธรรมใหม่ ให้เกิดขึ้นในหน่วยงานภาครัฐ
4.2 ปรับปรุงระบบการตัดสินใจและกำกับตรวจสอบในการบริหารราชการแผ่นดิน
4.3 ส่งเสริมให้หน่วยงานในภาครัฐมีการดำเนินการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และชุมชน
4.4 การสร้างดุลยภาพระหว่างฝ่ายการเมืองและราชการประจำ
การนำยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ไปสู่การปฏิบัติ
การสร้างระบบย่อย (Sub-systems) ในระบบราชการ โดยดำเนินการทบทวนบทบาทภารกิจ สอบทานพันธกิจ อำนาจหน้าที่ โครงสร้างระบบงาน อัตรากำลัง ทรัพยากร และผลสัมฤทธิ์ เพื่อออกแบบใหม่และนำเสนอพิมพ์เขียวต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 6 เดือน
1. ต้องยอมรับความแตกต่างหลากหลาย ไม่พยายามดึงให้เข้ามาอยู่ในระเบียบแบบแผนเดียวกันทั้งหมด
2. ไม่ตั้งสมมติฐานว่าหน่วยงานราชการจะต้องเป็นผู้ดำเนินการทุกอย่างเอง หรือพยายามปรับปรุงให้ระบบราชการมีขีดสมรรถนะสูงในภารกิจงานที่ไม่ควรดำเนินการเองอีกต่อไปแล้ว
3. ใช้ยุทธวิธีดำเนินการแบบคู่ขนานทั้งในแง่ของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้เคลื่อนตัวไปพร้อมกันทั้งหมด และการเลือกเน้นบางจุดมาดำเนินการพัฒนาให้บังเกิดผลก่อน
10 โครงการสำคัญเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ
1. โครงการปรับปรุงการให้บริการประชาชน
2. โครงการพัฒนาระบบการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
3. โครงการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
4. โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารกิจการบ้านเมือง
5. โครงการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
6. โครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความเป็นเลิศในการปฏิบัติราชการ
7. โครงการวางระบบการบริหารการเรียนรู้โดยอาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์
8. โครงการปรับกำลังคนภาครัฐเพื่อรองรับโลกาภิวัตน์
9. โครงการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ค่านิยม วัฒนธรรม และส่งเสริมจริยธรรมในระบบราชการไทย
10. โครงการพัฒนาระบบการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการพัฒนาระบบราชการไทย
1. การสร้างความเป็นเจ้าของในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
- ต้องมีการเสริมสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับสูงในแต่ละหน่วยงานให้มีความสนใจและสนับสนุนในเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง รวมถึงการกำหนดให้มีผู้บริหารระดับสูง เพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบผลักดันการบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นการเฉพาะและปฏิบัติงานอย่างเต็มเวลาในแต่ละส่วนราชการ
- กำหนดให้แต่ละหน่วยงานต้องมีการวางเป้าหมายที่พึงประสงค์ในการพัฒนาระบบบริหารงาน รวมทั้งดำเนินการกำหนดให้แต่ละหน่วยงานต้องมีการวางเป้าหมายที่พึงประสงค์ในการพัฒนาระบบบริหารงาน รวมทั้งดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการของงานให้มีความชัดเจนและสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง
- ยกระดับความสำคัญและเสริมสร้างขีดความเข้มแข็งของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ให้สามารถรับผิดชอบในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารราชการของแต่ละกระทรวงสู่การปฏิบัติได้อย่างบรรลุผล
- ต้องมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อลงทุนในการพัฒนาองค์การและทรัพยากรบุคคลให้แก่แต่ละหน่วยงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
2. การร่วมเป็นเจ้าภาพในการพัฒนาระบบราชการ
- ส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ ให้สามารถเทียบเคียงกับภาคเอกชน หรือหน่วยงานในภาครัฐที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า หรือองค์กรที่เป็นผู้นำที่เป็นกรณีศึกษา เพื่อเป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ ร่วมกับ ก.พ.ร. และนำมาใช้เป็นต้นแบบเพื่อการเทียบเคียง (Benchmarking) และเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ ในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการให้แก่หน่วยงานอื่น ๆ ต่อไป
- ส่งเสริมให้มีกลไกประสานและเชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานกลางเข้าด้วยกัน เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีเอกภาพ
- แสวงหาความร่วมมือจากภาคธุรกิจเอกชนให้มากขึ้น เพื่อช่วยแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ หรือเทคโนโลยีบางอย่างให้แก่ข้าราชการและหน่วยงานของรัฐ ในฐานะบรรษัทพลเมืองที่ดี (Good Corporate Citizenship) ซึ่งมีความรับผิดชอบต่อสังคม
- ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและองค์กรการพัฒนาระหว่างประเทศเพื่อสร้าง “ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาระบบราชการไทย” ในการศึกษาวิจัย สร้างกรณีศึกษาต้นแบบ และแสวงหานวัตกรรมและความคิดริเริ่มใหม่มาปรับใช้กับการพัฒนาระบบราชการของไทย รวมทั้งเปิดให้ประชาชนและข้าราชการได้แสดงความคิดเห็น แนะนำการปรับปรุงการทำงานของราชการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น