โรงเรียนขนาดเล็กในที่นี้ผมหมายถึงโรงเรียนที่มีผู้เรียนต่ำกว่า 100 คน ซึ่งมักจะเป็นโรงเรียนประถมศึกษา และอาจมีอนุบาลศึกษารวมอยู่ด้วย - คนส่วนใหญ่ และนักบริหารการศึกษามองว่าเป็นความไม่คุ้มที่จะดำเนินการต่อไป และเห็นควรให้ปิดยุบกิจการ และย้ายผู้เรียนไปเรียนโรงเรียนอื่นๆ ที่จะทำให้จัดการเรียนได้มีประสิทธิภาพมากกว่า และเมื่อยุบแล้ว ก็ต้องมีบริการรถรับส่ง ในต่างประเทศ ดังเช่นในสหรัฐ เขาจะมีรถโรงเรียน หรือที่เรียกว่า School bus, หรือ School Buses ซึ่งก็มีเรื่องของค่าใช้จ่าย ค่าพลังงานเชื้อเพลิง ค่าคนขับ ค่ารถ และอื่นๆ ตามมา ซึ่งต้องนำตัวแปรเหล่านี้มาคิดร่วมกัน ก่อนที่จะตัดสินใจปิดโรงเรียน - ขณะเดียวกัน มันเป็นไปได้หรือไม่ที่โรงเรียนขนาดเล็กนี้ สามารถดำเนินการเรียนการสอนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงแต่ว่าต้องไม่สอนแบบเน้นชั้นเรียน คือถ้าชั้นเรียนละ 30 คน มี 6 ชั้น ก็ต้องมีนักเรียนประมาณ 180 คน จึงจะเหมาะ หรือถ้าชั้นละเฉลี่ย 25 คน ก็ต้องมีผู้เรียน 150 คน โรงเรียนที่มีผู้เรียนอยู่ 50-60 คนจึงจัดการเรียนแบบมีชั้น (Graded Schools) เหมือนโรงเรียนทั่วไปไม่ได้ จึงเรียกว่า Non-Graded Schools - โรงเรียนขนาดเล็ก มักจะอยู่ในชนบท มีคนห่างไกล ไม่สะดวกในการเดินทาง ดังนี้จึงเรียกว่า Rural Schools หรือโรงเรียนชนบท อันว่าโรงเรียนในชนบทนั้น หากคิดว่าเราต้องนำการศึกษาไปหาเขา จะต้องมีต้นทุนสูง แต่ถ้าคิดว่าให้เขาจัดการศึกษากันเอง ทางฝ่ายราชการ หรือเขตพื้นที่การศึกษา เป็นเพียงอำนวยความสะดวก และทำให้โรงเรียนเป็นเรื่องของชาวบ้านเอง เขาอาจจะคิดวิธีการจัดการเรียนการสอนกันเอง ดังนี้อาจเรียกว่า Community Schools, โรงเรียนประเภทนี้ เขาจัดกันเองได้ เขาก็อาจทำให้โรงเรียนมีความคุ้ม ใช้สถานที่เรียนได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โรงเรียนกลายเป็น Community Center, แต่งงานชาวบ้าน ประชุมปรึกษาหารือ หรืออื่นๆ
ยังมีทางเลือกเพื่อโรงเรียนขนาดเล็กอีกหลายๆ วิธีการ คงต้องช่วยกันคิด และคิดให้ดี ซึงต้องใช้วิธีการ Operation Analysis ดูความจำเป็น ความเป็นไปได้ และการจัดทำแผนดำเนินการ และลองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แล้วจึงนำไปทดสอบกับของจริงดู
ประกอบ คุปรัตน์ Pracob Cooparat, Ph.D. สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มูลนิธิเด็ก (Information Technology Institute for Education - ITIE) โทรศัพท์. 0-2354-8254-5, โทรสาร 0-2354-8316 E-mail: pracob@itie.org
การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก เป็นเรื่องที่ท้าทายผู้บริหารเป็นอย่างยิ่ง เพราะด้วยคำจำกัดความของขนาด ทำให้ทุกอย่างที่จะได้รับการสนับสนุนต้องเล็กตาม ไม่ว่าอัตรากำลังครู ลูกจ้าง งบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ ขณะที่การจัดการเรียนการสอน ครูหลายคนอาจจะพอใจกับจำนวนนักเรียนที่ดูแล แม้จะเหงาไปบ้าง คำว่าพอใจหมายถึงความเอาใจใส่ ดูแล ตรวจผลงาน ให้ทดลองทำ ปฏิบัติการต่างๆ เด็กๆจะถึงรอบลงฝึก ใช้อุปกรณ์ได้เร็ว ไม่ต้องคอยคิวนาน หากผู้บริหารจะถือวิกฤติเป็นโอกาสโดยเปลี่ยน paradigm ในการทำงาน ก็จะมีกำลังใจขึ้น เห็นด้วยกับแนวคิดที่จะทำให้เป็น community school แต่ผู้บริหารจะต้องทำ school charter ที่ชัดเจน เพื่อบุคคลภายนอก ชุมชน ผู้ปกครอง ท้องถิ่นที่สนใจ(ในผลงาน) ขอดู blueprint และเข้ามามีส่วนร่วม สนับสนุนได้ง่ายขึ้น และเกณฑ์การประเมินบางข้อที่จะนำมาใช้ก็ต้องปรับหรือผู้ประเมินจะต้องใช้วิจารณญาณในการประเมินด้วย จึงจะยุติธรรม
โรงเรียนขนาดเล็ก นับวันแต่จะมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี อันเนื่องมาจากอัตราการเกิดของประชากรลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี ดังนั้นการเตรียมการเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้คือ
๑. หาวิธีการแนวใหม่ที่มิใช่เป็นการคิดจากส่วนกลาง โดยไม่รู้ข้อจำกัด และบริบทของท้องถิ่น
๒. โรงเรียนขนาดเล็กควรจัดชั้นเรียนเป็นช่วงชั้น เช่น บางกลุ่มสาระ ได้แก่ ศิลปศึกษา สุขศึกษาและพลศึกษา กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน วิชาเหล่านี้ สามารถจัดเรียนรวมกันได้ โดยไม่มีความจำเป็นต้องแยกครูสอนประจำรายวิชา รายชั้น หรืออื่น ๆ ตามข้อจำเป็นและข้อจำกัด
๓. โรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ใกล้เคียงกัน สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น อาคารสถานที่ ครู และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นลักษณะโรงเรียนเครือข่าย หรือ กลุ่มโรงเรียน
๔. โรงเรียนขนาดใหญ่ ที่อยู่ใกล้เคียง สามารถให้บริการโรงเรียนขนาดเล็กได้ เช่น ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ หรือแม้กระทั่ง ครูผู้สอนและทรัพยากรอื่น
๕. ส่วนกลาง โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ สพฐ. ต้องกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ให้ท้องถิ่นเขาบริหารจัดการกันเอง เลิกกำหนดรูปแบบ วิธีการที่เหมือนกันทั้งประเทศ เพราะที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่าล้มเหลว
๖. ต้องให้ถ้องถิ่นเข้ามาร่วมจัดการศึกษาอย่างเต็มที่ กระจายการตัดสินใจ กระจายงบประมาณลงสู่ท้องถิ่นอย่างเพียงพอ
๗. ทุกฝ่ายต้องเลิกคิดแบบเดิม โรงเรียนและการศึกษา ทรัพยากรทุกอย่างเป็นของส่วนรวม มิใช่ตัวฉันของฉันเพียงผู้เดียว
ถ้าคิดต่าง สร้างใหม่ เช่นนี้ สามารถแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กได้ โดยไม่ต้องยุบ และทำให้ใคร ๆ เดือดร้อน
วิเศษ ชิณวงศ์ นิสิตปริญญาเอก บริหารการศึกษา ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำตราสัญลักษณ์(ภาพเครื่องหมายราชการ)ขึ้นใหม่ และได้แจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะร...
-
1. เงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ จัดอยู่ในงบประมาณหมวดใด ก. งบบุคลากร ข. งบดำเนินการ ค. งบเงินอุดหนุน ง. งบอื่นๆ 2. ค่าตอบแทน หมายถึง ก. เงินที่จ...
-
1. ข้าราชการครูซึ่งปฏิบัติราชการที่สถานศึกษา ไม่มีสิทธิลาประเภทใด ก. ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ข. ลาพักผ่อน ค. ลาอุปสมบท ง. ลาเข้ารับการ...
1 ความคิดเห็น:
ขอบคุณค่ะ
แสดงความคิดเห็น