วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2551

รายงานผลการศึกษาเรื่อง สภาวะการขาดแคลนครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และข้อเสนอแนวทางแก้ไข

มติครม. 19 สิงหาคม 2551

อนุมัติในหลักการแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรการระยะเร่งด่วนและมาตรการระยะยาว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้
1. มาตรการระยะเร่งด่วน (ปี 2551 – 2554)
1.1 ขอคืนอัตราเกษียณร้อยละ 100 พร้อมวงเงินจากอัตราเกษียณให้แก่กระทรวงศึกษาธิการมากกว่าหน่วยงานอื่น ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นไปจนถึงปี 2554 โดยแยกขอเป็นรายปี ดังนี้ - ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขออัตราเกษียณคืนร้อยละ 100 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 – 2554 จำนวนทั้งสิ้น 29,553 อัตรา แยกเป็นปี 2551 จำนวน 5,192 อัตรา ปี 2552 จำนวน 6,558 อัตรา ปี 2553 จำนวน 7,688 อัตรา และปี 2554 จำนวน 10,115 อัตรา - การอาชีวศึกษา ขออัตราเกษียณคืนร้อยละ 100 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 – 2554 จำนวนทั้งสิ้น 1,026 อัตรา แยกเป็น ปี 2551 จำนวน 175 อัตรา ปี 2552 จำนวน 234 อัตรา ปี 2553 จำนวน 288 อัตรา และปี 2554 จำนวน 329 อัตรา
1.2 สำหรับการขาดแคลนบุคลากรสายสนับสนุน ขอให้จัดสรรเพิ่มตามความจำเป็นและตามกำลังงบประมาณของประเทศ
1.3 ควรมีการพิจารณาปรับเกณฑ์การกำหนดอัตราครูใหม่ ทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา โดยแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มครูผู้สอน กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา และกลุ่มสนับสนุนการสอน รวมทั้งได้นำภาระงานสอนของครูที่คำนวณเป็นชั่วโมงต่อสัปดาห์มากำหนดอัตรากำลัง ซึ่งกำหนดให้ครูปฏิบัติงานประมาณ 30 ชั่วโมง/ สัปดาห์ (งานสอน 18 ชั่วโมง ปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับงานสอน 10 ชั่วโมง และงานอื่น ๆ 2 ชั่วโมง) นอกจากนี้ยังคิดกลุ่มการเรียนเป็นรายชั้นในระดับมัธยมศึกษา เนื่องจากต้องใช้ครูที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะสาขามากขึ้น
1.4 ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีความพร้อมให้เข้ามาร่วมจัดการศึกษา และดำเนินการโอนสถานศึกษาไปให้ อปท. ที่ผ่านการประเมินความพร้อม
1.5 เร่งแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีโรงเรือนแก่สถานศึกษาเอกชน รวมทั้งออกประกาศกระทรวงเพื่อให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยครอบคลุมสถานศึกษาเอกชนด้วย

2 . มาตรการระยะยาว
2.1 วางแผนการผลิตและพัฒนาครูอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับสภาพการใช้และความต้องการครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่แท้จริง โดยพิจารณาจากแนวโน้มของประชากรวัยเรียนและความต้องการทางการศึกษาในอนาคต รวมทั้งจัดตั้งสถาบันเพื่อความเป็นเลิศในการผลิตและพัฒนาครู โดยอาจให้ชื่อว่า “สถาบันกัลยาณิวัฒนา” เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 2.2 จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยคำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
2.3 ลงทุนสร้างคณาจารย์รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพและปริมาณให้เพียงพอกับความต้องการในการพัฒนาการศึกษา รวมทั้งการทดแทนการเกษียณอายุราชการ
2.4 ทบทวนนโยบายการจำกัดกำลังคนภาครัฐ กรณีเกษียณอายุราชการของครู คณาจารย์
2.5 ให้มีการศึกษาหาแนวทางขยายเวลาเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก 60 ปี เป็น 65 ปี และคณาจารย์ในระดับอุดมศึกษา (ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์) จาก 65 ปี เป็น 70 ปี โดยเฉพาะสาขาที่ขาดแคลน
2.6 ส่งเสริมสนับสนุนสถานประกอบการ องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันสังคมอื่น ๆ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 12 ให้เข้ามาร่วมจัดการศึกษามากขึ้น โดยรัฐมีมาตรการจูงใจ
2.7 เพิ่มสัดส่วนการจัดการศึกษาของเอกชนให้มากขึ้น โดยกำหนดสัดส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน ปี 2554 เท่ากับ 70:30
2.8 กระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/สถานศึกษามากขึ้น ทั้งด้านการบริหารงานบุคคล งบประมาณ วิชาการและบริหารงานทั่วไป ตามความพร้อม
2.9 นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น เช่น การเรียนโดยระบบ E – learning การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่มีความหลากหลาย และเร่งจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อทำหน้าที่เสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม ประสานการวิจัย การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเทคโนโลยี อันจะส่งผลให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษาได้เพิ่มมาก

ไม่มีความคิดเห็น: