มติครม. 5 สิงหาคม 2551
คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการการจัดการศึกษาในพื้นที่ภูเขาสูงและถิ่นทุรกันดาร ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินงานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 โดยใช้งบกลางฯ ปี 2551 ในวงเงิน 53,726,300 บาท และให้จัดทำรายละเอียดตกลงกับสำนักงบประมาณอีกครั้งหนึ่ง (ตามข้อเสนอของกระทรวงศึกษาธิการและความเห็น สำนักงบประมาณ)
วัตถุประสงค์
1. สร้างโอกาสทางการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนการศึกษาบนพื้นที่สูงและทุรกันดารให้ได้รับการศึกษา ในรูปแบบที่หลากหลาย
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับอุดมศึกษา
3. พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนบนพื้นที่สูงให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถประกอบ อาชีพเลี้ยงตน มีความสำนึกรักแผ่นดินไทยและอยู่ร่วมกับผู้อื่นบนพื้นฐานความแตกต่างของวัฒนธรรมอย่างมีความสุข
เป้าหมาย
1. เป้าหมายเชิงคุณภาพ เด็กและเยาวชนวัยเรียนทุกคนบนพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดารตามขอบเขตของโรงการ ฯ ได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญาและจิตใจ เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ที่ดี สามารถในการแก้ปัญหา มีทักษะในการประกอบสัมมาชีพ มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติสงบสุข
2. เป้าหมายเชิงปริมาณ
2.1 เด็กที่มีอายุ 3-5 ปี ในพื้นที่ภูเขาสูงและถิ่นทุรกันดารทุกคนมีโอกาสได้รับการพัฒนาความพร้อม
2.2 เด็กที่มีอายุ 7-16 ในพื้นที่ภูเขาสูงและถิ่นทุรกันดารมีโอกาสเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับทุกคน
2.3 ผู้จบการศึกษาภาคบังคับทุกคนได้เรียนต่อมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญหรือสายอาชีพ 2.4 ร้อยละ 10 ของผู้ที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา
2.5 ร้อยละ 90 ของผู้เรียนที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถนำความรู้และคุณลักษณะที่จำเป็น ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองให้สามารถประกอบอาชีพตามศักยภาพและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในชุมชนของตนเองอย่างมีความสุข
3. ขอบเขต ขอบเขตของการดำเนินการ ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีสถานศึกษาตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ ภูเขาสูง พื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดน หรือพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งมีความยากลำบากในการจัดการศึกษา และเป็นพื้นที่พิเศษตามประกาศกระทรวงการคลังใน 11 จังหวัด 24 เขตพื้นที่การศึกษา
4. ระยะเวลาดำเนินการ ระยะเวลาดำเนินการของโครงการมีกำหนด 4 ปี คือ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2554 5. การจัดการศึกษา ดำเนินการจัดการศึกษาทั้งในระบบและการศึกษาทางเลือกดังกล่าวให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมียุทธศาสตร์การดำเนินงาน 5 ยุทธศาสตร์คือ
5.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศที่เอื้อต่อสิทธิโอกาสทางการศึกษา
5.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างทางเลือกในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างหลากหลาย
5.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับคุณภาพการศึกษา
5.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบช่วยเหลือ ดูแล และเฝ้าระวังนักเรียนให้ได้เรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับและพัฒนาเต็มศักยภาพ
5.5 ยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างองค์ความรู้โดยการวิจัยและพัฒนา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำตราสัญลักษณ์(ภาพเครื่องหมายราชการ)ขึ้นใหม่ และได้แจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะร...
-
1. เงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ จัดอยู่ในงบประมาณหมวดใด ก. งบบุคลากร ข. งบดำเนินการ ค. งบเงินอุดหนุน ง. งบอื่นๆ 2. ค่าตอบแทน หมายถึง ก. เงินที่จ...
-
1. ข้าราชการครูซึ่งปฏิบัติราชการที่สถานศึกษา ไม่มีสิทธิลาประเภทใด ก. ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ข. ลาพักผ่อน ค. ลาอุปสมบท ง. ลาเข้ารับการ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น