1. “ เป้าหมายของการศึกษาดังที่กล่าวนี้ มิใช่เพียงเพื่อประโยชน์ของคนแต่ละคนเท่านั้น แต่ต้องมุ่งไปสู่สังคมในภาพรวม คือการนำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง มีเอกภาพ อันเนื่องมาจากสมาชิกของสังคมมีคุณภาพและร่วมสร้างประโยชน์ให้กับสังคมที่ตนอยู่อาศัย จึงถือได้ว่าครูเป็นคนสำคัญในการสร้างเยาวชนที่ดีและสร้างอนาคตของประเทศ และหากผลผลิตทางการศึกษาไม่มีคุณภาพ ครูก็ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วย “ ข้อความดังกล่าวหมายถึงข้อใด
ก. Goal
ข. Vision
ค. Mission
ง. Strategy
2. “ การจัดการศึกษาอย่างเป็นทางการหรือในระบบ ส่วนใหญ่จัดขึ้นในโรงเรียน ซึ่งเป็นหน่วยงานเฉพาะด้านที่ตั้งขึ้นมาทำหน้าที่ปลูกฝังทักษะ ความรู้ และค่านิยมแก่ผู้เรียน แต่โรงเรียนหรือสถานศึกษาก็ไม่ใช่เป็นช่องทางเดียว ในโลกที่พัฒนาการด้านสื่อและเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การจัดการศึกษาสามารถทำได้อย่างหลากหลาย เพื่อสอดรับกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเฉพาะแต่ละกลุ่ม เช่น การศึกษานอกโรงเรียน การจัดการศึกษาในครัวเรือน การจัดการศึกษาโดยชุมชน การศึกษาทางไกลผ่านสื่อประเภทต่างๆ เป็นต้น “ ข้อความนี้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ2542 มาตราใด
ก. มาตรา 8
ข. มาตรา 9
ค. มาตรา 10
ง. มาตรา 15
3. “ การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายชัดเจน คือการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรม ค่านิยม ความคิด การประพฤติปฏิบัติ ฯลฯ โดยคาดหวังว่า คนที่มีคุณภาพนี้จะทำให้สังคมมีความมั่นคง สงบสุข เจริญก้าวหน้าทันโลก แข่งขันกับสังคมอื่นในเวทีระหว่างประเทศได้ คนในสังคมมีความสุข มีความสามารถประกอบอาชีพการงานอย่างมีประสิทธิภาพ และอยู่ร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์ “ ข้อความนี้มีความสัมพันธ์กับคำตอบในข้อใดมากที่สุด
ก. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ข. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
ค. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 มาตรา 6
ง. ความหมายของการจัดการศึกษา
4. “ คำว่า "คุณภาพของผู้เรียน" มีความหมายครอบคลุมหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม ทักษะ และพฤติกรรม ดัชนีชี้วัดคุณภาพของผู้เรียนซึ่งจะใช้วัดผลการจัดการศึกษาต้องเป็นผลทางตรงหรือทางอ้อมที่มาจากการจัดการศึกษา ไม่ใช่ผลบังเอิญหรือผลที่ไม่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น สถานศึกษาอาจสอนไม่ดี แต่นักเรียนทำคะแนนผลสอบได้ดีเพราะไปรับการสอนพิเศษ หรือผู้ปกครองกวดขันดูแลและสั่งสอนเพิ่มเติม ในแง่คุณภาพของผู้เรียน ครูควรกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (วัตถุประสงค์ที่วัดได้จริง) ที่มุ่งให้เกิดขึ้น อันเป็นผลจากการจัดการเรียนการสอนของครู และประเมินวัตถุประสงค์ดังกล่าวเพื่อวัดประสิทธิภาพของวิธีการสอนของตน “ หากท่านเป็นผู้บริหารการศึกษา ท่านจะดำเนินการเรื่องใด
ก. จัดการประชุมเรื่องการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (นำคำตอบทุกข้อมารวมกัน)
ข. จัดการอบรมเรื่องการพัฒนาการสอนของครู
ค. จัดการประชุมเรื่องแนวทางการวัดผลและประเมินผล
ง. จัดการประชุมเรื่องการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
5. “ การร่วมคิดร่วมทำของบุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นพลังส่งเสริมให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาประกอบด้วย ผู้จัดการศึกษาโดยตรง (ครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา) ผู้สนับสนุนการจัดการศึกษา (หน่วยจัดสรรงบประมาณ หน่วยนโยบายทางการศึกษา รัฐบาล ผู้ทรงคุณวุฒิ) ผู้รับผลจากการจัดการศึกษา (ผู้เรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้จ้างงาน และสังคม) รวมทั้งผู้ประเมินผล (ผู้ประเมินผลภายนอก ผู้ตรวจสอบ ผู้ตรวจราชการ) บุคคลเหล่านี้ล้วนมีบทบาทเกี่ยวข้องทั้งสิ้น สมควรเข้าร่วมในการจัดการศึกษาในขั้นตอนต่างๆที่เหมาะสม ตามหลักการนี้ ในเรื่องการมีส่วนร่วมนี้ ครูต้องปรับตนเองให้คุ้นเคยกับการมีบุคคลอื่น เช่น ผู้ปกครอง ผู้ประเมิน ตัวแทนชุมชนหรือท้องถิ่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งที่บุคคลเหล่านี้อาจไม่เคยแสดงความสนใจเรื่องการจัดการศึกษามาก่อนก็ได้” ในข้อความนี้มีจุดประสงค์จะสื่อสารถึงใคร?
ก. ผู้นำชุมชน
ข. ผู้บริหาร
ค. ผู้ปกครองนักเรียน
ง. ครู
เป็นยังไงครับ ข้อสอบแนวนี้ บางครั้ง ดูดีๆ จะมีคำชี้นำคำตอบอยู่ในคำถามครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำตราสัญลักษณ์(ภาพเครื่องหมายราชการ)ขึ้นใหม่ และได้แจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะร...
-
1. เงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ จัดอยู่ในงบประมาณหมวดใด ก. งบบุคลากร ข. งบดำเนินการ ค. งบเงินอุดหนุน ง. งบอื่นๆ 2. ค่าตอบแทน หมายถึง ก. เงินที่จ...
-
1. ข้าราชการครูซึ่งปฏิบัติราชการที่สถานศึกษา ไม่มีสิทธิลาประเภทใด ก. ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ข. ลาพักผ่อน ค. ลาอุปสมบท ง. ลาเข้ารับการ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น