พิเศษสำหรับพี่ๆรองเขตที่สอบวันเสาร์ที่ 10 มกราคม2552นี้
1. การละเมิด คืออะไร
ก. การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้บุคคลอื่นเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือแก่ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างใดๆ ผู้ใดทำละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย
ข. การกระทำโดยจงใจ เป็นเหตุให้บุคคลอื่นเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือแก่ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างใดๆ ผู้ใดทำละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย
ค. การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้บุคคลอื่นเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือแก่ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างใดๆ ผู้ใดทำละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย
ง. การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ โดยผิดกฎหมายและเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือแก่ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างใดๆ ผู้ใดทำละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย
2. พระราชบัญญัติความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตราขึ้นปีใด
ก. 2539
ข. 2540
ค. 2542
ง. 2545
3. ผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด ให้ยื่นฟ้องใคร
ก. กระทรวงยุติธรรม
ข. สำนักนายกรัฐมนตรี
ค. ศาลปกครอง
ง. กระทรวงการคลัง
4. ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความ ฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไปเท่าใด
ก. 6 เดือนนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
ข. 9 เดือนนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
ค. 1 ปีนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
ง. 2 ปีนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
5. ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคนกระทำละเมิด ให้ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อย่างไร
ก. ให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ
ข. ให้หน่วยงานของรัฐชดใช้
ค. ให้เจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตน
ง. ถูกทุกข้อ
6. ถ้าหน่วยงานของรัฐได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายแล้ว มีสิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กำหนดอายุความเท่าใด
ก. 6 เดือนนับแต่วันที่ชดใช้สินไหม
ข. 9 เดือนนับแต่วันที่ชดใช้สินไหม
ค. 1 ปีนับแต่วันที่ชดใช้สินไหม
ง. 2 ปีนับแต่วันที่ชดใช้สินไหม
7. ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐๆมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่กำหนดอายุความเท่าใด
ก. 6 เดือนนับแต่วันที่ชดใช้สินไหม
ข. 9 เดือนนับแต่วันที่ชดใช้สินไหม
ค. 1 ปีนับแต่วันที่ชดใช้สินไหม
ง. 2 ปีนับแต่วันที่ชดใช้สินไหม
8. หากผู้เสียหายยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐก็ให้มีสิทธิร้องทุกข์ ต่อใคร
ก. คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยการละเมิด
ข. คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา
ค. คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายกระทรวงการคลัง
ง. ฟ้องร้องต่อศาลปกครอง
9. การร้องทุกข์ตามข้อ 8 มีกำหนดระยะเวลาใด
ก. ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย
ข. ภายใน 45 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย
ค. ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย
ง. ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย
10.หน่วยงานของรัฐพิจารณาคำร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
ก. 60 วัน
ข. 90 วัน
ค. 120 วัน
ง. 180 วัน
11.หากหน่วยงานของรัฐพิจารณาคำร้องทุกข์ไม่แล้วเสร็จ ให้รายงานใคร
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ค. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ง. รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
12.รัฐมนตรีตามข้อ 11 มีอำนาจอนุมัติขยายเวลาการพิจารณาร้องทุกข์ได้อีกไม่เกินกี่วัน
ก. 60 วัน
ข. 90 วัน
ค. 120 วัน
ง. 180 วัน
13. ใครรักษาการพระราชบัญญัติความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ค. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ง. นายกรัฐมนตรี
14.ใครเป็นผู้กำหนดสัดส่วนความรับผิดทางละเมิด
ก. กระทรวงยุติธรรม
ข. กรมบัญชีกลาง
ค. ศาลปกครอง
ง. กระทรวงการคลัง
15.กรณีการจัดซื้อจัดจ้างไม่ถูกต้อง แต่คณะกรรมการได้ดำเนินการผ่านผู้ที่เกี่ยวข้องตามลำดับขั้น ผู้บังคับบัญชาซึ่งอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าว ต้องรับผิดชอบร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละ 10
ข. ร้อยละ 20
ค. ร้อยละ 30
ง. ร้อยละ 40
16. กรณีการจัดซื้อจัดจ้างไม่ถูกต้อง แต่คณะกรรมการไม่ดำเนินการผ่านผู้เกี่ยวข้องตามลำดับขั้น ผู้บังคับบัญชาซึ่งอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าว ต้องรับผิดชอบร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละ 10
ข. ร้อยละ 20
ค. ร้อยละ 30
ง. ร้อยละ 40
17.กรณีการจัดซื้อจัดจ้างไม่ถูกต้อง ใครเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบมากกว่าผู้อื่น
ก. เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัสดุ
ข. ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
ค. ผู้บังคับบัญชาชั้นกลาง
ง. คณะกรรมการพิจารณาผล
18.กรณีการก่อสร้างไม่เป็นไปตามรูปแบบรายการ ใครเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบมากกว่าผู้อื่น
ก. คณะกรรมการตรวจการจ้าง
ข. ผู้ควบคุมงาน
ค. ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
ง. ผู้บังคับบัญชาผู้อนุมัติ
19.สัดส่วนการรับผิดชอบตามข้อ 18 มีกำหนดร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละ 10
ข. ร้อยละ 20
ค. ร้อยละ 30
ง. ร้อยละ 50
20.กรณีการส่งของไม่ตรงตามสัญญา ซึ่งเจ้าหน้าที่พัสดุและผู้บังคับบัญชาไม่รู้ถึงเหตุดังกล่าว คณะกรรมการตรวจรับต้องรับผิดชอบร้อยละเท่าใด
ก. ทั้งหมด
ข. ร้อยละ 80
ค. ร้อยละ 50
ง. ร้อยละ 40
21.กรณีไม่นำเงินรายได้เข้าบัญชี เป็นเรื่องที่ผู้เสนอและผู้อนุมัติปฏิบัติผิดระเบียบของทางราชการ ผู้อนุมัติต้องรับผิดชอบร้อยละเท่าใด
ก. ทั้งหมด
ข. ร้อยละ 80
ค. ร้อยละ 50
ง. ร้อยละ 40
22. กรณีไม่นำเงินรายได้เข้าบัญชีซึ่งผู้อนุมัติเป็นผู้สั่งการ ผู้อนุมัติต้องรับผิดชอบร้อยละเท่าใด
ก. ทั้งหมด
ข. ร้อยละ 80
ค. ร้อยละ 50
ง. ร้อยละ 40
23.พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีผลใช้บังคับเมื่อใด
ก. ๔ มีนาคม ๒๕๕๑
ข. ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
ค. ๖ มีนาคม ๒๕๕๑
ง. ๗ มีนาคม ๒๕๕๑
24.ลูกเสือ หมายถึง ใคร
ก. เด็กและเยาวชนที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือทั้งในสถานศึกษา
ข. เด็กและเยาวชนทั้งชายและหญิง ที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือทั้งในสถานศึกษา
ค. เด็กและเยาวชนทั้งชายและหญิง ที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือทั้งในสถานศึกษา ส่วนลูกเสือที่เป็นหญิงให้เรียกว่าเนตรนารี
ง. เด็กและเยาวชนทั้งชายและหญิง ที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ส่วนลูกเสือที่เป็นหญิงให้เรียกว่าเนตรนารี
25.ข้อใดไม่ใช่ บุคลากรทางการลูกเสือ
ก. กรรมการลูกเสือ
ข. อาสาสมัครลูกเสือ
ค. เจ้าหน้าที่ลูกเสือ
ง. ผู้ทรงคุณวุฒิลูกเสือ
26.วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ ตรงกับวันใด
ก. 1 มิถุนายน
ข. 1 กรกฎาคม
ค. 1 สิงหาคม
ง. 1 กันยายน
27.ลูกเสือมีกี่ประเภท
ก. 3 ประเภท
ข. 4 ประเภท
ค. 5 ประเภท
ง. 6 ประเภท
28.ข้อใดไม่ใช่ประเภทของลูกเสือ
ก. ลูกเสือสามัญ
ข. ลูกเสือสามัญรุ่นเล็ก
ค. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
ง. ลูกเสือวิสามัญ
29.ข้อใดคือ คติพจน์ของลูกเสือสำรอง
ก. Do Our Best
ข. Be prepared
ค. Look wide
ง. Service
30.ข้อใดคือ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ของ คณะลูกเสือแห่งชาติ ในการพัฒนาลูกเสือ
ก. ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
ข. ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ค. ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง
ง. ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศชาติ
31. การจัดแบ่งส่วนงานภายในของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ให้ตราเป็นกฎหมายใด
ก. กฎกระทรวง
ข. ประกาศกระทรวง
ค. ระเบียบกระทรวง
ง. ข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
32. สำนักงานลูกเสือแห่งชาติมีฐานะเป็น
ก. ส่วนราชการ
ข. รัฐวิสาหกิจ
ค. องค์การมหาชน
ง. นิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
33.ใครมีสิทธิ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
ก. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข. รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ค. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. ใครก็ได้ที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง
34. ใครเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด
ก. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1
ข. รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
ค. ผู้อำนวยการโรงเรียนที่ได้รับมอบหมาย
ง. ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด
35. ข้อใดไม่ใช่กรรมการประเภทผู้แทนในคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด
ก. ผู้แทนค่ายลูกเสือจังหวัด
ข. ผู้แทนสมาคมหรือสโมสรลูกเสือ
ค. ผู้แทนจากลูกเสือชาวบ้าน
ง. ผู้แทนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
36.อัตราเงินค่าบำรุงลูกเสือเก็บคนหนึ่งไม่เกินปีละกี่บาท
ก. 5 บาท
ข. 10 บาท
ค. 15 บาท
ง. 20 บาท
37. เงินค่าบำรุงประจำปีของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ และเจ้าหน้าที่ลูกเสือเก็บคนหนึ่งไม่เกินปีละกี่บาท
ก. 5 บาท
ข. 10 บาท
ค. 15 บาท
ง. 20 บาท
38.จากข้อ 37 การเก็บเงินบำรุงประจำปีจำนวนกี่เดือน ถือว่าเป็นสมาชิกตลอดชีพ
ก. 6 เดือน
ข. 8 เดือน
ค. 10 เดือน
ง. 12 เดือน
39.การชำระเงินค่าบำรุงประจำปีให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนใดของทุกปี
ก. มิถุนายน
ข. กรกฎาคม
ค. สิงหาคม
ง. กันยายน
40.ตามข้อบังคับของสมาคมลูกเสือโลก คณะลูกเสือแห่งชาติจะต้องเสียเงินค่าบำรุงให้แก่สำนักงานลูกเสือโลก ตามจำนวนลูกเสือ ในอัตราคนหนึ่งปีละประมาณเท่าไหร่
ก. 50 สตางค์
ข. 100 สตางค์
ค. 150 สตางค์
ง. 200 สตางค์
41.เงินค่าบำรุงลูกเสือต้องส่งเป็นค่าใช้จ่ายในสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ร้อยละเท่าไหร่
ก. 20
ข. 30
ค. 40
ง. 50
42.สำนักงานลูกเสือจังหวัดให้จัดตั้ง ณ ที่ใด
ก. ศาลากลางจังหวัด
ข. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1
ค. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตใดเขตหนึ่ง
ง. ตามความเหมาะสม
43. ข้อใดไม่ใช่ กรรมการประเภทผู้แทนในคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
ก. ผู้แทนสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
ข. ผู้แทนสถานศึกษาเอกชน
ค. ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา
ง. ผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
44. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษามีไม่เกินกี่คน
ก. 3 คน
ข. 5 คน
ค. 7 คน
ง. 9 คน
45. ใครเป็นกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
ก. รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
ข. หัวหน้ากลุ่มงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
ค. ศึกษานิเทศก์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
ง. ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
46. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำรงตำแหน่งใดในคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
ก. ผู้อำนวยการสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
ข. ประธานคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
ค. หัวหน้าสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
ง. ถูกทุกข้อ
47.ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือลำดับที่เท่าไหร่
ก. ลำดับที่ 7
ข. ลำดับที่ 8
ค. ลำดับที่ 9
ง. ลำดับที่ 10
48.ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ตรวจการลูกเสือลำดับที่เท่าไหร่
ก. ลำดับที่ 7
ข. ลำดับที่ 8
ค. ลำดับที่ 9
ง. ลำดับที่ 10
49.ใครเป็นผู้ตรวจการใหญ่พิเศษ
ก. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข. เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ง. นายกรัฐมนตรี
50.ผู้ขอรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดี ชั้นพิเศษ คือ
ก. ผู้ช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า 5ปี นับแต่วันที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่หนึ่ง
ข. ผู้ช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า 4ปี นับแต่วันที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่หนึ่ง
ค. ผู้ช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า 3ปี นับแต่วันที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่หนึ่ง
ง. ผู้ช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า 2ปี นับแต่วันที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่หนึ่ง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำตราสัญลักษณ์(ภาพเครื่องหมายราชการ)ขึ้นใหม่ และได้แจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะร...
-
1. เงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ จัดอยู่ในงบประมาณหมวดใด ก. งบบุคลากร ข. งบดำเนินการ ค. งบเงินอุดหนุน ง. งบอื่นๆ 2. ค่าตอบแทน หมายถึง ก. เงินที่จ...
-
1. ข้าราชการครูซึ่งปฏิบัติราชการที่สถานศึกษา ไม่มีสิทธิลาประเภทใด ก. ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ข. ลาพักผ่อน ค. ลาอุปสมบท ง. ลาเข้ารับการ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น