วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คณะผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้นำเสนอความก้าวหน้าในการจัดการศึกษา ตาม นโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสรุปดังนี้
 นโยบายที่ 1 เร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
  •  การยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย โดยใช้องค์ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการ PISA
 สพฐ.ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์และยกร่างประกาศ ศธ.เรื่องแนวปฏิบัติการดำเนินงานของสถานศึกษาเพื่อยกระดับผลการทดสอบ PISA และวางแผนที่จะดำเนินงานเป็น ระยะ ได้แก่
 1) ภายในเดือนมีนาคม เพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้บริหารการศึกษาทั้งในส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา คณาจารย์สถาบันอุดมศึกษา และเผยแพร่ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ
 2) ภายในเดือนพฤษภาคม โดยจัดหลักสูตรอบรมและจัดอบรมให้แก่ศึกษานิเทศก์และครูสายผู้สอนภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เขตละ คน
 3) ภายในเดือนกันยายน โดยจัดหาและสร้างข้อสอบตามแนว PISA และบทอ่านพัฒนาศักยภาพการอ่าน คิดวิเคราะห์ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ รวมทั้งนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และจัดเวทีแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงาน
  • พัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน
 สพฐ.ได้ออกประกาศ ศธ. เรื่องการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาจีนแล้ว โดยมีแผนงานที่จะจัดทำคู่มือและแนวปฏิบัติการจัดเรียนการสอน ชี้แจงทำความเข้าใจ ปรับปรุงสื่อการสอน รวมทั้งจัดหาสื่อสนับสนุนการสอน นอกจากนี้จะพัฒนาหลักสูตรภาษาจีน ครูผู้สอน และข้อสอบวัด/ประเมินผลการเรียนรู้ภาษาจีน
  •  พัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
 สพฐ.ได้ออกประกาศ ศธ. เรื่องการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแล้ว พร้อมทั้งสรุปผลการวิจัยระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษของนักเรียนที่จบชั้น ป.ม.และ ม.ตามกรอบ CEFR ปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ รวมทั้งขยายโครงการ EP/MEP/EBE/EIS ยกระดับความสามารถของครู และส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยี  ทั้งนี้ สพฐ.มีแผนที่จะใช้กรอบแนวคิด CEFR ในการดำเนินงาน เช่น กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ การอบรมครู การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษของผู้เรียนและครู รวมทั้งจัดให้มี Conversation Class ในทุกโรงเรียน จัดระบบวิชาเลือก วิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ เพิ่มชั่วโมงเรียนอย่างเพียงพอ จัดค่ายภาษาอังกฤษแบบเข้ม และผลิต/สรรหา/ให้บริการ e-Content/Learning Application/สื่อดิจิทัล
  •  เร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้
 สพฐ.ได้ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรการเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
 กลุ่มที่ 1 อ่านไม่ออก  โดยมีการสาธิตรูปแบบการจัดการเรียนการสอน จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนเร็วใหม่เพื่อซ่อมเสริมและฝึกทักษะ จัดทำคลังความรู้ผ่านเว็บไซต์ http://academic.obec.go.th/web/node/318 และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
 กลุ่มที่ อ่านรู้เรื่องบ้าง  โดยการพัฒนาวิทยากรแกนนำการอ่านในทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และจัดทำคลังความรู้
 กลุ่มที่ 3 อ่านรู้เรื่องดี  โดยการพัฒนาวิทยากรแกนนำการอ่านในทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และจัดทำแผนยุทธศาสตร์และกำหนดมาตรการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA)
  •  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
 สพฐ.ได้ทบทวนแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร : การตกซ้ำชั้น และนำเสนอต่อ ศธ.ให้ใช้ข้อสอบกลางเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนปลายปีของผู้เรียน รวมทั้งมีแผนที่จะปรับแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผล และสร้างความตระหนัก ความรู้และเข้าใจให้แก่สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
นโยบายที่ ปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู
  •  การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
 สพฐ.ได้ดำเนินการหลักสูตรพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในหลายด้าน อาทิ การจัดการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การใช้วิจัยเป็นฐานสร้างสรรค์กระบวนการคิดและโครงงาน พัฒนาสมรรถนะครูสำหรับศตวรรษที่ 21 พัฒนาครูบรรจุใหม่กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ และเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของครูและผู้บริหาร รวมทั้งพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนมีและเลื่อนวิทยฐานะ และให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลงานวิชาการ เป็นต้น
  •  การคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งครูอัตราจ้างหรือลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการครู ตำแหน่งครูผู้ช่วย ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
 สพฐ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกฯ ครูผู้ช่วย สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาทั่วไป และแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางการคัดเลือกฯ สำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจชายแดนภาคใต้ เพื่อช่วยเหลือพนักงานราชการ ครูอัตราจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ และวิทยากรอิสลามให้มีขวัญกำลังใจ
นโยบายที่ เร่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้
 สพฐ.กำลังจัดหาระบบการเรียนการสอนแบบ Interactive Learning ติดตั้งระบบ Virtual Classroom และระบบ OBEC Channel IPTV จัดหา Wireless Access Point สำหรับโรงเรียน พัฒนาและส่งเสริมครูให้ใช้ Social Media และสร้างสื่อบนเว็บไซต์ โดย สพฐ.มีแผนที่จะจัดหาระบบการเรียนการสอนSmart Classroom ปรับปรุงเครือข่าย Intranet และปรับปรุงการเชื่อมต่อให้สอดคล้องกับโครงข่ายการศึกษาแห่งชาติ NEdNet จัดซื้อและพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพและทันสมัย เช่น Application e-Publishing Game 3D
นโยบายที่ 4 เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
  •  สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 ในปีการศึกษา 2557 สพฐ.จะจัดสรรค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาให้กับสถานศึกษาภาคเรียนละ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกจัดสรรให้ร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนเดิมของภาคเรียนที่ 2/2556 (ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2556) ที่เลื่อนชั้นไปอีกระดับชั้นหนึ่ง (อ.ป.2-6 ม.2-3 และ ม.5-6) สำหรับนักเรียนเข้าใหม่คิดเป็นร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นอนุบาล ป.ม.และ ม.เดิม ปีการศึกษา 2556  และครั้งที่ เมื่อสถานศึกษารายงานและยืนยันข้อมูลนักเรียนรายบุคคลของภาคเรียนที่ 1/2557 (ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2557) จึงจัดสรรเพิ่มเติมให้ครบร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนปัจจุบัน ทั้งนี้ หากการจัดสรรงบประมาณไม่ครบตามจำนวนนักเรียน ให้โรงเรียนยืมเงินจากรายการค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและค่าจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ ส่วนกรณีเงินเหลือให้โรงเรียนเก็บไว้สมทบกับการจัดสรรครั้งต่อไป
  •  การจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการและด้อยโอกาส
 สพฐ.ดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลคนพิการที่เป็นปัจจุบัน และให้ทุกหน่วยงานใช้ในการบริหารจัดการศึกษา ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม เช่น มีระบบคัดกรอง หลักสูตรที่สอดคล้องกับความพิการ แผนการพัฒนา การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง เป็นต้น จัดให้มีการเรียนรวม โดยมีระบบสนับสนุน มีแผนการพัฒนา มีครู และมีนักสหวิชาชีพ รวมทั้งจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ เพื่อส่งเสริมให้เด็กพิการได้มีโอกาสเข้าทำงานในสถานประกอบการ จัดให้มีศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างมีแผนงานและมีระบบสร้างแรงจูงใจ และมีกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ
นโยบายที่ พัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
  •  การยกระดับคุณภาพการศึกษา
 สพฐ.ได้ดำเนินการเร่งรัดพัฒนาทักษะภาษาไทยให้สามารถอ่านออกและเขียนได้คล่อง ส่งเสริมให้นักเรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมกับนักเรียนในพื้นที่อื่น ส่งเสริมและจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์และบริบทของพื้นที่ และส่งเสริมการจัดการศึกษาอาเซียน
  •  การสร้างขวัญและกำลังใจ
 สพฐ.ได้สร้างรายการคุ้มครอง เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา เช่น ระบบ CCTV ระบบวิทยุสื่อสาร ข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ดำเนินการให้มีและจ่ายเงินค่าพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อเพิ่มเป็นค่าตอบแทนพิเศษสำหรับข้าราชการและลูกจ้างของรัฐ เดือนละ 2,500 บาท และ 3,000 บาท รวมทั้งเพิ่มค่าจ้างให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเป็น 9,000 บาท เพิ่มให้กับวิทยากรอิสลามเป็น 15,000 บาท และจัดเงินเยียวยาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสียชีวิตจากความไม่สงบรายละ ล้านบาท
รมว.ศธ. ได้ขอให้ สพฐ.ช่วยคิดประเด็นที่จะดำเนินการเพื่อให้เกิดผลสำเร็จในระยะ 1-3 เดือนต่อจากนี้  เช่น
- การพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษ  โดยขอให้คณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ทำงานเชื่อมโยงกับ กศน. สช. ด้วย โดยเฉพาะเรื่องที่ได้ประกาศดำเนินการตามแนว CEFR ซึ่ง สพฐ. เสมือนเป็นหน่วยกล้าตายที่เปลี่ยนแนวคิดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ก็เท่ากับเปลี่ยนวิธีสอนด้วย นอกจากนี้ ขอให้ประสานกับ สทศ. สกอ. เพื่อดำเนินการไปในแนวทางเดียวกัน เช่น การออกข้อสอบ ทั้งนี้หากจะเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนขอให้ดำเนินการอย่างจริงจัง และคิดแนวทางการดำเนินงานต่อไปด้วย เช่น จัดกิจกรรมแนะนำ การสื่อสารกับสาธารณชนในวงกว้าง รวมทั้งแสดงอันดับของไทยที่จัดอันดับโดยสถาบันต่างประเทศ เพื่อให้เห็นปัญหา และเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
 - การส่งเสริมการสอนภาษาจีน  จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนอย่างมาก โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการสื่อสาร (Communicative) เป็นการเรียนที่เน้นคุณภาพ เน้นผลลัพธ์ มีระบบวิชาเลือกและระบบห้องเรียนรองรับ มีการสอนวิชาสนทนาอย่างเข้มข้นเพื่อให้สามารถสื่อสารได้ ควรให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินงานอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะเปลี่ยนรัฐมนตรีก็ตาม นอกจากนี้ จะต้องเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การผลิตตำรา/แบบเรียนร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (HANBAN) การขอความร่วมมือจากครูอาสาสมัครจีนให้สอนเด็กไทย โดยยึดตามแนวการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนแบบเข้มข้นของ ศธ. กล่าวคือ เน้นการสอนสนทนาในห้องเรียนที่มีขนาดเหมาะสม และมีจำนวนชั่วโมงเพียงพอกับการเรียนเพื่อให้เกิดการสื่อสารในชั้นเรียน นักเรียนทุกคนได้พูด ได้สนทนา  และเมื่อได้แนวปฏิบัติและระบบแล้ว ควรจะต้องสื่อสารกับทั้งระบบการศึกษาด้วย
 การยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน  โดยใช้องค์ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการ PISA ควรเร่งจัดหาข้อสอบตามแนว PISA โดยด่วน เพื่อให้ทั้งระบบได้วิเคราะห์และเรียนรู้ข้อสอบ พร้อมทั้งพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องต่อไป รวมทั้งเชิญชวนให้หน่วยงานอื่นได้มีส่วนร่วมในการยกระดับ PISAด้วย เช่น ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ขอให้หารือเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันว่า ขณะนี้ ศธ.กำลังพัฒนาระบบทดสอบกลาง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่จะทำให้รู้ถึงสภาพการจัดการศึกษาของประเทศ แต่ไม่ได้ใช้เพื่อการแข่งขันหรือทำให้โรงเรียนหรือครูต้องอับอาย และจะพัฒนาการทดสอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้โรงเรียนต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
 - เงินอุดหนุนรายหัว  ควรเร่งหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปหรือโครงร่างการจัดการเงินอุดหนุนกับทั้งระบบ เพื่อเตรียมนำเสนอต่อรัฐบาลชุดใหม่ ทั้งยังขอฝากให้คิดเรื่องการขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม ซึ่งจะต้องศึกษาข้อมูล ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยน การปรับหลักเกณฑ์ กฎกติกาต่างๆ เช่น เส้นทางความก้าวหน้าของครู ผู้บริหาร พร้อมทั้งนำเสนอให้สาธารณชนได้รับรู้ต่อไป
 - การประชาสัมพันธ์งานของ สพฐ.  ขอให้ดำเนินการได้ทันที เพื่อสื่อสารไปยังสังคมให้ได้รับรู้ว่า สพฐ.กำลังดำเนินการในเรื่องใด มีความก้าวหน้าอย่างไร และจะส่งผลหรือเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไร โดยไม่จำเป็นต้องเน้นไปที่ภาพของรัฐมนตรี แต่ให้เน้นงานของ สพฐ.อย่างแท้จริง

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี

ไม่มีความคิดเห็น: