นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มอบหมายให้ตน พร้อมด้วยนายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัด ศธ., นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) และนายสมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ เลขาธิการคุรุสภา เข้าชี้แจงกับคณะกรรมการกฤษฎีกากรณีที่จะขอใช้คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามมาตรา 265 ของรัฐธรรมนูญ 2560 และประกอบมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว แก้ไขคำสั่ง คสช.ที่ 19/2560 เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของ ศธ. เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ที่เกิดจากข้อที่ 13 ซึ่งเดิมกำหนดให้อำนาจการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดและกรุงเทพฯ ตามมาตรา 53(3) และ (4) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นของ ศธจ.โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) จากเดิมที่เป็นอำนาจของ ผู้อำนวยการ สพท.และผู้อำนวยการโรงเรียน โดยแก้ไขให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ 2 คณะ คือ คณะกรรมการบูรณาการด้านการศึกษา และคณะกรรมการการบริหารงานบุคคล ทั้ง 2 ชุดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มี ศธจ.เป็นเลขานุการ สำหรับคณะกรรมการบริหารงานบุคคลจะมีผู้อำนวยการ สพท.ในจังหวัดทุกคนร่วมเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ สพท.เป็นผู้ใช้อำนาจตามมาตรา 53(3) ตามที่ กศจ.อนุมัติ ขณะที่ ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้ใช้อำนาจตามมาตรา 53(4) ตามที่ กศจ.อนุมัติ ส่วน ศธจ.ทำหน้าที่เลขานุการ กศจ.ซึ่งผู้บริหาร ศธ. ทั้ง 4 คนได้เข้าชี้แจงให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องขอใช้มาตรา 44 แก้ไขคำสั่ง ดังกล่าว
"กฤษฎีกาได้สอบถามถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขคำสั่งดังกล่าว ซึ่งทาง ศธ.ได้ชี้แจงถึงความจำเป็นเพื่อให้เกิดการ บูรณาการการศึกษาภายในจังหวัด และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลักๆ จำเป็นต้องแก้อำนาจตามมาตรา 53(3) และ (4) คืนอำนาจให้กับผู้อำนวยการ สพท.และผู้อำนวยการโรงเรียนตามที่กำหนดไว้เดิม ประเด็นที่ 2 คือ ศธ.เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมี กศจ. 2 คณะ คือ คณะกรรมการบูรณาการด้านการศึกษา และคณะกรรมการบริหารงานบุคคล เพราะการมีคณะเดียวจะทำให้ กศจ.เสียเวลาไปกับการบริหารงานบุคคล จึงต้องมีคณะที่ดูแลแผนบูรณาการและยุทธศาสตร์ขึ้นมา ส่วนคณะกรรมการบริหารงานด้านงานบุคคลจะมีเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ก.ค.ศ.และ สพฐ.ส่วนหน่วยงานอื่น เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จะไปรวมอยู่ในคณะกรรมการบูรณาการ" นายพินิจศักดิ์กล่าว
นายพินิจศักดิ์กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ทางกฤษฎีกาไม่มีความคิดเห็นเพิ่มเติมมายัง ศธ. เพียงแต่ขอให้ ศธ.ไปชี้แจง เพื่อที่จะพิจารณาว่าช่วงนี้เรื่องใดบ้างที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หรือเรื่องใดที่รอดำเนินการตามขั้นตอนและรอเสนอเป็นกฎหมายธรรมดาได้ ซึ่งล่าสุดทราบว่าสิ่งที่ ศธ.ชี้แจงทางกฤษฎีกาได้ประสานขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมมายัง ศธ.แล้ว
"กฤษฎีกาได้สอบถามถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขคำสั่งดังกล่าว ซึ่งทาง ศธ.ได้ชี้แจงถึงความจำเป็นเพื่อให้เกิดการ บูรณาการการศึกษาภายในจังหวัด และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลักๆ จำเป็นต้องแก้อำนาจตามมาตรา 53(3) และ (4) คืนอำนาจให้กับผู้อำนวยการ สพท.และผู้อำนวยการโรงเรียนตามที่กำหนดไว้เดิม ประเด็นที่ 2 คือ ศธ.เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมี กศจ. 2 คณะ คือ คณะกรรมการบูรณาการด้านการศึกษา และคณะกรรมการบริหารงานบุคคล เพราะการมีคณะเดียวจะทำให้ กศจ.เสียเวลาไปกับการบริหารงานบุคคล จึงต้องมีคณะที่ดูแลแผนบูรณาการและยุทธศาสตร์ขึ้นมา ส่วนคณะกรรมการบริหารงานด้านงานบุคคลจะมีเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ก.ค.ศ.และ สพฐ.ส่วนหน่วยงานอื่น เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จะไปรวมอยู่ในคณะกรรมการบูรณาการ" นายพินิจศักดิ์กล่าว
นายพินิจศักดิ์กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ทางกฤษฎีกาไม่มีความคิดเห็นเพิ่มเติมมายัง ศธ. เพียงแต่ขอให้ ศธ.ไปชี้แจง เพื่อที่จะพิจารณาว่าช่วงนี้เรื่องใดบ้างที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หรือเรื่องใดที่รอดำเนินการตามขั้นตอนและรอเสนอเป็นกฎหมายธรรมดาได้ ซึ่งล่าสุดทราบว่าสิ่งที่ ศธ.ชี้แจงทางกฤษฎีกาได้ประสานขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมมายัง ศธ.แล้ว
--มติชน ฉบับวันที่ 30 ม.ค. 2561 (กรอบบ่าย)--
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น