เรื่องความรู้ทั่วไป ก็คงต้องเรียนว่า เราต้องรอบรู้ครับ เพราะเนื้อหากว้างมาก ไม่รู้ว่ากรรมการออกข้อสอบจะเล่นเรื่องอะไร ส่วนใหญ่มักจะเป็นเหตุการณ์บ้านเมืองไทย - ต่างประเทศ รางวัลต่างๆ เช่น กวีซีไรท์ เกี่ยวกับราชวงศ์ไทยก็ออกบ่อย สภาวะโลกปัจจุบัน เช่น โลกร้อน แผ่นดินไหว แนวทาง คือ ต้องอ่าน นสพ. ดูข่าว TV และสืบค้นในเน็ทเป็นประจำครับ
ข้อสอบในเขตพื้นที่ต่างๆมักจะออกความรู้ทั่วไปในเขตพื้นที่ หรือจังหวัดนั้นๆครับ เช่น
1. วิสัยทัศน์ สำนักงานเขตฯ
2. ใครเป็น ผอ.เขตฯ
3. ใครเป็นประธานกรรมการเขตฯ
4. ใครเป็นประธาน อกคศ.เขตฯ
5. เว็บไซต์เขต ชื่ออะไร
6. เลขที่หนังสือราชการ สำนักงานเขตฯ
7. จำนวนโรงเรียน
8. จำนวนอำเภอในพื้นที่บริการ
9. หมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงานเขตฯ
10. แผนกลยุทธ์เขตพื้นที่
11. ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด
12. ใครเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
13. คำขวัญของจังหวัด
14. จำนวนอำเภอในจังหวัด
15. จำนวนเขตพื้นที่ในจังหวัด
16. จำนวน สส.ในจังหวัด
17. ใครเป็น สว.ของจังหวัด
18. แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด
19. ประเพณีที่สำคัญของจังหวัด
20. บุคคลสำคัญ เช่น การเมือง ต่างประเทศ เศรษฐกิจ นักเขียน นักวิชาการ
21. บุคคลที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการต่างๆ เช่น ก.ค.ศ. ก.พ.ฐ. ฯลฯ
เคล็ดลับอีกอย่างในการเตรียมตัวสอบในเขตพื้นที่ต่างๆ คือ
1. เราควรรู้ว่า ใครเป็นกรรมการออกข้อสอบครั้งนี้ โดยมากมักจะเป็น รองผอ.เขตฯ ผอ.ร.ร.และ ศน. ใน สำนักงานเขตพื้นที่ เราลองสอบถามดูลักษณะนิสัย พฤติกรรม หรือแนวคิดของแต่ละท่าน เพื่อนำมาวิเคราะห์หาข้อมูลเตรียมตัวสอบ เช่น กรรมการบางท่านชอบอ่าน นสพ.ไทยรัฐ บางทานก็ชอบอ่าน นสพ.มติชน ดังนั้นลักษณะการเสนอข่าวของแต่ละ นสพ. ไม่เหมือนกัน อาจจะเป็นข้อมูลให้เราเตรียมสอบได้ มีหลายครั้งที่กรรมการออกข้อสอบไม่ได้เตรียมตัว คือ ถูกเชิญไป ก็ไปเลย บางเขตก็ไปซื้อหนังสือเตรียมสอบของสำนักพิมพ์ต่างๆที่มีขายในท้องตลาดมาเลือกออกข้อสอบ ซึ่งผมเจอมาหลายครั้ง และอีกอย่างคือ การซื้อหนังสือพิมพ์ของวันก่อนสอบ มาออกข้อสอบ ซึ่งทำเป็นประจำในบางเขตพื้นที่
2. หาข้อมูลพื้นฐานของผู้อำนวยการเขตพื้นที่ต่างๆ ท่านอาจจะถามว่า มันเกี่ยวกันตรงไหน เกี่ยวครับ เพราะ ผอ.เขตจะเป็นผู้ให้นโยบายแนวทางการออกข้อสอบ และเป็นผู้คัดเลือกข้อสอบ ดังนั้นข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของ ผอ.เขต เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าสอบครับ ตัวอย่างเช่น
3. ตัวอย่างเช่น ผอ.เขต เรียนจบปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต ข้อสอบก็จะออกตามหลักสูตรตรงๆ ไม่มีพลิกแพลง เนื้อหาวิชาการล้วนๆ ไม่มีความรู้ทั่วไป เน้นตัวบทกฎหมาย อย่าง สพท.กาญจนบุรี 3 ที่ผ่านมา
4. ถ้าผอ.เขตเป็นคนรักลูกน้องและพวกพ้อง ก็จะวางกลยุทธ์ที่คัดเลือกเอาคนของตนเอง หรือคนในเขตพื้นที่ ข้อสอบจะออกมาง่ายๆเบาๆ ตัวเลือกข้อที่ถูก ต่างจากพวกชัดเจน เช่น - คำถามถามว่า ผลการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ50 คิดเป็นกี่เปอร์เซ็น
ก. 57.81
ข. 68.58
ค. 71.55
ง. 48.99
ใครติดตามข่าวนี้ผ่านๆก็ตอบได้ ตัวเลือกไม่ได้ทำให้คิดมากเลย ข้อสอบเขตนี้จึงเปิดทาง ให้ไปดูตรงคะแนนประเมินและคะแนนสัมภาษณ์ ซึ่งค่อนบางอย่างข้างน่าเกลียด เช่น อายุตัวก็เป็นคะแนน อายุมาก คะแนนมาก อายุน้อย คะแนน 0 เงินเดือนมากคะแนนมาก เงินเดือนน้อย 0 อย่างนี้เป็นต้น เกิดขึ้นใน เขตเมืองหลวงที่ผ่านมา ถ้าเจอข้อสอบง่ายๆเบาๆ จงระวัง คะแนนประเมินกับสัมภาษณ์ อันตรายต่อคนต่างถิ่นครับ.
ครับ สิ่งเล็กๆน้อยๆ ตามประสบการณ์ที่เห็นมา และประสบด้วยตนเอง ทำให้เรียนรู้และเข้าใจว่า ข้อมูลทุกอย่างเป็นประโยชน์ต่อตัวเราทั้งสิ้นครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำตราสัญลักษณ์(ภาพเครื่องหมายราชการ)ขึ้นใหม่ และได้แจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะร...
-
1. เงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ จัดอยู่ในงบประมาณหมวดใด ก. งบบุคลากร ข. งบดำเนินการ ค. งบเงินอุดหนุน ง. งบอื่นๆ 2. ค่าตอบแทน หมายถึง ก. เงินที่จ...
-
1. ข้าราชการครูซึ่งปฏิบัติราชการที่สถานศึกษา ไม่มีสิทธิลาประเภทใด ก. ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ข. ลาพักผ่อน ค. ลาอุปสมบท ง. ลาเข้ารับการ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น