วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ทฤษฎีการวิเคราะห์ข้อสอบความสามารถทั่วไป (แนว ก.พ.)

เรียบเรียงจากเว็บไซท์แห่งหนึ่งจำชื่อไม่ได้แล้วครับ ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ
บทความสั้น ดูกลุ่มคำที่สำคัญดังนี้
1. ถามประโยคสำคัญ ดูคำต่อไปนี้ ทำให้ ปรากฏ เกิดขึ้น เกิดจาก บรรลุผล สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ หรือคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำเหล่านี้ (ทำให้ + ประโยคสำคัญ) กรณีที่บทความสั้นมีคำกริยาสำคัญอยู่หลายคำที่ซ้ำกันให้ดูกริยาตัวสุดท้าย เช่นถ้ามีคำว่าทำให้อยู่หลายตัว ให้ดูคำว่าทำให้ตัวสุดท้าย (ถ้าในบทความมีคำว่า “เพราะ” มากกว่าหนึ่งคำให้ดูคำว่า “เพราะ” ตัวแรก ถ้ามีคำว่า “ทำให้” หรือกริยาสำคัญตามข้อ 1 นี้ ให้ดูคำว่า ”ทำให้” หรือ กริยาสำคัญ ตัวสุดท้าย ถ้ามีคำว่า ”เพราะ” และคำว่า “ทำให้” อยู่ในบทความเดียวกันให้ดูคำว่า “ทำให้” หลังคำพวกนี้คือคำตอบ
2. ถามจุดประสงค์ของบทความ ดูคำต่อไปนี้ เพื่อ สำหรับ (เพื่อ + จุดประสงค์) คำว่า เพี่อ หรือ สำหรับ ถ้าอยู่ท้ายประโยคจะสำคัญ และสามารถนำประโยคที่อยู่ท้ายคำว่าเพื่อมาตอบได้ เปลี่ยน เปลี่ยนเป็น แทน กลาย กลายเป็น แทนที่ ให้ความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งหนึ่งสู่สิ่งหนึ่ง ถ้ากลุ่มคำนี้อยู่ในบทความ ในข้อเลือกที่ถูกต้องจะมีคำกลุ่มนี้ด้วยและคำนามสำคัญจะอยู่หลังคำกลุ่มนี้ การตอบให้มีคำนามตัวนี้ด้วยเช่นกัน
ถ้าในบทความมีคำว่าจำเป็นหรือคำว่าไม่จำเป็น ข้อที่ถูกอาจบอกว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็นก็ได้ รวมทั้งคำว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ข้อที่ถูกจะมีคำว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
ถ้า หาก ให้ความหมายเป็นประโยคเงื่อนไข (ถ้า + ประโยคเงื่อนไข) พิจารณาข้อเลือกมีคำกลุ่มนี้หรือไม่
- ไม่มีคำกลุ่มนี้ ถือว่าข้อความนั้นเป็นเพียงส่วนขยายให้ตัดออก
- มีคำกลุ่มนี้การตอบให้เน้นเงื่อนไขในบทความ
3. ถ้ามีคำว่า “ ถ้า “ “ หาก” อยู่ในบทความ ถ้าในข้อเลือกมีคำพวกนี้อยู่ด้วยให้ตอบข้อนั้นได้เลย แต่ถ้าไม่มีคำว่า “ถ้า “ “หาก” อยู่ในบทความแต่ในข้อเลือกมี ข้อเลือกนั้นผิดทันที
4. น้อยกว่า มากกว่า ต่ำกว่า สูงกว่า (กลุ่มคำแสดงการเปรียบเทียบขั้นกว่า) ถ้ากลุ่มคำนี้อยู่ในบทความ ในข้อเลือกที่ถูกต้องจะมีคำกลุ่มนี้ด้วย หากมีคำเปรียบเทียบมากกว่า 1 ข้อเลือก พิจารณาว่าบทความเป็นการเปรียบเทียบเรื่องใด และจะต้องเป็นเรื่องเดียวกับข้อเลือกที่ถูกต้อง หากไม่มีในบทความแต่ในข้อเลือกมี ข้อนั้นผิดทันที

5. ทั้งหมด ทั้งสิ้น สิ่งแรก สิ่งเดียว อันเดียว เท่านั้น ที่สุด ยกเว้น นอกจาก เว้นแต่ (กลุ่มคำที่เพื่อต้องการเน้นปริมาณทั้งหมด) หากบทความมีคำกลุ่มนี้ ในตัวเลือกที่ถูกต้องจะต้องมีคำกลุ่มนี้เช่นเดียวกัน หากบทความไม่มีคำกลุ่มนี้ แต่ในข้อเลือกกลับมีคำกลุ่มนี้ถือว่าข้อเลือกนั้นผิดทันที (อย่าตอบข้อเลือกที่เน้นเจาะจง ถ้าในบทความไม่มี เช่น ที่สุด เฉพาะ เท่านั้น
6. เพราะ เนื่องจาก (เพราะ + ประโยคเหตุผล) เน้นการเปลี่ยนประโยคจากเพราะ เนื่องจาก เป็นประโยคทำให้ ข้อสอบเน้นการตอบประโยคสาเหตุ + นามสำคัญ (ประธาน) ถ้าบทความมีความว่าเพราะอยู่หลายที่ ให้ดูคำว่าเพราะตัวที่หนึ่ง ถ้าบทความมีคำว่าเพราะและกริยาสำคัญเช่นคำว่าทำให้ ให้ดูที่คำว่าทำให้
7. ตระหนัก คำนึง (ตระหนัก + ถึง คำนึง + ถึง) นามที่อยู่ข้างหลังตระหนัก + ถึง จะต้องเป็นนามสำคัญรองจากประธาน และคำนามนี้จะต้องอยู่ในข้อเลือกที่ถูกต้อง
แต่ ทั้ง ๆ ที่ อย่างไรก็ตาม แม้…..แต่ ไม่…….แต่ (แต่ + ประโยคขัดแย้ง) ถ้าเป็นบทความสั้น แต่ + ประโยคสำคัญ ถ้าเป็นบทความยาว แต่ + ใกล้ประโยคสำคัญ
8. ถามหาทรรศนะผู้เขียน ดูคำว่า ควร ควรจะ อาจ อาจจะ น่า น่าจะ คิด คิดว่า คาด คาดว่า เชื่อว่า แนะ เสนอ ศักยภาพ เสนอแนะ แนะนำ ความสามารถ ใช้กับข้อสอบที่ถามว่า ผู้เขียนคิดอย่างไร จุดประสงค์ของผู้เขียน เป้าหมายของผู้เขียน จุดประสงค์ของบทความ ความต้องการของผู้เขียน กลุ่มคำทรรศนะส่วนมากจะวางไว้ท้ายบทความ ท้ายคำกลุ่มนี้ + ประเด็นสำคัญ
9. เปรียบเสมือน เปรียบเหมือน เสมือน ดุจ ประดุจว่า (กลุ่มคำแสดงการเปรียบ อุปมา อุปมัย) ข้อสอบจะเน้นบทความเชิงเปรียบเทียบอุปมา อุปมัย เช่นเปรียบเทียบเปลือกไม้กับชนบท ในการตอบให้เอาส่วนท้ายของบทความมาเป็นจุดเน้น
10. ดังนั้น เพราะฉะนั้น จึง ดังนั้น + นามสำคัญ+จึง (ดันนั้น + ข้อสรุป จึง + ข้อสรุป) คำที่อยู่หลังคำกลุ่ม1นี้จะต้องเป็นข้อสรุปของบทความ และสามาถนำเอาคำที่อยู่หลังกลุ่มนี้มาตอบ ส่วนมากจะใช้กับคำถามประเภทสาระสำคัญ ใจความสำคัญ หรือสรุป
11. พบ พบว่า ต้องการ ปรารถนา (พบว่า + นามสำคัญ) คำที่อยู่หลังกลุ่มนี้จะเป็นสาระสำคัญ ส่วนมากแล้วจะพบตอนต้นของบทความ
12. ผลต่อ ผลกระทบ ส่งผลต่อ อิทธิพลต่อ เอื้ออำนวยต่อ (ผลต่อ + นามสำคัญ) คำนามที่อยู่หลังคำกลุ่มนี้จะเป็นนามสำคัญรองจากประธาน พิจารณาว่าในข้อเลือก


ที่ถูกต้องจะมีคำนามนี้ พบมากตอนท้ายของบทความ(ถ้ามีคำเหล่านี้อยู่ในคำตอบข้อไหนข้อนั้นมีโอกาสถูก 60%
13. ทั้ง….และ และ ระหว่าง…….กับ กับ (กลุ่มคำที่มีคำนามสำคัญ 2 ตัว) การตอบข้อเลือกที่ถูกต้องจะมีคำนามทั้ง 2 ตัว ข้อสอบส่วนมากจะมีส่วนขยายที่ยาว ให้ตัดส่วนขยายออก และถือว่านามทั้ง 2 ตัวเป็นนามสำคัญ
14. นับว่า ถือว่า เรียกว่า อันนับว่าเป็น ถือได้ว่าเป็น (กลุ่มคำที่วางประธานไว้ท้ายบทความ) คำกลุ่มนี้ + ประธาน (นามสำคัญ) จะวางไว้ตอนท้ายบทความ ในการตอบให้เน้นประธาน หรือนามสำคัญตัวนี้
15. นอกจาก……แล้วยัง… นอกจาก…..ยังต้อง…., ไม่เพียงแต่….แล้วยัง…., (กลุ่มคำที่ให้ความหมายนอกเหนือจากที่กล่าวมาหรือมีความหมายหลายอย่าง) การตอบให้ตอบในลักษณะไม่ได้มีเพียงอย่างเดียว มีหลาย ๆ อย่าง มีทั้งสองอย่าง หรือ การตอบตามโครงสร้างไวยากรณ์ โดยเน้นประโยคหลังคำว่า แล้วยัง ยังต้อง
16. บาง บางสิ่ง บางอย่าง บางประการ ประการหนึ่ง จำนวนที่ไม่ใช่ทั้งหมด (กลุ่มคำเพื่อต้องการเน้นปริมาณไม่ใช่ ทั้งหมด) หากคำเหล่านี้อยู่ในตัวเลือกใด ส่วนมากจะถูกต้อง แต่หากมีคำเหล่านี้หลายตัวเลือกให้พิจารณาคำเหล่านี้ทำหน้าที่ขยายคำนามตัวใดในตัวเลือกต้องขยายคำนามตัวเดียวกัน
17. โดยเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง (กลุ่มคำเพื่อใช้เน้น) หากคำกลุ่มนี้รวมกับคำนามตัวเดียว หมายถึงการเน้นเพื่อใช้ตอบคำถาม แต่ถ้ารวมกับคำนามหลายตัว หมายถึงยกตัวอย่างสามารถตัดออกได้
18. เช่น ได้แก่ อาทิ (กลุ่มคำที่ยกตัวอย่าง) หากมีกลุ่มคำนี้ในบทความหมายถึงตัวอย่างให้ตัดออก แต่บางกรณีที่สามารถตอบตัวอย่างได้ แต่ต้องกล่าวถึงตัวอย่างให้ครบทุกตัว
19. เป็นที่น่าสังเกตว่า สังเกตว่า อย่างไรก็ตาม (กลุ่มคำที่ต้องการเน้นการขึ้นย่อหน้าใหม่(พิเศษ)) ข้อความหรือนามที่อยู่หลังกลุ่มนี้สามารถนำไปตอบได้ ส่วนมากเน้นขึ้นต้นย่อหน้าซึ่งบอกความหมายว่าย่อหน้านั้นเป็นย่อหน้าพิเศษ (มีคำถามซ้อนอยู่)
20. ที่ ซึ่ง อัน เพื่อ ใน โดย ด้วย สำหรับ ของ จาก ตาม (กลุ่มคำนี้เป็นส่วนขยาย) หากกลุ่มคำนี้อยู่กลางประโยคถึงเป็นส่วนขยายสามารถตัดออกได้ แต่มีบางคำเช่น เพื่อ สำหรับ จะต้องพิจารณาตำแหน่งของคำ (ดูข้อ 2)

21. ประธาน+เป็น ,นับเป็น, ถือเป็น, (กลุ่มคำที่ใช้หาประธาน) ใช้เมื่อบทความให้หาประธานแบบง่าย หรือข้อสอบเรียงประโยค โดยส่วนมากแล้วการหาประธานในบทความ

จะหาได้จากคำนามในข้อเลือกที่ซ้ำ ๆ หรือหาได้จากการกล่าวซ้ำคำนามตัวเดิมในประโยคที่สอง ที่สำคัญอย่าเอาตัวอย่างในบทความมาตอบเด็ดขาด

รูปแบบของข้อสอบบทความสั้น
รูปแบบที่ 1 ประโยคสอดคล้อง ตีความประโยค ไม่สอดคล้อง ตีความไม่ถูกต้อง มีประมาณ 5 ข้อ รูปแบบนี้ไม่จำเป็นต้องหาประธาน โดยสามารถตีความจากข้อต่าง ๆ ตามข้างบนได้
รูปแบบที่ 2 สรุปใจความสำคัญ หาประธาน ตัดตัวเลือกที่ไม่มีประธาน เหลือไว้เฉพาะที่มีประธานเท่านั้น อ่านและขีดเส้นใต้คำที่สำคัญข้างต้น ประธาน + คำที่สำคัญ คือคำตอบ
รูปแบบที่ 3 เรื่องย่อย ๆ
- ข้อความข้างต้นกล่าวถึงเรื่องใด ทำเช่นเดียวกับรูปแบบที่ 2 (ออกครั้งละ 1 ข้อ)ข้อความข้างต้นผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร หรือจุดประสงค์ของบทความ ทำโดยใช้กลุ่มคำภาษาแสดงทรรศนะ ส่วนมากภาษาแสดงทรรศนะจะแสดงไว้ท้ายบทความข้อความข้างต้นกล่าวไว้กี่ประเด็น (ข้อสอบจะตอบ 2 ประเด็นทุกครั้ง)
- ข้อสอบให้แยกความแตกต่างของคำในพจนานุกรม เช่น เรื่องเม็ด กับเมล็ด
ความแตกต่างของคำศัพท์ เช่นให้ความหมายของที่วัด ที่กัลปนา แต่ถามความหมายของธรณีสงฆ์
- ข้อสอบให้บริบทมาและศัพท์ที่ขีดเส้นใต้ แล้วถามความหมายของศัพท์โดยการแปลจากบริบทข้างเคียง
- ข้อสอบให้ความหมายของศัพท์แต่ให้หาคำจำกัดความ
การหาประโยคที่มีความหมายหรือโครงสร้างประโยคที่เหมือนกัน



ทฤษฎีบทความยาว
อ่านคำถามก่อนที่จะอ่านบทความ ในขณะที่อ่านให้ขีดเส้นใต้คำนาม คำนามเฉพาะ ตัวเลข หรือคำที่สามารถจดจำง่ายแล้ว
1. ทำการค้นหา
1.1 หากบทความยาวมาก 10 – 12 บรรทัด (3-4ย่อหน้า) ให้ค้นหาคำที่เราขีดเส้นใต้ไว้
1.2 หากบทความยาวพอสมควร 5-6 บรรทัดให้อ่านอย่างคร่าว ๆ เมื่อพบคำที่ขีดเส้นใต้แล้วให้อ่านอย่างจริงจัง

ข้อสอบให้ตั้งชื่อเรื่อง
หาประธานของบทความ โดยดูจากตัวเลือกว่าคำใดที่ซ้ำกันมากที่สุดและคำนามในประโยคแรกของย่อหน้าแรก ดูประโยคแรกของแต่ละย่อหน้า รวมกับประโยคสุดท้ายของย่อหน้าสุดท้ายเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่

ข้อสอบถามสาระสำคัญของบทความ
1. หาประธาน
2. หาคำที่สำคัญ (ทำเหมือนบทความสั้น)
ข้อสอบถามจุดประสงค์ของผู้เขียน (บทความจะกล่าวเชิงลบ)
1. หาสาระสำคัญของบทความ
2. เอาสาระสำคัญมาเปลี่ยนแปลงจากเชิงลบให้เป็นเชิงบวก
3. บทความอาจจะมีคำว่า เพื่อ สำหรับ วางไว้ท้ายบทความ( เพื่อ สำหรับ ให้บอกจุดประสงค์ของบทความ)
ข้อสอบถามความหมายของคำศัพท์
1. ดูบริบทที่มาขยายของศัพท์คำนั้น
2 ถ้าศัพท์เป็นคำกริยา ให้ดูคำนาม ถ้าศัพท์เป็นคำนามให้ดูกริยา
3 แปลรากศัพท์ของคำนั้น ๆ
ข้อสอบถามข้อใดถูกต้อง หรือ ไม่ถูกต้อง ให้ขีดเส้นใต้คำนาม คำนามเฉพาะ ตัวเลข หรือคำที่สามารถจดจำง่าย แล้วทำการค้นหา


รูปแบบของข้อสอบข้อบกพร่องทางภาษา
รูปแบบที่ 1 คำหรือกลุ่มคำที่ฟุ่มเฟือยหมายความว่ามีคำหรือกลุ่มคำที่มีความหมายเดียวกันตัดออกไปแล้ว 1 ชุดยังให้ใจความเหมือนเดิม
รูปแบบที่ 2 กำกวม หมายความว่า ประโยคหรือข้อความนั้นสามารถตีความได้มากกว่า 1 ประเด็น แบ่งเป็น 3 กรณี
- กำกวมที่เกิดจากคำประสม เช่นข้าวเย็น
- กำกวมที่เกิดจากการวางวลีบอกจำนวน บอกเวลา ส่วนขยายไว้ท้ายประโยค
- กำกวมเกิดจากการให้ความหมายของคำที่ขัดแย้ง
รูปแบบที่ 3 การใช้คำศัพท์ผิดความหมาย
รูปแบบที่ 4 การใช้คำเชื่อมให้สอดคล้องกับรูปประโยค (ให้ดูทฤษฎี คำเชื่อมและบุพบท)

ทฤษฎีคำเชื่อมบุพบทและสันธาน
บุพบท คือ คำที่ใช้นำหน้าคำอื่นเช่นนำหน้าคำนาม สรรพนาม
สันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำ หรือเชื่อมข้อความให้ติดต่อกัน หรือเชื่อมประโยค
ต่อ (บุพบท) ใช้เน้นความเป็นเฉพาะ และการกระทำต่อหน้า จะใช้ร่วมกับคำกริยาบางคำ ตัวอย่าง
- ยื่นคำร้องต่อศาล ให้การต่อเจ้าหน้าที่ เป็นกบฎต่อรัฐบาล ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผลต่อ ผลกระทบ
- ส่งผลต่อ สำคัญต่อ เอื้ออำนวยต่อ อิทธิพลต่อ ขึ้นตรงต่อ จำเป็นต่อ
- แก่ แด่ (บุพบท) แก่ ใช้นำหน้าผู้รับ ให้ มอบ แจก ส่ง สงเคราะห์ คำกลุ่มนี้ต้องใช้ แก่ + ผู้รับ ส่วนแด่
- ใช้นำหน้าผู้รับที่มีศักดิ์ ฐานะที่สูงกว่า เช่น ถวายพระพรแด่องค์พระประมุข ห้ามใช้ มอบสำหรับ
- กับ (บุพบท) ให้เมื่อประธานที่ทำกริยาเดียวกัน เวลาเดียวกัน สังเกต ประธาน 1+ กับ+ ประธาน2 หรือใช้ร่วมกริยาบางคำและใช้กับวิเศษณ์บอกระยะทาง ใกล้กับ ตัวอย่าง เขากับฉันไปดูหนัง เกี่ยวข้อกับสัมพันธ์กับ
-

- ผูกพันกับ ประสานกับ ชี้ แจงกับ ต่อสู้กับ ปราศรัยกับ ร่วมมือกับ ห้ามใช้เกี่ยวข้องต่อ ผูกพันต่อ
- จาก (บุพบท) ใช้บอกแหล่งที่มา ให้นำหน้าวัสดุ ให้กับคำกริยาใช้บอกระยะทาง ไกลจาก ให้กับคำกริยาบางคำ เช่น เดินทาง มาจากจังหวัดเลย น้ำไหลมาจากยอดดอย ผลิตจาก ทำมาจาก ทำจาก ได้รับจาก
รับจาก ขอจาก ถอนจาก เบิกจาก เก็บจาก ห้ามใช้ น้ำไหลมาแต่
- ตาม (บุพบท) ใช้นำหน้าสิ่งที่ถูกต้อง ข้อบังคับ ข้อกำหนด ใช้บอกจำนวนที่แน่ชัด ใช้นำหน้าสิ่งที่กำหนดขึ้นล่วงหน้า เช่น ตามกฎหมาย ตามกติกา ตามข้อบังคับ ตามสัดส่วนที่ได้กำหนด ตามโครงการ ตามนโยบาย ห้ามใช้ในกฎหมาย ด้วยกฎหมาย โดยกฎหมาย ในสัดส่วน ในเป้าหมาย
- เพื่อ สำหรับ เพื่อ ใช้บอกจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย สำหรับ ใช้บอกจุดประสงค์โดยเฉพาะเจาะจง กลุ่มนี้ไม่ค่อยผิด
- คือ ให้ความหมายของคำที่อยู่ด้านหน้า หากบอกจำนวนจะหมายถึงจำนวนที่แน่ชัด เช่น เลย คือจังหวัดที่ตั้งอยู่ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ
- เป็น ใช้อธิบายเพิ่มเติมคำที่อยู่ด้านหน้า หากบอกจำนวนจะหมายถึงจำนวนที่ไม่แน่ชัด เลยเป็นจังหวัดที่มีอารยธรรมเก่าแก่
- โดย ด้วย ให้นำหน้าผู้กระทำ หรือนำหน้าการกระทำ ใช้นำหน้าเครื่องใช้ เช่น เจรจาโดยสันติ เดินทางโดยเครื่องบิน ถูกตีด้วยท่อนไม้ ห้ามใช้ เจรจาตามสันติวิธี อังกะลุงทำโดยไม้ไผ่
- ถูก ได้รับ ถูก ใช้นำหน้าคำกริยาที่ไม่ดี ได้รับ ใช้นำหน้ากริยาที่ดี ตัวอย่าง ถูกเตะ ถูกตี ได้รับเชิญ ได้รับการรอบรม
- โดยเฉพาะ ใช้เน้นคำข้างหน้าให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ภาษาโดยเฉพาะภาษาพูด ภาคเหนือโดยเฉพาะเชียงใหม่
- และ ให้แสดงถึงความคล้อยตามของเหตุการณ์ ให้ความหมายว่าทั้งหมดทั้งสิ้น เช่นกินข้าวและอาบน้ำ
- หรือ ใช้แสดงให้ทราบว่าเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้คั่นสิ่งของ 2 อย่างซึ่งเป็นอันเดียวกันแต่เรียกชื่อคนละอย่าง เช่น แม่ฮ่องสอนหรือเมืองสามหมอก เครื่องหมาย


อัญประกาศหรือเครื่องหมายคำพูด ข้อสอบ จะวัดความเข้าใจของคำว่า และ กับคำว่าหรือ ใช้แตกต่างกันอย่างไร
- เพราะ เนื่องจาก ใช้เชื่อมความเป็นเหตุและผลต่อกัน เพราะ ไม่สามารถขึ้นต้นประโยคได้ เช่น เขาเรียนเก่งเพราะ(เนื่องจาก)เขาขยันอ่านหนังสือ เนื่องจากเขาขยันอ่านหนังสือเขาจึงเรียนเก่ง ห้ามใช้ ก็เพราะ สืบเนื่องมาจาก เพราะฟุ่มเฟือย
แต่ (สันธาน) ใช้เชื่อมความขัดแย้ง ส่วนมากจะใช้กับกริยาปฏิเสธ เช่น เขาไม่สบาย แต่เขาก็ยังมาสอน ทั้ง ๆ ที่ไม่สบาย แต่เขาก็ยังมาสอน ข้อสอบจะให้แยกความแตกต่างของคำว่า และ แต่ระหว่าง จะใช้คูกับคำว่า กัน ให้จำว่า ระหว่าง……กับ…… เช่น ปัญหาข้อพิพาทระหว่างอินเดียกับปากีสถานยังหาข้อสรุปไม่ได้ ห้ามใช้ ระหว่าง…….และ
- ของ เป็นคำที่แสดงความเป็นเจ้าของ จะนำหน้าคำนาม ประเทศ คน หน่วยงาน เช่น นโยบายเร่งด่วนของกระทรวงมหาดไทยคือ………… ข้อสอบจะให้แยกความแตกต่างของคำว่า ของ แห่ง
- แห่ง เป็นคำที่แสดงความเป็นเจ้าของในเรื่องหมวดหมู่ หรือส่วนย่อยและส่วนใหญ่ เช่น สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย
- เมื่อ ใน เป็นคำที่ใช้นำหน้าเวลา คำทั้งสองสามาถนำขึ้นต้นประโยคได้ เช่น เมื่อ ปี พ.ศ.
- ที่ ใน เป็นคำที่ใช้นำหน้าสถานที่ เช่น เขาพบเธอที่บ้าน ห้ามใช้ ที่ ใน พร้อมกัน
ทั้ง ต้องใช้คู่กับและ โครงสร้าง ทั้ง…และ….รวมทั้ง (ตลอดจน) เช่น ทั้งเขาและเธอต่างก็มีความสุขห้ามใช้ ทั้ง.หรือ ได้แก่ เช่น อาทิ เป็นต้นว่า เป็นคำที่ใช้ยกตัวอย่าง คำกลุ่มนี้จะใช้กับจำนวนที่ไม่แน่นอน คำว่าได้แก่ห้ามตามหลังประธาน เช่น จังหวัดในภาคเหนือบางจังหวัด เช่น……ห้ามใช้ อาทิเช่น ห้ามใช้จังหวัดในภาคเหนือมี 11 จังหวัด เช่น….
- ดังนั้น จึง เพราะฉะนั้น ดังนั้น……จึง….. เป็นคำที่ใช้สรุปข้อความ เนื่องจาก+สาเหตุ+จึง+ข้อสรุป ดังนั้น+นาม+ จึง+ข้อสรุป เช่น เขาเป็นคนขยันจึงทำให้เขาประสบความสำเร็จในชีวิต ข้อสอบจะเน้นโครงสร้างที่ต่อเนื่องคือ ดังนั้น…จึง เนื่องจาก….จึง
- ถ้า….แล้ว เป็นคำที่แสดงเงื่อนไข อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ เช่น ถ้าเขาขยัน แล้วเขาจะสอบได้ ห้ามใช้ ถ้า หาก พร้อมกันจะทำให้ฟุ่มเฟือย
อย่างไรก็ตาม อย่างไรก็ดี ใช้ขึ้นต้นประโยค หรือขึ้นต้นย่อหน้าใหม่ เป็นสันธานที่แสดงถึงความขัดแย้ง ไม่สามารถเชื่อมคำหรือวลีได้ เช่น อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังต้องแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงานอีกมาก ห้ามใช้ ก็อย่างไรก็ตาม

ทฤษฎีการเรียงประโยค
หาข้อขึ้นต้นประโยค โดยยึดหลักดังนี้
1. คำนาม รวมทั้งคำ “การ+กริยา” และ “ความ+ วิเศษณ์”
2. ช่วงเวลา รวมทั้งคำ เมื่อ ใน (ช่วงเวลาถ้าไม่ขึ้นต้นก็จะอยู่ประโยคสุดท้าย)
3. คำเชื่อมบางคำ เนื่องจาก แม้ว่า ถ้า หาก คำเหล่านี้จะขึ้นต้นได้ต้องรวมกับคำนาม
4. หนังสือราชการ ขึ้นต้นด้วย ตาม ตามที่ ด้วย
5. คำเชื่อมที่เป็นคำมาตรฐานมี 11 คำคือ ที่ ซึ่ง อัน เพื่อ ใน โดย ด้วย สำหรับ ของ จาก ตาม คำเหล่านี้ขึ้นต้นประโยคไม่ได้ ยกเว้นคำว่า ใน+นาม จาก+นาม ตาม+ข้อบังคับ ตาม+หน่วยงาน และถ้าคำเหล่านี้อยู่กลางประโยคถือเป็นส่วนขยายให้ตัดส่วนขยายเหล่านั้นทิ้ง
6. คำปิดประโยค อีกด้วย ก็ตาม นั้นเอง ต่อไป เท่านั้น ถ้าคำเหล่านี้ลงท้ายของข้อแล้วส่วนมากข้อนั้นจะเป็นข้อสุดท้าย ช่วงเวลา ประโยคคำถาม
7. โครงสร้างประโยคที่ใช้บ่อย ทั้ง…และ….รวมทั้ง(ตลอดจน) นอกจาก……แล้วยัง(ยังต้อง) ไม่………แต่ แม้…แต่ ดังนั้น+นาม+จึง ถ้า……แล้ว(ยัง)
8. คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะจะต้องบวกคำกริยา เช่น ประเทศสมาชิกอาเซียน กระทรวงมหาดไทย
9. หากมีข้อใดขึ้นต้นด้วยคำว่า และ หรือ ให้ใช้เทคนิคหาคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
10. หากมีข้อใดขึ้นด้วยคำว่า กับ ต่อ ให้หาคำกริยาที่ใช้คู่กัน เช่น ประสานกับ ชี้แจงกับ ผลต่อ
11. ในการเรียงหากเหลือ 2 ข้อ ให้พิจารณากริยาใดเกิดขึ้นก่อน หรือเกิดทีหลัง


ทฤษฎีและหลักการวิเคราะห์ข้อความสามารถทั่วไป สามารถปรับมาใช้กับข้อสอบบรรจุผู้บริหารสถานศึกษา และข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วยได้ครับ

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ข้อมูลเยี่ยมมากเลยคะ

ขอบคุนนะคะ