วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

สำนักงานเลขาคุรุสภาได้กำหนดให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 เพื่อเตรียมการในการพัฒนาตนเองพัฒนางานให้ได้มาตรฐานวิชาชีพต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพประกอบด้วย
1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ
- มาตรฐานความรู้
- มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
- เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู จำนวน 12 ข้อ
- เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาจำนวน 12ข้อ
- เกณฑ์มาตรฐานบุคลากรทางการศึกษาอื่น(ศึกษานิเทศก์)จำนวน 12 ข้อ
3. มาตรฐานการปฏิบัติตน(จรรยาบรรณของวิชาชีพ)
- จรรยาบรรณต่อตนเอง ต่อวิชาชีพ ต่อผู้รับบริการ ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพและจรรยาบรรณต่อสังคม เพื่อให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ได้พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานข้างต้นมีหัวข้อสรุปดังนี้
1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ
- คุณวุฒิ/ใบรับรองผล การศึกษา/ฝึกอบรม/ประชุมสัมมนาฯลฯ
- สถานภาพ/ตำแหน่ง /เงินเดือน
- งานที่ได้รับมอบหมาย
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการปฏิบัติวิชาชีพ
- ความสำเร็จหรือการยกย่องที่ได้รับ
2. มาตรฐานการปฏิบัติตน(จรรยาบรรณของวิชาชีพ)
- การมีวินัยและการพัฒนาตนเอง
- การรับผิดชอบต่อวิชาชีพ
- การแสดงความเอื้ออาทร
- การส่งเสริมเรียนรู้
- การเป็นแบบอย่าง
- การช่วยเหลือเกื้อกูล
- การให้ความเสมอภาค
- การเกื้อกูลและยึดมั่นในระบบคุณธรรม
- ความเป็นผู้นำในการอนุรักษ์
ข้อ 1และ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ต้องปฏิบัติตามหัวข้อที่กำหนด ส่วนเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพแยกปฏิบัติดังนี้

เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ

เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู มี 12 มาตรฐานคือ
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่ เสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน มาตรฐานที่3มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียนหมายถึงการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้ตามสภาพความแตกต่างของบุคคลด้วยการปฏิบัติจริงและสรุปความรู้ทั้งหลายได้ด้วยตนเองก่อให้เกิดค่านิยมและนิสัยในการปฏิบัติจนเป็นบุคลิกภาพถาวรติดตัวผู้เรียนตลอดไป
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ หมายถึง การรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนที่เกิดจากการปฏิบัติการเรียนการสอนให้ครอบคลุม สาเหตุ ปัจจัยและการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องโดยครูนำเสนอรายงานการปฏิบัติในรายละเอียดดังนี้
1. ปัญหาความต้องการของผู้เรียนที่ต้องได้รับการพัฒนา และเป้าหมายของการพัฒนาผ้เรียน
2. เทคนิค วิธีการ หรือนวัตกรรมการเรียนการสอนที่นำมาใช้เพื่อ การพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและขั้นตอนวิธีการใช้เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมนั้นๆ
3. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีการที่กำหนด ที่เกิดกับผู้เรียน
4. ข้อเสนอแนะแนวทางใหม่ๆในการปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทุกสถานการณ์

เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการ บริหารการศึกษา
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้น กับการพัฒนาของบุคลากร ผู้เรียนและชุมชน
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนงานขององค์กรให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ
มาตรฐานที่ 6 ปฏิบัติงานขององค์กรโดยเน้นผลถาวร
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 11 เป็นผู้นำและสร้างผู้นำ
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสในการพัฒนาได้ทุกสถานการณ์


เกณฑ์มาตรฐานศึกษานิเทศก์(บุคลากรทางการศึกษาอื่น)
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนา การนิเทศการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศการศึกษา โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้รับการนิเทศ
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้รับการนิเทศให้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจนเกิดผลต่อการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการนิเทศให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาและใช้นวัตกรรมการนิเทศการศึกษาจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการนิเทศการศึกษา โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้รับการนิเทศ
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการนิเทศการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
มาตรฐานที่ 9 ร่วมพัฒนางานกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 11 เป็นผู้นำและสร้างผู้นำทางวิชาการ
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสในการพัฒนางานได้ทุกสถานการณ์
-----------------------------

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผู้บริหารโรงเรียน ศน.ไม่ได้ต่อใบประกอบวิชาชีพครูผู้สอน ตามกฎหมายสามารถทำการสอนในสถานศึกษาได้หรือไม่