ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
กรณีวินัยไม่ร้ายแรง : ผู้บังคับบัญชาตามที่กฎหมายกำหนด
กรณีวินัยร้ายแรง : (1) ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 53
(2) ผู้บังคับบัญชาเหนือผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 100 วรรคหก
(3) ผู้บังคับบัญชาผู้ได้รับรายงานตามมาตรา 104
(4) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด นายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 98
องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการสอบสวน
ตามกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา (พ.ศ.2550) ข้อ 3 กำหนดให้คณะกรรมการสอบสวนประกอบด้วย ประธานกรรมการซึ่งดำรงตำแหน่งระดับไม่ต่ำกว่าหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา และกรรมการอย่างน้อยอีก 2 คน โดยให้กรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ในกรณีจำเป็นจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการด้วยก็ได้ และต้องมีผู้ดำรงตำแหน่งนิติกร หรือผู้ได้รับปริญญาทางกฎหมาย หรือผู้ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรการดำเนินการทางวินัย หรือผู้มีประสบการณ์ด้านการดำเนินการทางวินัย อย่างน้อยหนึ่งคนเป็นกรรมการสอบสวน สรุปคือ คณะกรรมการต้องมี
(1) อย่างน้อย 3 คน
(2) เป็นข้าราชการ
(3) ประธานต้องดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา
(4) ในคณะกรรมการต้องมีผู้ดำรงตำแหน่งนิติกร หรือผู้ได้รับปริญญาทางกฎหมาย หรือผู้ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรการดำเนินการทางวินัย หรือผู้มีประสบการณ์ด้านการดำเนินการทางวินัยเป็นกรรมการสอบสวนอย่างน้อย 1 คน
คำว่า “ผู้มีประสบการณ์ด้านการดำเนินการทางวินัย” หมายถึง ผู้ที่เคยเป็นกรรมการสอบสวน หรือเป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ต้องระบุ
(1) เป็นคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง/ไม่ร้ายแรง
(2) ชื่อและตำแหน่ง/วิทยฐานะของผู้ถูกกล่าวหา
(3) เรื่องที่กล่าวหา
(4) ชื่อและตำแหน่ง/วิทยฐานะของคณะกรรมการสอบสวน
เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ต้องตั้งกรรมการสอบสวนทั้งวินัยร้ายและไม่ร้ายแรงจึงควรระบุให้ชัดเจนว่า เป็นเรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง เนื่องจากจะต้องใช้กฎสอบสวนฉบับเดียวกัน และต้องมีการแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหามีโอกาสชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา
การแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาและคณะกรรมการสอบสวนทราบ
เมื่อได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
(1) แจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยเร็ว โดยให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน ในการนี้ให้มอบสำเนาคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับด้วย ถ้าไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบได้ หรือผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมรับทราบคำสั่ง ให้ส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหาตามที่อยู่ที่ปรากฏหลักฐานของทางราชการ เมื่อล่วงพ้น 15 วันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการดังกล่าวให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
(2) ส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้ประธานและกรรมการทราบ พร้อมทั้งส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาให้ประธานกรรมการและให้ลงลายมือชื่อ และวัน เดือน ปีที่รับทราบไว้เป็นหลักฐานด้วย
ลำดับขั้นตอนการสอบสวน
1. ประธานกรรมการลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี ที่รับทราบคำสั่ง
2. ประชุมคณะกรรมการ เพื่อวางแนวทางการสอบสวน (ข้อ 16)15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งพิจารณาเรื่องที่กล่าวหา กำหนดข้อกล่าวหา
3. แจ้งและอธิบายข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ (สว.2) ข้อ 20 แจ้งสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา
-ถามผู้ถูกกล่าวหาว่าจะรับสารภาพหรือไม่
4. -รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหา60 วัน นับแต่แจ้ง สว.2 (กรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่รับสารภาพ)
-ประชุมเพื่อพิจารณาว่ามีพยานหลักฐานใดสนับสนุนข้อกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการใด เมื่อใด อย่างไร และเป็นความผิดวินัยกรณีใด ตามมาตราใด 15 วัน นับแต่วันดำเนินการตามข้อ 4 5. -แจ้งข้อกล่าวหาที่ปรากฏตามพยานหลักฐานและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
-ถามความประสงค์ของผู้ถูกกล่าวหาว่าจะยื่นคำชี้แจง เป็นหนังสือ หรือจะให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการ (สว.3)60 วัน นับแต่วันที่ดำเนินการตามข้อ 5
6. –สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา
7. ประชุมพิจารณาพยานหลักฐานทั้งหมดเพื่อลงมติว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าผิดเป็นความผิดร้ายแรง30 วัน นับแต่วันที่ดำเนินการตามข้อ 6 หรือไม่ร้ายแรง ผิดกรณีใด มาตราใด ควรได้รับโทษสถานใด หรือหย่อนความสามารถตามมาตรา 111 หรือมีมลทินหรือ มัวหมองตามมาตรา 112
8. ทำบันทึกรายงานการสอบสวน (ข้อ 39)
9. เสนอสำนวนการสอบสวนต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
หมายเหตุ
1. รวมระยะเวลาการสอบสวนตามที่กฎ ก.ค.ศ. กำหนด 180 วัน
2. สามารถขยายเวลาได้ตามความจำเป็นในแต่ละขั้นตอน ครั้งละไม่เกิน 60 วัน
3. หากดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายใน 240 วัน ประธานกรรมการต้องรายงานให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนรายงาน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาทราบ เพื่อติดตามเร่งรัดการสอบสวน
อนึ่ง สำหรับการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง ข้อ 21 กำหนดให้ดำเนินการให้เสร็จภายใน 90 วัน หากไม่เสร็จให้ขยายได้ไม่เกิน 30 วัน โดยนำขั้นตอนตามข้อ 20 มาใช้โดยอนุโลม
การสอบสวนทางวินัยเป็นการค้นหาข้อเท็จจริง หรือแสวงหาความจริงให้ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ซึ่งเป็นระบบไต่สวน โดยถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ในขณะเดียวกันก็ต้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ถูกกล่าวหาด้วย
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสร็จแล้ว ต้องทำรายงานการสอบสวนตามแบบ สว.6 โดยสรุปความเห็นว่ามีความเห็นอย่างไร ยกเหตุผลประกอบว่าเพราะเหตุใดจึงเห็นเช่นนั้น กรณีที่เห็นว่าผิดให้ระบุด้วยว่าเห็นว่าผิดร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง หากเป็นความผิดวินัยร้ายแรงต้องเสนอให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออก จะเสนอโทษต่ำกว่าปลดออกไม่ได้
ขอขอบคุณ
วงจันทร์ ชีวธาดาวิรุทน์
เจ้าของบทความ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำตราสัญลักษณ์(ภาพเครื่องหมายราชการ)ขึ้นใหม่ และได้แจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะร...
-
1. เงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ จัดอยู่ในงบประมาณหมวดใด ก. งบบุคลากร ข. งบดำเนินการ ค. งบเงินอุดหนุน ง. งบอื่นๆ 2. ค่าตอบแทน หมายถึง ก. เงินที่จ...
-
1. ข้าราชการครูซึ่งปฏิบัติราชการที่สถานศึกษา ไม่มีสิทธิลาประเภทใด ก. ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ข. ลาพักผ่อน ค. ลาอุปสมบท ง. ลาเข้ารับการ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น