ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการอาชีวศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๒
สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการอาชีวศึกษา หลักสูตร ปวช. มีหน้าที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามภารกิจของสถานศึกษานั้น โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ในกรณีที่สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษาโดยไม่มีเหตุผลและความจำเป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ให้ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๒ ดังนั้นสถานศึกษาระดับ ปวช. ต้องมีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาตามความสามารถ ความสนใจ ความถนัด และความต้องการจำเป็นพิเศษตามประเภทความพิการ
สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการอาชีวศึกษา หลักสูตร ปวส. หรือหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีและปฏิบัติการ มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม โดยให้คำนึงถึงประเภทความพิการ และให้สถานศึกษานั้นแจ้งต่อคณะกรรมการฯ ทราบไม่น้อยกว่า ๑๒๐ วันก่อนเริ่มปีการศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป โดยสถานศึกษามิสิทธิได้รับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่นจากส่วนราชการตามจำนวนเงินที่ต้องเรียกเก็บจากนักศึกษาพิการ หากส่วนราชการไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ส่งเรื่องขอรับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการต่อไป ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) รับผิดชอบกองทุนนี้ หรืออาจทำข้อตกลงขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้
ทั้งนี้ สถานศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษาจะต้องจัดระบบหรือรูปแบบที่สนับสนุนการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัด และความต้องการจำเป็นพิเศษตามประเภทคนพิการ รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยี สื่อ บริการ และความช่วยเหลือให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งมีหน้าที่รายงานผลการดำเนินการต่อส่วนราชการต้นสังกัดด้วย
นอกจากนั้น ส่วนราชการต้องจัดให้มีหน่วยงานภายในเป็นการเฉพาะ เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาสำหรับคนพิการ พร้อมทั้งกำหนดให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษารักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจกำหนดแบบและวิธีปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๒
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนทุกสังกัด มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม โดยให้คำนึงถึงประเภทของความพิการด้วย และแจ้งต่อคณะกรรมการฯ เพื่อทราบไม่น้อยกว่า ๑๒๐ วันก่อนเริ่มปีการศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป โดยจะต้องจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการ การจัดทำหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของนิสิตนักศึกษาแต่ละบุคคล รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยให้นิสิตนักศึกษาพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ตามความเหมาะสม
นอกจากนี้ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้สถาบันอุดมศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษามีสิทธิได้รับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่นจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ตามจำนวนเงินที่ต้องเรียกเก็บจากนิสิตนักศึกษาคนพิการ หาก สกอ.ไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ส่งเรื่องขอรับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการต่อไป หรืออาจทำข้อตกลงขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้
ระเบียบนี้ยังได้กำหนดให้ สกอ.ต้องรายงานผลการดำเนินงานในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ต่อคณะกรรมการฯ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง พร้อมทั้งกำหนดให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษารักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจกำหนดแบบและวิธีปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำตราสัญลักษณ์(ภาพเครื่องหมายราชการ)ขึ้นใหม่ และได้แจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะร...
-
1. เงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ จัดอยู่ในงบประมาณหมวดใด ก. งบบุคลากร ข. งบดำเนินการ ค. งบเงินอุดหนุน ง. งบอื่นๆ 2. ค่าตอบแทน หมายถึง ก. เงินที่จ...
-
1. ข้าราชการครูซึ่งปฏิบัติราชการที่สถานศึกษา ไม่มีสิทธิลาประเภทใด ก. ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ข. ลาพักผ่อน ค. ลาอุปสมบท ง. ลาเข้ารับการ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น