รมว.ศธ.กล่าวว่า จากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้เห็นชอบให้มีคณะกรรมการบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีนายนิวัตร นาคะเวช รองปลัดกระทรวง ศธ. เป็นประธานกรรมการ และนายกมล รอดคล้าย ผู้ตรวจราชการ ศธ. เป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปฏิบัติงานประจำในพื้นที่ โดยมีภารกิจในการบูรณาการแผนงานองค์กรหลักทุกองค์กร เพื่อผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติตามแผนการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ ครม.ได้มีมติอนุมัติแล้วนั้น
จากการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักครั้งนี้ ได้พิจารณากำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน รายละเอียดตัวชี้วัด เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ดังนี้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒ ในทุกกลุ่มสาระวิชา
พัฒนาครูที่สอนไม่ตรงวุฒิ ซึ่งจบเฉพาะในปี ๒๕๕๒ จำนวนไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ คน
นักเรียนที่เรียนในช่วงชั้นที่ ๑ คือ ป.๑-ป.๓ ที่อ่านเขียนภาษาไทยไม่คล่อง จำนวน ๙,๕๐๖ คน ต้องสามารถอ่านเขียนภาษาไทยได้คล่องเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓๐ ของจำนวน ๙,๕๐๖ คน
ดำเนินการให้เด็กที่ตกหล่นไม่จบการศึกษาภาคบังคับจำนวน ๙,๘๐๕ คน ได้เรียนจบภาคบังคับภายใน ๓ ปี และต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ ของจำนวน ๙,๘๐๕ คน
ส่งเสริมให้มีการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ ๒๗๔ โรงเรียน โดยภายในปี ๒๕๕๓ จะต้องเพิ่มขึ้นเป็น ๓๕๐ โรงเรียน
จัดให้มีการสอบวัดผลสัมฤทธิ์อิสลามศึกษา I-Net ในภาพรวมโดย สทศ. ซึ่งจะใช้ข้อสอบเดียวกันทั้งทุกจังหวัดในเขตชายแดนภาคใต้
ดำเนินการให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนรัฐบาล สามารถสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๙๐ เป็นร้อยละ ๙๕
จัดให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ได้ดื่มนมฟรีทุกโรงเรียน ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน รวมทั้งจัดให้มีอาหารกลางวันฟรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ในโรงเรียนเอกชนการกุศล
ภายในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ จัดให้มีการพัฒนาอาชีพให้กับนักเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาปอเนาะ โดย กศน. สามารถจัดฝึกอาชีพได้จำนวน ๘,๒๒๐ คน และ สอศ. จำนวน ๗,๕๖๐ คน รวมทั้งจะมีการฝึกอาชีพให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไปในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย กศน. สอศ. และวิทยาลัยชุมชน ซึ่งคาดว่าจะสามารถฝึกอาชีพให้ได้จำนวนกว่า ๓ หมื่นคน
จัดตั้งศูนย์ กศน.ตำบลในทุกๆ ตำบล ซึ่งขณะนี้มีอยู่จำนวน ๔๑๓ ตำบล
จัดให้มีระบบการเทียบโอนการศึกษาอิสลามศึกษา ทั้ง ๓ ระดับ คือ ระดับอิสลามศึกษาตอนต้น เทียบเท่าชั้น ป.๖ ระดับอิสลามศึกษาตอนกลาง เทียบเท่าชั้น ม.๓ และระดับอิสลามศึกษาตอนปลาย เทียบเท่าชั้น ม.๖ เพื่อให้สามารถเข้าเรียนกับ กศน.ได้ ซึ่งแต่เดิมจะไม่สามารถนำระดับการศึกษาอิสลามศึกษามาเทียบโอนหน่วยกิตหรือวิชาเรียนของสายสามัญได้ ทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้สามารถนำวุฒิระดับอิสลามศึกษามาเทียบโอนกับวุฒิสายสามัญได้ ทำให้นักเรียนไม่ต้องเสียเวลาเรียนวิชาสามัญใหม่ทั้งหมด เป็นการเปิดกว้างทางการศึกษาและเปิดโอกาสให้กับนักเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง ส่งผลให้นักเรียนเข้าเรียนต่อในระดับ ม.ปลาย ปวช. และมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำตราสัญลักษณ์(ภาพเครื่องหมายราชการ)ขึ้นใหม่ และได้แจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะร...
-
1. เงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ จัดอยู่ในงบประมาณหมวดใด ก. งบบุคลากร ข. งบดำเนินการ ค. งบเงินอุดหนุน ง. งบอื่นๆ 2. ค่าตอบแทน หมายถึง ก. เงินที่จ...
-
1. ข้าราชการครูซึ่งปฏิบัติราชการที่สถานศึกษา ไม่มีสิทธิลาประเภทใด ก. ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ข. ลาพักผ่อน ค. ลาอุปสมบท ง. ลาเข้ารับการ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น