วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การประชุมนานาชาติเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

นาย ัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุม UNESCO–APEID ครั้งที่ ๑๓ และการสัมมนาระดับสูงของ World Bank-KERIS ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ในหัวข้อ "ICT Transforming Education" เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ณ โรงแรมนานาชาติเจ้อเจียง เมืองหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน

รมว.ศธ. กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาการศึกษาของประเทศกำลังพัฒนา (The Role of ICT in Improving Education in Developing Nations) ว่า ICT มีบทบาทสำคัญทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ในการเพิ่มคุณภาพการศึกษาและการฝึกอบรมคน ประเทศไทยเองก็ให้ความสำคัญในการเพิ่มศักยภาพด้าน ICT เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๕๒๒๕๖๑ และเชื่อว่าจะสามารถประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ

รัฐบาลไทยได้จัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาตามโครงการไทยเข้มแข็ง (SP2) ประจำปี ๒๕๕๓๒๕๕๕ เป็นจำนวน ๑.๒ พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเติมจากงบปกติจำนวน ๑๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อดำเนินงานโครงการสำคัญต่างๆ ในการปฏิรูปการศึกษารอบสอง

โครงการเหล่านี้ได้ยึดแนวทาง ๓ เสาหลัก ที่เน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาส และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน รวมทั้งมี นโยบาย ๔ ใหม่คือ สร้างคนไทยยุคใหม่, สร้างครูไทยยุคใหม่, สร้างสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ใหม่ และสร้างระบบบริหารจัดการใหม่โดยเน้นธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม

สำหรับการใช้ ICT เพื่อการศึกษาในประเทศที่กำลังพัฒนานั้น ประเทศไทยก็เป็นตัวแปรสำคัญประเทศหนึ่ง การเดินทางไปหางโจวเพื่อกล่าวสุนทรพจน์ครั้งนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ รมว.ศธ.ของไทยและประธานสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีเมค) โดยได้กล่าวให้ผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศสมาชิก UNESCO-APEID จำนวน ๓๐๐ คน จาก ๕๐ ประเทศ ได้ทราบถึงนโยบายที่ไทยได้ใช้ ICT เพื่อพัฒนาการศึกษาในโอกาสต่างๆ ซึ่งเป็นกรอบแนวทางของ UNESCO อยู่แล้ว และไทยก็เป็น ๑ ใน ๒๑ ประเทศสมาชิกที่มีโครงการนำร่องด้าน ICT ของ UNESCO ด้วย

โครงการสำคัญของไทย ด้าน ICT มีดังนี้

๑. การปรับปรุงปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มคุณภาพการเรียนการสอนในสถานศึกษา การเพิ่มสัดส่วนคอมพิวเตอร์ต่อนักเรียนจาก ๑:เป็น ๑:ภายในปี ๒๕๕๕ พร้อมจัดให้มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในโรงเรียน

๒. ห้องสมุด ๓ ดี การสร้างและปรับปรุงห้องสมุดจำนวน ๓๐,๐๐๐ แห่ง ในสถานศึกษาทั่วประเทศโดยเน้นให้มีหนังสือดี มีบรรยากาศดี และมีบรรณารักษ์ดี

๓. การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมหรือ e-Learning เพื่อช่วยปัญหาการขาดแคลนครูและโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้โรงเรียนวังไกลกังวลเป็นฐานซึ่งจะทำให้โรงเรียนประถมและมัธยมศึกษาจำนวนประมาณ ๙,๐๐๐ โรงได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ครูได้มีการพัฒนาทักษะในกลุ่มวิชาหลักคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ขณะนี้มี ๔,๐๐๗ โรงเรียนที่มีอุปกรณ์พร้อมในระบบจานดาวเทียม โดยโครงการระยะแรกเริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ และระยะที่ ๒ จะเริ่มในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓

๔. โครงการ Tutor Channel ศธ.ได้คัดเลือกครูที่มีความสามารถติวบทเรียนแบบเข้มให้แก่นักเรียนโดยถ่ายทอดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เพื่อยกระดับคุณภาพ และขยายโอกาสให้เด็กไทยทุกคนได้มีโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าในส่วนกลางและอยู่ห่างไกลในชนบท

๕. โครงการ E Free TV เป็นการสร้างโทรทัศน์เพื่อการศึกษาให้เกิดขึ้นภายในปี ๒๕๕๕ เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนได้รับชมโปรแกรมที่มีคุณภาพด้านการศึกษา โดยไม่ต้องเสียคาใช้จ่าย

๖. โครงการอาชีวะทันสมัย ได้เตรียมงบประมาณโครงการไทยเข้มแข็งไว้จำนวน ๒๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT และส่งเสริมเครือข่ายในสถาบันการอาชีวศึกษา ๔๑๕ แห่งทั่วประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการอาชีวศึกษา

๗. เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (UniNet) เป็นโครงการ ๓ ปี (๒๕๕๓๒๕๕๕) รัฐบาลได้จัดสรรงบจำนวนประมาณ ๑๒o ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อติดตั้งระบบใยแก้วนำแสงไปยังมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน สถาบันการอาชีวศึกษา ๔๑๕ แห่ง และเขตพื้นที่การศึกษา ๑๘๕ แห่ง ศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ และอย่างน้อยที่สุดโรงเรียนจำนวนประมาณ ๓,๐๐๐ โรง จะได้รับประโยชน์ทั้งโรงเรียนดีระดับชาติ ระดับอำเภอ และระดับตำบล

๘. กศน.ตำบล ได้จัดงบประมาณมากกว่า ๓๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ให้เกิดเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนระดับตำบลทั่วประเทศ โดยมีองค์ประกอบที่พร้อมทั้งในด้านบุคลากร อาคารสถานที่และเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น การมีเครือข่าย กศน.ตำบล มีเป้าหมายที่จะทำให้คนไทยเป็นคนเก่ง ดี มีความสุข และภาคภูมิใจในความเป็นไทย

รมว.ศธ. กล่าวสรุปว่า ประเทศไทยได้วางแผนงานที่จะใช้ ICT ในการเดินหน้าทางการศึกษา ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและช่วยลดผลกระทบของโลก ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ และวิกฤตทางการเงิน รวมทั้งเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในประเทศไทย จึงขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ใช้โอกาสนี้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน และนำแนวคิดที่น่าสนใจไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป.

ไม่มีความคิดเห็น: