วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พิมพ์เขียวมาตรฐานรอบสาม

กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๓ซึ่งมีสาระสำคัญที่ครอบคลุมทั้งระบบ ประกอบด้วย การประเมินคุณภาพภายใน การประเมินคุณภาพภายนอก การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษากและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา กฎกระทรวงดังกล่าวได้กำหนดจุดมุ่งหมายและหลักการของการประกันคุณภาพภายนอกไว้ ๖ ประการ และกำหนดกรอบมาตรฐานไว้ ๔ เรื่อง
เมื่อโจทย์เปลี่ยน แนวคิดและแนวทางในการกำหนดพิมพ์เขียวของการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามก็จำเป็นต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงเช่นกันนโยบายใหม่ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จึงต้องสอดรับและสอดคล้องเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว
ทิศทางการขับเคลื่อนคุณภาพ ที่ สมศ. กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ทั้งหมด เป็นเพียงการนำแนวคิดหลักการเดิมที่มีอยู่ ที่ได้ริเริ่มมาตั้งแต่การประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรก-รอบสอง-และ(ร่าง)รอบสาม มาปรับแต่งลดทอนเพิ่มอย่างสร้างสรรค์ จัดใส่กรอบใหม่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อตอบทุกโจทย์ด้านคุณภาพการศึกษาได้อย่างชัดเจน แม่นยำ และเที่ยงตรง โดยได้ทดลองนำร่องทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษาแล้ว พร้อมกับการจัด QA Forum มาแล้ว ๓ ครั้ง เพื่อระดมความคิดเห็นจากหลายๆ ฝ่ายที่จะนำมาพัฒนามาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม
ในช่วงนี้ สมศ. จึงเปิดรับทุกความคิดเห็นที่จะส่งมาร่วมกันพัฒนาที่ ตู้ ปณ. ๑ ปณฝ.ราชเทวี กทม. ๑๐๔๐๑ ก่อนที่จะประกาศใช้มาตรฐานและตัวบ่งชี้ในเดือนกันยายน ๒๕๕๓ และเริ่มประเมินจริง ในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔ ต่อไป
กฎกระทรวงฯ ข้อ ๓๗
(๑)เพื่อให้มีการพัฒนาคุณภาพ
(๒)ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม และโปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงและมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้
(๓)สร้างสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติ โดยมีเอกภาพ เชิงนโยบายซึ่งสถานศึกษาสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถานศึกษาและผู้เรียน
(๔)ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
(๕)ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพ และพัฒนาการจัดการศึกษาของรัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น(๖)ความเป็นอิสระ เสรีภาพทางวิชาการ เอกลักษณ์ ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของสถานศึกษา
การขับเคลื่อนสู่คุณภาพ (รอบสาม)
(๑)การประเมินเชิงบวกหรือการประเมินเชิงสร้างสรรค์
(๒)การประเมินเพื่อสร้างความแตกต่าง
(๓)การกำหนดตัวบ่งชี้ คำนึงถึง
oการลดปริมาณตัวบ่งชี้ ให้เหลือเท่าที่จำเป็น แต่ยังคงมีอำนาจจำแนก (วัดสิ่งที่มี สิ่งที่เป็นไปได้ และสิ่งที่เป็นหัวใจ)
oพิจารณาจากผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบ มากกว่ากระบวนการ (ซึ่งเป็นภารกิจของการประเมินคุณภาพภายใน)
oเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพ มากกว่าปริมาณมีทั้ง เชิงบวกและเชิงลบ (เพื่อการบริหารความเสี่ยง)
oเน้นดุลยภาพของศาสตร์ ทั้งวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
oวัฒนธรรม เงื่อนไขและข้อจำกัดของประเทศโดยให้ความสำคัญกับความเป็นไทย
จึงกำหนดตัวบ่งชี้เป็น ๓ ประเภท คือ-ตัวบ่งชี้พื้นฐาน หรือตัวบ่งชี้ขั้นต่ำที่ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเกณฑ์มาตรฐานจำเป็นของทุกสถาบัน
-ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ โดยให้แต่ละสถาบันนำเสนอเอกลักษณ์ ตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และจุดเด่นซึ่งเป็นความต่างของแต่ละสถาบัน
-ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม เป็นตัวบ่งชี้ที่ปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ตามยุคสมัยหรือตามนโยบายภาครัฐ เพื่อให้สามารถตอบสนองนโยบายการขับเคลื่อนคุณภาพโดยรวม

--มติชน ฉบับวันที่ 14 มิ.ย. 2553

ไม่มีความคิดเห็น: