วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

การปฏิรูปการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส

รมว.ศธ. กล่าวว่า รัฐบาลได้ประกาศที่จะดำเนินการตามยุทธศาสตร์ปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส อย่างทั่วถึง รวมทั้งเด็กที่ออกกลางคันด้วยความจำเป็นของครอบครัวหรือด้วยพฤติกรรมของนักเรียนเอง เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยครูการศึกษาพิเศษจะต้องไปสำรวจเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสทุกตารางนิ้วของประเทศ เพื่อให้เด็กพิการหรือเด็กที่มีความบกพร่องทุกคนต้องได้รับการดูแลจากรัฐบาลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน นอกจากนี้รัฐบาลจะดูแลขับเคลื่อนโครงการเรียนฟรี เรียนดี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งจะสร้างโอกาสแก่เด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ ดังนั้นโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ โรงเรียนการศึกษาพิเศษ และศูนย์การศึกษาทุกแห่ง จำเป็นจะต้องปรับตัวเพื่อดูแลเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส รวมถึงเด็กชาติพันธุ์ต่างๆ ในภูมิภาค เด็กในพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบ ตลอดจนเด็กที่มีปัญหาจากเหตุภัยพิบัติต่างๆ ให้มากขึ้นด้วย

การดำเนินของ ศธ.ในรอบ ๑ ปีที่ผ่านมาได้วางรากฐานที่ดีในการปฏิรูปการศึกษาไว้แล้ว โดยเฉพาะการประกาศคุณภาพผู้เรียน คุณภาพครู คุณภาพสถานศึกษา คุณภาพสื่อและเทคโนโยลีทางการศึกษา และต่อไปจะประกาศเรื่องคุณภาพการศึกษาพิเศษ ซึ่งถือเป็นพันธกิจของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะต้องดูแลการจัดการศึกษาพิเศษให้มีคุณภาพตลอดชีวิต โดยจุดเน้นในการจัดการศึกษาพิเศษ ๖ ข้อ ได้แก่

1. ร่วมมือส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอนของเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส โดยโรงเรียนเหล่านี้จะต้องปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน โดยเฉพาะจุดเน้นในเรื่องคุณภาพผู้เรียนให้ชัดเจน วางแผนว่าจะจัดการศึกษาอย่างไรให้เด็กกลุ่มนี้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและมีอาชีพ สามารถพัฒนาตามศักยภาพของเด็กแต่ละคนได้

2. เด็กพิการเรียนร่วม ต้องกำหนดในเชิงเทคนิคการจัดการเรียนการสอน ร่วมกับโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ๕,๐๑๔ กว่าโรง โดยจะขยายเพิ่มโรงเรียนแกนนำเหล่านี้ให้เป็นโรงเรียนดีประจำตำบลต้นแบบการจัดการเรียนร่วม ๗,๐๐๐ โรง เพื่อจัดการเรียนการสอนให้ครอบคลุมกับเด็กกลุ่มต่างๆ อย่างครบวงจร รวมทั้งเด็กกลุ่มนี้ด้วย

3. กองทุนส่งเสริมการศึกษาสำหรับเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ขณะนี้ได้เตรียมการจะจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการศึกษาสำหรับเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสให้เกิดขึ้น พร้อมทั้งจะหาเงินเข้ากองทุนให้ได้ ๑,๐๐๐ ล้านบาท โดยเตรียมการที่จะขอออกสลากการกุศล เพื่อนำเงินจำนวนดังกล่าวไปบริหารกองทุนสำหรับเด็กกลุ่มนี้ทั้งระบบ

4. ส่งเสริมให้เด็กพิการได้เรียนฟรีตั้งแต่อนุบาลจนถึงระดับปริญญาตรี โดยในปีนี้ ศธ.ได้ส่งเสริมให้เด็กพิการเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีได้มากถึง ๘๕๔ คน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๔๗ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และปีหน้าตั้งเป้าหมายว่าจะส่งเสริมให้เด็กพิการ รวมทั้งเด็กด้อยโอกาสได้เรียนปริญญาตรีเป็น ๑,๗๐๐ คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐๐ โดยจะนำเงินกองทุนส่งเสริมการศึกษาสำหรับเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสเข้ามาสนับสนุนเด็กกลุ่มนี้ด้วย

5. ขวัญกำลังใจครู ครูพี่เลี้ยง และพนักงานราชการ ในปี ๒๕๕๔ ยังมีครูพี่เลี้ยงในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษทั่วประเทศที่ยังไม่ได้รับการจ้างต่ออีกจำนวนมาก ดังนั้นในวันนี้ตนจึงได้สั่งการให้ สพฐ.ทำหนังสือขออนุมัติไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณจ้างครูพี่เลี้ยงต่อไป ส่วนขวัญกำลังใจของครูในการประเมินวิทยฐานะนั้น ยืนยันว่าการประเมินวิทยฐานะจะดูผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และผลงานของครูย้อนหลัง โดยเน้นเรื่องของ "ครูสอนดี" เป็นหลักมากกว่าที่จะดูจากการจัดทำเอกสารผลงานทางวิชาการ

6. พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เนื่องจากข้าราชการครูยังไม่ได้รับการปรับเลื่อนเพดานเงินเดือน ในขณะที่ข้าราชการอื่นๆ ได้รับการปรับเลื่อนเพดานไปแล้ว ๒ ครั้ง ดังนั้นในการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันที่ ๒๔ มกราคมนี้ ตนจะเป็นรัฐมนตรีคนแรกที่จะนำกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ เพื่อให้พิจารณาให้ข้าราชการครูมีผลได้รับการปรับเลื่อนเพดานเงินเดือนเท่าเทียมกับข้าราชการอื่นโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ๘%

รมว.ศธ.กล่าวด้วยว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาพิเศษเพื่อเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส นอกจากจะจัดการศึกษาตามจุดเน้นให้มีคุณภาพมากขึ้น ตามนโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาแล้ว จะต้องจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยยึดหลักปรัชญาทฤษฎีการเรียนรู้ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้ว

ไม่มีความคิดเห็น: