วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปผลสอบ ' 514 ครูผช.' ชี้ทุจริตชัด! ยื่นก.ค.ศ.ลงดาบ 22 มี.ค. ดีเอสไอฟันธงผิด 3 กระทง


ชง'เสริมศักดิ์'ผู้สอบครูช่วย 514 คนทุจริตชัด เผยผลวิเคราะห์เก่งเหลือเชื่อ วิชาสุดหิน 'พละ-อังกฤษ'ยังได้เต็ม
          การตรวจสอบกรณีทุจริตสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็นหรือเหตุพิเศษ ว12 เมื่อวันที่ 13 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งปรากฏรูปแบบพฤติการณ์การโกงในหลายรูปแบบ และอยู่ระหว่างกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ทำการสอบสวนและรวบรวมข้อมูล โดยจะนำข้อสรุปเสนอกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อพิจารณายกเลิกการสอบเป็นรายเขตพื้นที่ฯ ในวันที่ 18 มีนาคม ขณะที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. จะประมวลผลการสอบสวนของดีเอสไอและหารือกับนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ก่อนพิจารณาว่าจำเป็นต้องโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงใน สพฐ.ออกจาก สพฐ. เพื่อเปิดทางการสอบสวนหรือไม่นั้น
          เมื่อวันที่ 17 มีนาคม นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการ ศธ. ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีปัญหาการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการครูในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว12 ชุดที่นายเสริมศักดิ์ แต่งตั้ง เปิดเผยว่า หลังจากสรุปข้อมูลให้ดีเอสไอและนายเสริมศักดิ์หมดแล้ว คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯก็จะยุติบทบาท ยกเว้นนายเสริมศักดิ์จะมอบหมายให้ดำเนินการต่อในบางสอบข้อเท็จจริงฯก็จะยุติบทบาท ยกเว้นนายเสริมศักดิ์จะมอบหมายให้ดำเนินการต่อในบางเรื่อง ซึ่งในประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) วันที่ 22 มีนาคม ซึ่งจะมีการพิจารณายกเลิกการสอบเป็นรายเขตพื้นที่ฯ ก็พร้อมจะเข้าไปให้ข้อมูลต่อที่ประชุมด้วย
          นายพิษณุกล่าวต่อว่า ในวันที่ 18 มีนาคม จะนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลผู้สอบคัดเลือกครูผู้ช่วยที่มีคะแนนสูงผิดปกติ 514 คนให้กับนายเสริมศักดิ์ ซึ่งมีความชัดเจนว่า ทั้ง 514 คนมีการทุจริตแน่นอน แต่ต้องให้ ที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณาตัดสินว่าจะมีมติ ออกมาเช่นไร
          ผู้ที่ได้คะแนนสูงผิดปกติกลุ่มนี้ เมื่อวิเคราะห์ตามสถิติข้อมูล ไม่น่าเป็นไปได้ที่จะได้คะแนนสอบในภาค ก เต็มใน 4 ชุดวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น บางคนได้คะแนนใน 4 ชุดวิชา 48-49- 50-50 คะแนน แม้คนที่เรียนเก่งมากๆ ก็คงไม่สามารถทำคะแนนได้มากขนาดนี้ และที่น่าสงสัยในบางวิชาเอก เช่น พลศึกษาซึ่งเป็นสาขาวิชาที่เน้นการปฏิบัติและยากมากที่จะมีผู้สอบได้คะแนนเต็ม แต่ครั้งนี้มีผู้ที่ได้คะแนนเต็ม  หรือแม้แต่วิชาเอกภาษาอังกฤษก็มีคนได้คะแนนเต็มด้วย นอกจากนี้เมื่อมาดูความยากง่ายของข้อสอบแต่ละฉบับ สพฐ.เคยระบุว่ามีความยากง่ายสลับกันไป ฉะนั้นจึงไม่น่าได้คะแนนเต็มมากขนาดนี้
          นายพิษณุกล่าว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ที่สอบบรรจุได้ด้วยตนเอง จะได้คะแนนในแต่ละชุดวิชา 30 กว่าคะแนนเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีใครได้มากกว่า 40 คะแนนหรือได้คะแนนในแต่ละชุดวิชา 30 กว่าคะแนนเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีใครได้มากกว่า 40 คะแนนหรือได้คะแนนเต็มเลย และเมื่อรวมคะแนนใน 4 ชุดวิชาจะได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไป แต่จะไม่เกินร้อยละ 80 ดังนั้น เมื่อเทียบคะแนนของผู้สอบได้ปกติกับกลุ่ม 514 คนที่เชื่อว่าทุจริต คะแนนจะแตกต่างกันมาก และเมื่อพิจารณาในภาพรวมของการสอบบรรจุครูผู้ช่วยครั้งนี้ ซึ่งมีตำแหน่งว่างบรรจุได้ประมาณ 2,400 ตำแหน่ง น่าจะมีผู้ที่ทุจริตสอบบรรจุได้ประมาณร้อยละ 25
          ผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ภายหลังผู้สมัครสอบครูผู้ช่วยที่ยอมจ่ายเงิน ร่วมมือในการให้ข้อมูลกับดีเอสไอเพื่อแลกกับการกันเป็นพยาน เพื่อไม่ต้องถูกดำเนินคดี ทำให้ขณะนี้กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตสอบวิตกกังวลใจอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ขอนแก่น เขต 4 และ สพป.ขอนแก่น เขต 3 มีระดับผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่ฯ 1 คน และผู้อำนวยการโรงเรียนหลายคน โดยมีเจ้าหน้าที่ในสพป.คนหนึ่งทำหน้าที่หาลูกค้าที่เป็นพนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง ทำให้การสอบที่ผ่านมามีพนักงานราชการ ครูอัตราจ้างของหลายโรงเรียนใน จ.ขอนแก่น สอบได้ยกโรงเรียน เช่น  โรงเรียนบ้านคำแมด กิ่งอำเภอซำสูง สอบได้ทั้งหมด 2 คน โรงเรียนทุ่งใหญ่รัตนศึกษา สอบได้ 6 คน และโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม อ.กระนวน สอบได้หมด 2 คน
          "มีพนักงานราชการในโรงเรียนคนหนึ่งทำงานมา 10 กว่าปี สอบกี่ครั้งก็ไม่ผ่าน แต่คราวนี้สอบผ่าน เพราะไปจ่ายเงินมา 4 แสนกว่าบาท เจ้าตัวมาพูดเอง ส่วนพนักงานราชการที่ไปเสียเงินให้กับขบวนการทุจริต พอได้เฉลยคำตอบมาก็นำไปขายต่อให้กับคนอื่น แต่ก็สอบบรรจุในคราวนี้ไม่ได้ เพราะไปชนกับคนที่ได้เฉลยมาเหมือนกัน" ผู้อำนวยการโรงเรียนคนเดิมกล่าว
          นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีนายเสริมศักดิ์ระบุว่าเคยมอบหมายให้ไปตรวจสอบข่าวลือก่อนหน้านี้ว่า จะมีการทุจริต โดยยอมรับ นายเสริมศักดิ์ สั่งการจริงและได้ไปตรวจสอบแล้ว แต่ไม่พบการทุจริต อาจเป็นเพราะไม่มีแหล่งข้อมูล เชิงลึก ดังนั้นหากจะกล่าวหา สพฐ.ว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คงไม่ได้ เพราะได้ทำตามหน้าที่ และให้เกิดความเป็นธรรมอย่างดีที่สุดแล้ว หน้าที่ และให้เกิดความเป็นธรรมอย่างดีที่สุดแล้ว
          "จะหาว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างไร ในเมื่อคำว่า ละเว้น หมายถึงมีหน้าที่ แต่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ แต่ในที่นี้ หน้าที่ของ สพฐ.คือ ออกข้อสอบ ตรวจกระดาษคำตอบ ประมวลผลการสอบ หากปรากฏว่ามีการทุจริตหรือส่อไปในทางไม่สุจริต ให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาแก้ไขหรือยกเลิกการคัดเลือกในครั้งนั้นได้ ถามว่า สพฐ.จะละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อย่างไร ในเมื่อหน้าที่การยกเลิกเป็นของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ไม่ใช่ของ สพฐ." รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าว
          นายอนันต์กล่าวด้วยว่า เชื่อมั่นว่าข้อสอบไม่ได้รั่วมาจากส่วนกลาง เพราะไม่ได้เห็นข้อสอบ เห็นแต่รหัส แล้วตัวเฉลยก็ทำขึ้นหลังจากการที่ส่งข้อสอบไปยังเขตพื้นที่ฯแล้ว 2 วัน ส่วนว่าจะรั่วทางไหน คงต้องไปตรวจสอบว่าจุดไหนที่จะเป็นไปได้
          ผู้สื่อข่าวถามว่า มีบัตรสนเท่ห์โจมตีผู้อำนวยการสำนักฯใน สพฐ.คนหนึ่ง ระบุว่าเมื่อต้นเดือนมีนาคม นำเงินสด 2 ล้านบาทไปชำระหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา ที่กู้ยืมเงินก่อนดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักฯ ถ้าดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษแล้วลงมาตรวจสอบเส้นทางการเงินของผู้บริหารส่วนกลางทุกคน พร้อมให้ตรวจสอบหรือไม่ นายอนันต์กล่าวยืนยันว่า พร้อมให้ตรวจสอบทุกบัญชี และให้ตรวจย้อนหลัง 2-3 ปีด้วย เพราะมั่นใจในความบริสุทธิ์ว่าไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการทุจริตแน่นอน
          รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้มีบัตรสนเท่ห์ส่งถึงสื่อมวลชน ระบุว่า เมื่อต้นเดือนมีนาคม มีผู้อำนวยการสำนักฯสพฐ. คนหนึ่ง หอบเงินสด 2 ล้านบาทมาใช้หนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา ที่กู้ยืมไปช่วงก่อนการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักฯ
          ด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า ในวันที่ 18 มีนาคม ดีเอสไอจะไอ กล่าวว่า ในวันที่ 18 มีนาคม ดีเอสไอจะสามารถส่งผลสรุปการสอบสวนถึงกระทรวงศึกษาธิการได้ตามที่รับปากไว้ โดยพบว่ามีการทุจริตด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ 1.มีการเฉลยข้อสอบก่อนทำการสอบให้แก่ผู้สอบที่จ่ายเงิน 2.มีการใช้เครื่องมือสื่อสารเฉลยข้อสอบขณะนั่งสอบ 3.มีการสอบแทนกัน ดีเอสไอจะไม่เสนอให้มีการยกเลิกการสอบทั้งหมด แต่เสนอยกเลิกเฉพาะพื้นที่ที่ทุจริตชัดเจน หรืออาจเสนอให้เพิกถอนผู้กระทำความผิดที่ได้รับการบรรจุเป็นรายคน ส่วนใครที่ยังสอบสวนไปยังไม่พบความผิดก็จะดำเนินการต่อไป เมื่อพบความผิดก็สามารถเสนอให้มีการเพิกถอนผลการสอบรายบุคคลในอนาคต
          ที่ จ.นครราชสีมา นายอดิศร เนาวนนท์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ฐานะประธานคณะอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กล่าวว่า การทุจริตสอบครูที่เกิดขึ้นมิใช่เป็นครั้งแรก ดังนั้น รัฐบาลต้องเอาจริงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีพยานหลักฐานชัดเจน หากไม่สามารถเอาผิดกับบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีตำแหน่งใน สพฐ. และอยู่เบื้องหลังขบวนการทุจริตได้ สังคมจะหมดศรัทธากับอาชีพครู จึงขอฝากความหวังกับดีเอสไอเอาผิดกับขบวนการทำลายความเชื่อมั่นของอาชีพครู เป็นอันตรายต่อสังคมและประเทศชาติ

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

สถานี ก.ค.ศ.: การเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา

          สุธี วัฒนวันยู ผชช.เฉพาะด้านพัฒนาระบบบริหารงานบุคคล
          ในช่วงนี้ได้เข้าไปดูกระทู้คำถามในเว็บบอร์ดของสำนักงาน ก.ค.ศ. เห็นว่าเรื่องที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ให้ความสนใจสอบถามเข้าไปยังสำนักงาน ก.ค.ศ.เป็นจำนวนมาก คือ เรื่องการเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น เช่น จะประเมินจากระดับปฏิบัติการเป็นระดับชำนาญการได้เมื่อไร ย้ายจากตำแหน่งเดิมไปตำแหน่งใหม่ จะนับระยะเวลาการปฏิบัติงานในตำแหน่งทั้งสองตำแหน่งรวมกันได้หรือไม่ เป็นต้น มีคำถามหนึ่ง ซึ่งสำนักงาน ก.ค.ศ.เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) จึงขอหยิบยกคำถามมาสร้างความรู้ความเข้าใจ ดังนี้
          มีคำถามว่า นางสาวเอ วุฒิ ศศ.บ. (การจัดการทั่วไป) เดิมดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ ระดับชำนาญงาน และเป็นผู้ได้รับคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด ให้ดำรงตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไป ระดับปฏิบัติการ เมื่อ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 และได้ส่งผลงานเพื่อประเมินและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไป ระดับชำนาญการ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2555 ต่อมาย้ายไปดำรงตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2555 ถามว่าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะสามารถประเมินนางสาวเอ เพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไป ระดับชำนาญการได้หรือไม่
             คำตอบคือ ไม่ได้ เนื่องจากนางสาวเอดำรงตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไป ระดับปฏิบัติการไม่ครบ 2 ปี และปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป หรืองานเลขานุการ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องไม่ครบ 1 ปี รวมทั้งมีระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งในสายงานบริหารทั่วไปน้อยกว่า 6 ปี (กรณีมีวุฒิปริญญาตรี)
          จากข้อคำถามนี้จะขอขยายความเพิ่มเติมว่าการเลื่อนและแต่งตั้งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ตำแหน่งประเภทวิชาการให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น บุคคลนั้นต้องมีคุณสมบัติและผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดตามหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร 1006/ว10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548 ซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้ง คือ 1) เป็นผู้ผ่านการประเมินบุคคล 2) มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานตำแหน่ง 3) มีระยะเวลา ขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งตามคุณวุฒิของบุคคลและระดับตำแหน่ง ที่จะแต่งตั้งและ 4) ต้องดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งหรือได้ปฏิบัติหน้าที่ในสายงานที่จะแต่งตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี สำหรับการนับระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่ง หรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้ง จะต้องมีคำสั่งรักษาการในตำแหน่ง หรือคำสั่งมอบหมายงานให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอย่างชัดเจน
          รวมทั้งต้องมีการปฏิบัติงานจริงด้วย โดยให้นับได้ตามข้อเท็จจริงตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ เว้นแต่การนับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 หรือระดับ 2 ให้นับได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของระยะเวลา การปฏิบัติงานที่นำมานับนี่เป็นเพียงตัวอย่างคำถามที่หยิบยกมาเท่านั้น และหากมีข้อคำถามที่น่าสนใจจะนำมาเสนอเป็นความรู้อีกในโอกาสต่อไป

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

ไม่มีความคิดเห็น: