วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

เปิดชื่อ 'สพป.-สพม.'คะแนนสอบครู ผช.สูงผิดปกติ


หมายเหตุ- ต่อไปนี้เป็นรายชื่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ใน 58 จังหวัดทั่วประเทศ ที่พบความผิดปกติ และมีแนวโน้มว่าเป็นเขตพื้นที่ที่ส่อว่ามีการทุจริตสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการครูในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว 12 ครู ผู้ช่วย โดยพบข้อมูลผู้ที่มีคะแนนสูงสุดผิดปกติตั้งแต่ ร้อยละ 90 ขึ้นไป จำนวน 486 คน และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีปัญหาการสอบครูผู้ช่วยชุดที่ นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน ได้มอบให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ไปตรวจสอบ "มติชน" ขอนำเสนอรายละเอียด ดังกล่าว จำแนกจำนวนตามเขตพื้นที่ดังนี้
          1.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) 58 จังหวัด          ภาคตะวันตก ได้แก่ สพป.กาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 1 คน, สพป.เพชรบุรี เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.ตาก เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.ราชบุรี เขต 1 จำนวน 1 คน, สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 จำนวน 3 คน, สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 2 คน, สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 2 คน
          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ สพป.ขอนแก่น เขต 1 จำนวน 1 คน, สพป.ขอนแก่น เขต 2 จำนวน 2 คน, สพป.ขอนแก่น เขต 3 จำนวน 3 คน, สพป.ขอนแก่น เขต 4 จำนวน 3 คน, สพป.ขอนแก่น เขต 5 จำนวน 1 คน, สพป.ชัยภูมิ เขต 1 จำนวน 8 คน, สพป.ชัยภูมิ เขต 2 จำนวน 2 คน, สพป.ชัยภูมิ เขต 3 จำนวน 6 คน, สพป.บึงกาฬ จำนวน 12 คน, สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 จำนวน 3 คน, สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 3 คน, สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 จำนวน 3 คน, สพป.ยโสธร เขต 1 จำนวน 2 คน, สพป.ยโสธร เขต 2 จำนวน 4 คน
          สพป.สกลนคร เขต 1 จำนวน 4 คน, สพป.สกลนคร เขต 2 จำนวน 11 คน, สพป.สกลนคร เขต 3 จำนวน 3 คน, สพป.หนองบัวลำภู เขต 1 จำนวน 2 คน, สพป.อุดรธานี เขต 1 จำนวน 5 คน, สพป.อุดรธานี เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.อุดรธานี เขต 3 จำนวน 5 คน, สพป.อุดรธานี เขต 4 จำนวน 2 คน, สพป.อุบลราชธานี เขต 1 จำนวน 3 คน, สพป. อุบลราชธานี เขต 2 จำนวน 6 คน, สพป.อุบลราชธานี เขต 3 จำนวน 4 คน, สพป.อุบลราชธานี เขต 5 จำนวน 13 คน, สพป.นครพนม เขต 1 จำนวน 3 คน, สพป.นครพนม เขต 2 จำนวน 3 คน
          สพป.มหาสารคาม เขต 1 จำนวน 2 คน, สพป.มหาสารคาม เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน 2 คน, สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.หนองคาย เขต 1 จำนวน 3 คน, สพป.หนองคาย เขต 2 จำนวน 2 คน, สพป.อำนาจเจริญ จำนวน 4 คน, สพป.เลย เขต 1 จำนวน 12 คน, สพป.เลย เขต 2 จำนวน 4 คน, สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 จำนวน 2 คน, สพป.ศรีสะเกษ เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 จำนวน 4 คน, สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 จำนวน 1 คน, สพป.สุรินทร์ เขต 1 จำนวน 8 คน, สพป.สุรินทร์ เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.สุรินทร์ เขต 3 จำนวน 7 คน,
          สพป.นครราชสีมา เขต 1 จำนวน 8 คน, สพป.นครราชสีมา เขต 2 จำนวน 6 คน, สพป.นครราชสีมา เขต 3 จำนวน 8 คน, สพป.นครราชสีมา เขต 4 จำนวน 3 คน, สพป.นครราชสีมา เขต 5 จำนวน 1 คน, สพป.นครราชสีมา เขต 6 จำนวน 3 คน, สพป.นครราชสีมา เขต 7 จำนวน 5 คน, สพป.มุกดาหาร จำนวน 6 คน, สพป.นครพนม เขต 1 จำนวน 3 คน, สพป.นครพนม เขต 2 จำนวน 3 คน
          ภาคเหนือ ได้แก่ สพป.เชียงใหม่ เขต 5 จำนวน 8 คน, สพป.แพร่ เขต 1 จำนวน 1 คน, สพป.แพร่ เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 จำนวน 1 คน, สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.น่าน เขต 1 จำนวน 9 คน, สพป.น่าน เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.นครสวรรค์ เขต 1 จำนวน 4 คน, สพป.นครสวรรค์ เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.เชียงใหม่ เขต 5 จำนวน 8 คน
          ภาคกลาง ได้แก่ สพป.ปทุมธานี เขต 1 จำนวน 7 คน, สพป.ปทุมธานี เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.สระบุรี เขต 1 จำนวน 4 คน, สพป.สระบุรี เขต 2 จำนวน 4 คน, สพป.ลพบุรี เขต 1 จำนวน 5 คน, สพป.สิงห์บุรี จำนวน 2 คน, สพป.ชัยนาท จำนวน 5 คน, สพป.นนทบุรี เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.กำแพงเพชร เขต 1 จำนวน 4 คน, สพป.กำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.นครปฐม เขต 1 จำนวน 3 คน, สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.พิจิตร เขต 2 จำนวน 3 คน, สพป.พิษณุโลก เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.พิษณุโลก เขต 3 จำนวน 1 คน, สพป.อุทัยธานี เขต 2 จำนวน 5 คน, สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 จำนวน 2 คน, สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 จำนวน 4 คน
          ภาคตะวันออก ได้แก่ สพป.ปราจีนบุรี เขต 1 จำนวน 2 คน, สพป.ระยอง เขต 1 จำนวน 4 คน, สพป.ระยอง เขต 2 จำนวน 4 คน, สพป.จันทบุรี เขต 2 จำนวน 3 คน, สพป.ชลบุรี เขต 1 จำนวน 1 คน, สพป.ชลบุรี เขต 2 จำนวน 2 คน, สพป.ชลบุรี เขต 3 จำนวน 7 คน, สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 จำนวน 1 คน
          ภาคใต้ ได้แก่ สพป.ยะลา เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.ปัตตานี เขต 1 จำนวน 1 คน, สพป.สงขลา เขต 2 จำนวน 2 คน, สพป.ตรัง เขต 2 จำนวน 2 คน, สพป.นครศรีธรรมราช เขต 4 จำนวน 1 คน, สพป.นราธิวาส เขต 2 จำนวน 2 คน, สพป.นราธิวาส เขต 3 จำนวน 1 คน, สพป.สตูล จำนวน 4 คน, สพป.พัทลุง เขต 2 จำนวน 3 คน
          2.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) จำนวน 27 เขต
          ภาคเหนือ ได้แก่ สพม.เขต 37 แพร่-น่าน จำนวน 1 คน
          ภาคกลาง ได้แก่ สพม.เขต 2 กรุงเทพ มหานคร จำนวน 2 คน, สพม.3 นนทบุรีพระนครศรีอยุธยา จำนวน 1 คน, สพม.เขต 4 ปทุมธานี-สระบุรี จำนวน 5 คน, สพม.เขต 10 เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 2 คน, สพม.เขต 7 นครนายก-สระแก้ว จำนวน 1 คน, สพม.เขต 9 สุพรรณบุรี-นครปฐม จำนวน 2 คน, สพม.เขต 41 กำแพงเพชร-พิจิตร จำนวน 1 คน, สพม.เขต 40 เพชรบูรณ์ จำนวน 3 คน
          ภาคตะวันออก ได้แก่ สพม.เขต 6 ฉะเชิงเทรา จำนวน 1 คน, สพม.เขต 18 ชลบุรี ระยอง จำนวน 5 คน
          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ สพม.เขต 19 เลย หนองบัวลำพู จำนวน 11 คน, สพม.เขต 20 อุดรธานี จำนวน 4 คน, สพม.เขต 21 หนองคาย จำนวน 8 คน, สพม.เขต 22 นครพนม-มุกดาหาร จำนวน 2 คน, สพม.เขต 23 สกลนคร จำนวน 2 คน, สพม.เขต 24 กาฬสินธุ์ จำนวน 6 คน, สพม.เขต 25 ขอนแก่น จำนวน 6 คน, สพม.เขต 26 มหาสารคาม จำนวน 1 คน, สพม.เขต 27 หนองคาย จำนวน 2 คน, สพม.เขต 28 ศรีสะเกษ-ยโสธร จำนวน 1 คน, สพม.เขต 29 อุบลราชธานี จำนวน 3 คน, สพม.เขต 30 ชัยภูมิ จำนวน 4 คน, สพม.เขต 31 นครราชสีมา จำนวน 13 คน, สพม.เขต 32 บุรีรัมย์ จำนวน 3 คน, สพม.เขต 33 สุรินทร์ จำนวน 5 คน
          ภาคใต้ ได้แก่ สพม.เขต 12 นครศรีธรรมราชพัทลุง จำนวน 1 คน และสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 1 คน
          ทั้งนี้ ดีเอสไอจะสรุปผลการตรวจสอบเบื้องต้น เสนอให้กับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ยกเลิกผลการสอบในพื้นที่ที่พบหลักฐานการทุจริตชัดเจน ภายในวันที่ 18 มีนาคม โดย ดีเอสไอจะจำแนกกลุ่มคนต้องสงสัยว่ามีกลุ่มใด รายชื่อใครบ้างและพื้นที่ใดบ้าง เพื่อไม่ต้องการยกเลิกทั้งหมดเกรงจะเกิดผลกระทบ เนื่องจากมีการบรรจุผู้สอบผ่านเป็นครูผู้ช่วยไปหมดแล้ว
          อีกทั้งตามข้อกฎหมายของ สพฐ.หากพบหลักฐานการทุจริตก็ยังสามารถปลดออกได้ในภายหลัง โดยใช้ดุลพินิจของนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ ศธ. เป็นผู้พิจารณาต่อไป
          ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

คอลัมน์: ชีพจรครู: คุรุสภาดึง'คนเก่ง'เป็น..ครู 'ก.ค.ศ.'ปรับเวลางานใหม่

          "ชีพจรครู" สัปดาห์นี้ ขอนำความเคลื่อนไหวของหน่วยงานที่กำกับดูแลข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษามาบอกกล่าวให้เพื่อนครู ได้รับทราบกัน
          เริ่มจากที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ที่ได้ประชุมไปนัดแรกช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา นายไพฑูรย์ สินลารัตน์ประธานคณะกรรมการคุรุสภา ระบุว่า ได้หยิบยกประเด็นการทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา เช่น การกำหนดมาตรฐานวิชาชีพของครู การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู การรับรองหลักสูตรการผลิตครูของสถาบันการศึกษา การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวิชาชีพครู เป็นต้น มาหารือกันด้วย และยังได้หารือถึงกรณีบุคคลที่จบการศึกษาในสาขาอื่นที่ไม่ใช่สาขาครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ แต่ อยากเป็นครู เช่น ผู้ที่จบด้านวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ครูในถิ่นทุรกันดาร ตำรวจตระเวนชายแดน รวมถึง ชาวต่างชาติที่จะมาเป็นครูในเมืองไทยด้วย ว่าจะทำอย่างไรที่จะให้คนเหล่านี้เข้ามาเป็นครูได้
          ซึ่งทางคุรุสภาอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลในเรื่องนี้อยู่ว่าจะดำเนินการได้อย่างไรบ้าง แม้ว่าขณะนี้คุรุสภามีหลักเกณฑ์กำหนดให้บุคคลเหล่านี้สามารถ สอบเทียบโอนความรู้ หรือสอบเทียบมาตรฐาน เพื่อให้ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
          ทั้งนี้ แม้ว่าคุรุสภาจะกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้แล้ว แต่ต้องทบทวนเพื่อดูว่าจะมีกระบวนการอะไรเพิ่มเติมที่จะทำให้ บุคคลเหล่านี้สามารถเข้ามาอยู่ในวิชาชีพครูได้
          "เป็นเรื่องดีที่ปัจจุบันมีคนที่ไม่ได้เรียนจบในสาขาศึกษาศาสตร์ และครุศาสตร์สนใจอยากเป็นครูจำนวนมาก โดยเฉพาะคนเก่ง ดังนั้น คุรุสภาคงจะต้องมีการวางแนวทางที่จะเปิดให้คนกลุ่มนี้ได้เข้ามาเป็นครูได้สะดวก และง่ายขึ้นด้วย แต่ต้องอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะมีการหารือถึงแนวทางในเรื่องดังกล่าวในการประชุมคณะกรรมการคุรุสภาครั้งต่อไปในวันที่ 21 มีนาคม" ประธานคณะกรรมการคุรุสภากล่าว ในส่วนของ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มีเรื่องการจัดทำ "ร่างระเบียบ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ. ... และเรื่องการกำหนดวันเวลาทำงาน และวันหยุดราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา" ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงาน ก.ค.ศ.ก่อนที่จะนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ ก.ค.ศ.
          โดยประเด็นที่มีการพูดถึงคือ เวลาทำงานของข้าราชการครูที่ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กำหนดให้เริ่มงานเวลา 08.30-16.30 น.ได้มีเสียงสะท้อนมา จากทางโรงเรียนว่าการระบุเวลาทำงานดังกล่าวไว้ พอจะขอให้ข้าราชการครูมาทำงานก่อนเวลา 08.30 น.จะมีข้าราชการครูบางส่วนที่อ้างว่าตามระเบียบ ศธ.ระบุให้เริ่มทำงาน 08.30 น.จึงไม่สามารถบังคับได้ จึงกลายเป็นเรื่องปวดหัวของทางโรงเรียน
          ซึ่ง นางวัชรี เกิดพิพัฒน์ ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจเสริมสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ ก.ค.ศ.ระบุว่า ต้องนำประเด็นเหล่านี้มาพิจารณาทบทวนเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาใหม่แต่ละแห่ง อาจจะต้องเปิดช่องให้ผู้บริหารโรงเรียนกำหนดเวลาทำงานได้ตามบริบทของแต่ละเขตพื้นที่ไป ส่วนเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบ ศธ.คงไม่เปลี่ยนแปลงอะไร เพราะเป็นเวลาราชการที่ใช้เหมือนกันหมด
          ทั้งหมดนี้ ถือเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และต้องคอยติดตามกัน หากมีความคืบหน้าในเรื่องใดที่น่าสนใจ ก็จะนำมาเล่าให้เพื่อนครูได้ทราบกันต่อไป

          ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

ไม่มีความคิดเห็น: